Page 13 -
P. 13

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                          (4) นาย ก ตกลงว่าจ้างนางสาว ข จัดทําอาหารสําหรับงานเลี้ยงฉลองมงคลสมรส 50 ,000 บาท
                   โดยจะชําระให้เมื่อเสร็จงานแล้ว

                          (5) นาย ก ตกลงส่งข้าวให้นาง ข ภายหลังการเก็บเกี่ยวตลอดชีวิต  นาง ข โดยมีข้อแม้ว่านาง ข
                   จะต้องไม่แบ่งขายที่ดินแก่บุคคลใดทั้งสิ้น
                          (6) นาย ก ช่วยชีวิตนางสาว ข ไม่ให้ถูกรถชน
                          (7) นาย ก รับปากว่าจะดูแลนางสาว ข บุตรสาวเพื่อนเป็นอย่างดีตามคําร้องขอของเพื่อนก่อน

                   ตาย
                    ตัวอย่างข้างต้น ล้วนแต่เป็น “หนี้” ทั้งสิ้น แต่ตัวอย่างใดจะเป็นหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่ง
                   และพาณิชย์และเกิดจากมูลเหตุใดนั้น จึงต้องพิจารณานิยามของคําว่า “หนี้” เสียก่อน และจะพบว่า
                   ตัวอย่างข้อ (1) – (5) ถือเป็น “หนี้” ตามกฎหมายโดยมีมูลเหตุที่แตกต่างกันไป ส่วน ตัวอย่างข้อ (6).

                   และ (7).นั้น เป็นคําว่า  “หนี้”  ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปอันอาจไม่ใช่  “หนี้” (Obligations)  ตามความหมายใน
                   กฎหมายก็ได้ ซึ่งอาจเรียกว่า  “หนี้ทางใจ”  ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นหนี้ที่เกิดจากความผูกพันระหว่างกัน
                   ความผูกพันบางประการที่บังคับไม่ได้ แต่อาจมีผลในทางกฎหมายลักษณะหนี้อยู่บ้าง ก็ถือเป็น   “หนี้”
                   ด้วย ซึ่งเรียกว่า “หนี้ธรรมดา” หรือ “หนี้ในธรรม” เช่น หนี้ขาดอายุความ หนี้ขาดหลักฐานเป็นหนังสือ

                   ฟูองร้องไม่ได้ หนี้จากการประกันขันต่อ เป็นต้น

                          1.2  มูลแห่งหนี้/บ่อเกิดแห่งหนี้ แบ่งออกได้เป็น

                          (1) นิติกรรม ได้แก่ สัญญา
                    (2) นิติเหตุ ได้แก่ ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ และบทบัญญัติของกฎหมาย
                          เหตุที่พบบ่อยที่ก่อให้เกิดหนี้ คือ มูลเหตุจากสัญญาและละเมิด

                          (1) สัญญา

                          “สัญญา” เป็นนิติกรรมสองฝุาย สัญญาที่ก่อให้เกิดหนี้นั้นจะเป็นสัญญาที่มีชื่อตามเอกเทศ
                   สัญญา (บรรพ 3) หรือเป็นสัญญาไม่มีชื่อ อาทิ สัญญาประกวดราคา สัญญาประมูล เป็นต้น ก็ได้


                   ตัวอย่างสัญญาตามเอกเทศสัญญา
                          - สัญญาซื้อขาย
                          มาตรา 453 “อันว่าซื้อขายนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลฝุายหนึ่งเรียกว่า ผู้ขาย โอนกรรมสิทธิ์แห่ง
                   ทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝุายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย”

                          -สัญญาเช่าทรัพย์สิน
                          มาตรา 537  “อันว่าเช่าทรัพย์สินนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลอีก
                   คนหนึ่งเรียกว่าผู้เช่า ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจํากัดและ
                   ผู้เช่าได้ตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น”

                          -สัญญาจ้างทําของ
                          มาตรา 587 “อันว่าจ้างทําของนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทําการ
                   งานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสําเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อ
                   ผลสําเร็จแห่งการที่ทํานั้น”







                                                             13
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18