Page 16 -
P. 16

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                          คําพิพากษาฎีกาที่ 4934/2536 โจทก์ฟูองเรียกเงินคืนจากจําเลยโดยตั้งสภาพแห่งข้อหาฐาน
                   ลาภมิควรได้ว่า จําเลยได้เงินจากโจทก์โดยปราศจากมูลเหตุอันจะอ้างกฎหมายได้  และมีคําขอบังคับให้

                   โจทก์คืนเงินตามสภาพข้อหาดังกล่าว  จําเลยให้การต่อสู้คดีว่าฟูองโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ.
                   มาตรา 419 ดังนั้น เมื่อโจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืนจากจําเลยเมื่อวันที่ 24 ก.ย. 2529  แต่ฟูองเมื่อ
                   วันที่ 14 พ.ย. 2531 พ้นกําหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่โจทก์รู้ว่าตนมีสิทธิเรียกเงินคืน  ฟูองโจทก์จึงขาดอายุ
                   ความ ตาม มาตรา419

                          คําพิพากษาฎีกาที่ 4015/2528  โจทก์จําเลยได้เลิกสัญญาซื้อขายที่ดินกันแล้ว  คู่สัญญาจึงต้อง
                   กลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 แต่จําเลยไม่คืนเงินมัดจําและราคาที่ดินที่จําเลยรับไว้ให้แก่
                   โจทก์  โจทก์จึงฟูองคดีเพื่อเรียกเงินดังกล่าวคืน  เป็นกรณีที่เจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามเอาทรัพย์คืน  ไม่มี
                   อายุความ

                          คําพิพากษาฎีกาที่ 2882/2539  การที่จําเลยตกลงให้บริษัท ก. เข้าขุดคลองในที่ดินของจําเลย
                   เพื่อประโยชน์ของจําเลย  ถือได้ว่าจําเลยต้องรู้เห็นและรับผิดชอบต่อโจทก์ด้วย  เมื่อคลองที่ขุดขึ้นอยู่ห่าง
                   จากแนวเขตที่ดินของโจทก์ไม่ถึง 1 เมตร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1342 วรรคสอง  การกระทําของจําเลยจึง
                   เป็นการละเมิดต่อโจทก์

                          โจทก์ฟูองขอให้จําเลยปูองกันความเสียหายอันจะเกิดแก่ความอยู่มั่นแห่งที่ดินของโจทก์ที่ติดต่อ
                   กับที่ดินที่จําเลยขุดคลองมิใช่เรียกเอาค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดโดยตรง  จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งอายุ
                   ความ 1 ปี  ตามมาตรา 448 คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

                          (6)  บุคคลสิทธินั้น  คู่กรณีจะทําให้เกิดความผูกพันกันในลักษณะอย่างไรก็ได้  เป็นการก่อตั้ง
                   สิทธิตามสัญญา  ส่วนทรัพยสิทธิ  ใช้ยันแก่บุคคลทั่วไปได้  ทั้งนี้  ต้องพิจารณาตามมาตรา 1298 ด้วย
                   (จะตั้งขึ้นนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติไว้ไมได้)
                          คําพิพากษาฎีกาที่ 711/2484 สิทธิตามสัญญาจ้างทําของบนที่ดินไม่ใช่ทรัพย์สิทธิ  ย่อมไม่ตก
                   ติดไปกับที่ดิน

                          (7)  กรณีมีการโอนทรัพย์สินเปลี่ยนมือไป  ทรัพยสิทธิย่อมตกติดไปกับตัวทรัพย์สินนั้นด้วย
                   ส่วนบุคคลสิทธินั้น  บังคับได้เฉพาะคู่กรณี  ยันบุคคลภายนอกไม่ได้  บุคคลสิทธิย่อมไม่ตกติดตามไป
                          (8)  บุคคลสิทธิที่มีทรัพย์สินเข้ามาเกี่ยวข้องในบางกรณีนั้น  ทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่สิ่งจําเป็น

                   ของความมีอยู่ขอบุคคลสิทธิ  เช่น สัญญาซื้อขายซึ่งเป็นบุคคลสิทธิ  ขณะทําสัญญาซื้อขายไม่ต้องมี
                   ทรัพย์สินอยู่หรือแม้ไม่เจาะจงว่าเป็นทรัพย์สินใด  สัญญาก็สมบูรณ์แล้ว (คําพิพากษาฎีกาที่ 2303/2533)
                   ส่วนทรัพยสิทธิ เป็นสิทธิที่ต้องมีทรัพย์มารับรอง  จึงต้องมีตัวทรัพย์ก่อน
                          คําพิพากษาฎีกาที่ 2303/2533  สัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาที่กําหนดให้โอนกรรมสิทธิ์ใน

                   ทรัพย์สินกันภายหน้า  แม้ขณะทําสัญญาผู้ขายยังไม่มีกรรมสิทธิ์  หรือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่
                   สมบูรณ์  สัญญาก็มีผลบังคับแล้ว
                          คําพิพากษาฎีกาที่ 515/2525  จําเลยขายฝากเรือนเลขที่ 126  แก่โจทก์ต่อมาระหว่างอายุ
                   สัญญา  จําเลยรื้อเรือนแล้วสร้างเป็นเรือนหลังใหม่ในที่ดิน  โดยใช้ไม้ของเรือนหลังเดิมบางส่วนและใช้

                   บ้านเลขที่ 126 ตามเดิม  ดังนี้  ถือได้ว่าเรือนหลังเดิมซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามสัญญาขายฝาก
                   และเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้สิ้นสภาพไปแล้ว  เรือนหลังใหม่คือเรือนพิพาทย่อมไม่ตกอยู่ในบังคับของ
                   สัญญาขายฝาก  โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในเรือนพิพาท  ไม่มีอํานาจฟูองขับไล่จําเลย คงมีอํานาจที่จะว่า
                   กล่าวแก่จําเลยในกรณีที่จําเลยรื้อเรือนหลังเดิมอันเป็นวัตถุแห่งหนี้ตามสัญญาขายฝากเท่านั้น







                                                             16
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21