Page 15 -
P. 15

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                    1.3 บุคคลสิทธิและทรัพยสิทธิ   4
                          (1) บุคคลสิทธิก่อให้เกิดความผูกพันระหว่างบุคคลที่จํากัดตัว  กล่าวคือ ระหว่าง เจ้าหนี้ กับ

                   ลูกหนี้ เท่านั้น แต่ ทรัพยสิทธิ นั้นไม่จํากัด
                          คําพิพากษาฎีกาที่ 2224/28  บริษัท ท. จดทะเบียนการเช่าตึกแถวจากจําเลย ต่อมาโจทก์เข้า
                   ไปอยู่ในตึกแถวดังกล่าวและเสียค่าเช่าให้จําเลย โดยอาศัยสิทธิของบริษัท ท. โจทก์จําเลยไม่มีนิติสัมพันธ์
                   ใดๆ ต่อกันเกี่ยวกับตึกแถวนั้น  สัญญาเช่าผูกพันคู่สัญญาได้แก่บริษัท ท. และจําเลยเท่านั้นโจทก์จึงไม่มี

                   อํานาจฟูองบังคับให้จําเลยโอนสิทธิการเช่ามาเป็นของโจทก์
                          คําพิพากษาฎีกาที่ 1610/2512  จําเลยครอบครองที่พิพาทมาก่อนโจทก์ทําสัญญาเช่ากับ
                   เจ้าของ  แม้ต่อมา  จําเลยจะขอเช่าจากเจ้าของและเจ้าของไม่ยอมให้เช่า  จําเลยก็หาได้ครอบครองที่
                   พิพาทโดยอาศัยสิทธิโจทก์ไม่  โจทก์จําเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน  การที่จําเลยคงอยู่ในที่พิพาทโดยไม่มี

                   สิทธิ  ก็เป็นการละเมิดต่อเจ้าของ  มิใช่ละเมิดต่อโจทก์ซึ่งยังมิได้รับมอบการครอบครองโจทก์จึงไม่มี
                   อํานาจฟูองขับไล่จําเลย
                          คําพิพากษาฎีกาที่ 4033/2530  แม้โจทก์ผู้รับโอนสิทธิการเช่าจากเจ้าของเดิมยังไม่เคยเข้า
                   ครอบครองตึกแถวพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เช่าเลย  แต่จําเลยผู้ครอบครองตึกแถวพิพาทได้ทําสัญญากับ

                   โจทก์ว่าจะยอมออกจากตึกแถวพิพาทภายในเวลาที่กําหนด  เมื่อครอบกําหนดแล้ว  จําเลยไม่ยอมออก
                   จึงเป็นฝุายผิดนัด  โจทก์จึงมีอํานาจฟูองขับไล่จําเลยได้โดยอาศัยสิทธิตามสัญญานั้น
                          (2)  หน้าที่ตามบุคคลสิทธินั้นมีลักษณะแน่นอนว่ากําหนดไว้อย่างไร  กล่าวคือ ต้องเป็นหนี้

                   กระทําการ  งดเว้นกระทําการ  หรือการโอนทรัพย์สิน  ส่วนทรัพยสิทธิมีลักษณะเป็นหน้าที่ที่เกิดแก่
                   บุคคลทั่วไปในทางงดเว้น  จึงไม่เจาะจง   กล่าวคือ  บุคคลทั่วไปสามารถกระทําการใดๆ ได้โดยอิสระ
                   แต่ต้องไม่กระทําละเมิดต่อทรัพยสิทธิของผู้อื่น
                          (3) วัตถุแห่งสิทธิที่จะได้รับจากบุคคลสิทธิมีจํากัดอยู่ 3 ประการ กล่าวคือ  หนี้กระทําการ  หนี้
                   งดเว้นกระทําการ  และหนี้โอนทรัพย์สิน  ทั้งนี้ ทรัพย์สินในกองทรัพย์สินของลูกหนี้สามารถนํามาชดใช้

                   คืนแก่เจ้าหนี้ได้  ส่วนทรัพยสิทธินั้น  การบังคับตามสิทธิต้องบังคับเอากับทรัพย์ที่เป็นตัวรองรับสิทธิ
                   เท่านั้น
                          (4) บุคคลสิทธิเป็นสิทธิเรียกร้อง  จึงต้องมีการฟูองร้องบังคับทางศาล  หากลูกหนี้ไม่ชําระหนี้

                   หรือมีการทําผิดหน้าที่  ผู้ทรงสิทธิจะบังคับตามสิทธิของตนโดยลําพังได้
                          คําพิพากษาฎีกาที่ 6894/2544  จําเลยทําสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมบ้านของจําเลยแก่
                   โจทก์  และยินยอมให้โจทก์เข้าครอบครองในวันทําสัญญาต่อมาจําเลยได้ตัดโซ่คล้องกุญแจที่โจทก์ปิด
                   ประตูหน้าบ้านออกแล้วใช้กุญแจของจําเลยคล้องแทนทําให้โจทก์เข้าบ้านไม่ได้  กุญแจพร้อมโซ่ของโจทก์

                   เสียหายไร้ประโยชน์  ย่อมมีความผิดฐานทําให้เสียทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 358  การที่จําเลยส่งมอบที่ดิน
                   พร้อมบ้านพิพาทให้โจทก์เข้าครอบครอง  โจทก์ย่อมมีสิทธิอยู่ได้โดยชอบ  หากโจทก์เป็นฝุายผิดสัญญา
                   และไม่มีสิทธิจะอยู่ต่อเป็นการโต้แย้งสิทธิทางแพ่ง จําเลยชอบที่จะดําเนินการตามกฎหมายเพื่อรักษาสิทธิ
                   ของตน  ไม่มีอํานาจโดยพลการที่จะกระทําการดังกล่าว  อันเป็นการรบกวนการครอบครองของโจทก์

                   โดยปกติสุข  จึงมีความผิดฐานบุกรุกตามาตรา 362
                          (5) การบังคับใช้บุคคลสิทธิต้องดําเนินคดีทางศาล  มีเรื่องอายุความเข้ามาเกี่ยวข้อง ส่วน
                   ทรัพยสิทธิไม่มีการถูกจํากัดด้วยเรื่องอายุความ


                   4
                      ไพโรจน์ วายุภาพ, คําอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วย หนี้ , กรุงเทพมหานคร:  สํานักอบรมศึกษา
                   กฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, พิมพ์ครั้งที่ 8, ธันวาคม 2552.




                                                             15
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20