Page 18 -
P. 18

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                   ชําระหนี้กันได้ตาม มาตรา 194 และ 213 โจทก์จะฟูองเรียกค่าเสียหายจากจําเลยในมูลละเมิดอีกหาได้
                   ไม่

                    คําพิพากษาฎีกาที่ 4777/2549 ข้อสัญญาตกลงว่าเมื่อออกจากงานแล้วจะไม่ไปทํางานในบริษัท
                   อื่นที่มีกิจการค้าแข่งกับนายจ้างเดิม
                    คําพิพากษาฎีกาที่ 515/2525 จําเลยขายฝากเรือนเลขที่ 126 แก่โจทก์ ต่อมาระหว่างอายุ
                   สัญญา จําเลยรื้อเรือนแล้วสร้างเป็นเรือนหลังใหม่ในที่ดิน โดยใช้ไม้ของเรือนหลังเดิมบางส่วนและใช้

                   บ้านเลขที่ 126 ตามเดิม ดังนี้ ถือได้ว่าเรือนหลังเดิมซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามสัญญาขายฝาก
                   และเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้สิ้นสภาพไปแล้วเรือนหลังใหม่คือเรือนพิพาทย่อมไม่ตกอยู่ในบังคับของสัญญา
                   ขายฝาก โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในเรือนพิพาท ไม่มีอํานาจฟูองขับไล่จําเลย คงมีอํานาจที่จะว่ากล่าวแก่
                   จําเลยในกรณีที่จําเลยรื้อเรือนหลังเดิมอันเป็นวัตถุแห่งหนี้ตามสัญญาขายฝากเท่านั้น


                          2.2 ทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งการช าระหนี้
                    มาตรา 195 วรรคหนึ่ง       “เมื่อทรัพย์ซึ่งเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้ระบุไว้แต่เพียงเป็นประเภทและถ้า
                   ตามสภาพของนิติกรรมหรือตามเจตนาของคู่กรณีไม่อาจจะก าหนดได้ว่าทรัพย์นั้นจะพึงเป็นชนิดอย่างไร

                   ไซร้ ท่านว่าลูกหนี้จะต้องส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลาง”
                          “ทรัพย์ทั่วไป”  คือ ทรัพย์ที่มีลักษณะเหมือนกัน เช่น ดินสอ ข้าวสาร โต๊ะ เก้าอี้ รถยนต์ ฯลฯ
                   หากพิจารณาตามสภาพของนิติกรรม จะหมายถึง ประโยชน์ที่มุ่งหมายจะได้รับจากนิติกรรมนั้น เช่น ซื้อ

                   ข้าวสารไปเลี้ยงหมู กับซื้อไปทําอาหารขาย คุณภาพ/ประเภทของข้าวสารย่อมต่างกัน เป็นต้น   แต่หาก
                   พิจารณาตามเจตนาของคู่กรณี และมีข้อตกลงกันไว้ จะส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลางไม่ได้ เช่น คู่กรณีผู้
                   ซื้อระบุว่าขอซื้อข่าวสารหอมมะลิเพื่อนําไปผลิตซูชิจําหน่าย คู่กรณีผู้ขายก็จะนําข้าวสารทุ่งกุลาร้องไห้มา
                   ส่งมอบให้แทนไม่ได้ เป็นต้น
                          หากระบุประเภทของทรัพย์โดยละเอียดแล้ว ย่อมไม่ต้องด้วยกรณีตามวรรคหนึ่ง เพราะมิใช่ระบุ

                   แต่เพียงประเภท ดังนั้น จึงต้องส่งมอบทรัพย์ตามที่ระบุ แต่หากกําหนดเพียงประเภทของทรัพย์เท่านั้น
                   วิธีการส่งมอบ คือ ส่งมอบทรัพย์ชนิดปานกลาง ส่วนในกรณีที่มีพฤติการณ์ซึ่งเคยตกลงให้ส่งมอบทรัพย์
                   ชนิดใดมาก่อนอยู่แล้ว แม้ในครั้งต่อไปไม่ได้ตกลงกันไว้ ก็ถือเป็นการตกลงโดยปริยายว่าให้ส่งมอบทรัพย์

                   ชนิดเดียวกันที่เคยส่งนั้น เช่น นาย ก ตกลงซื้อข้าวสารจากร้านนาง ข 1 กระสอบ โดยไม่ได้ระบุชนิด
                   ทั้งนี้ นาง ข มีข้าวระดับ 1 2 และ 3 มีคุณภาพดีจากน้อยไปมากตามลําดับ ดังนี้ นาง ข ก็ต้องส่งมอบ
                   ข้าวสารชนิด 2   แต่หากแต่เดิมมาสั่งซื้อชนิดที่ 3 มาโดยตลอด แม้การสั่งซื้อครั้งนี้จะไม่ระบุประเภท
                   ผู้ขายก็ต้องส่งมอบชนิดที่ 3 เท่านั้น เป็นต้น

                          ดังนั้น วิธีการเปลี่ยนทรัพย์ทั่วไปเป็น“ทรัพย์เฉพาะสิ่ง” จึงถูกกําหนดไว้ในตามมาตรา 19 5วรรค
                   สอง ดังบัญญัติไว้ว่า “ถ้าลูกหนี้ได้กระท าการอันตนจะพึงต้องท าเพื่อส่งมอบทรัพย์สิ่งนั้นทุกประการแล้ว
                   ก็ดี หรือถ้าลูกหนี้ได้เลือกก าหนดทรัพย์ที่จะส่งมอบแล้วด้วยความยินยอมของเจ้าหนี้ก็ดี ท่านว่าทรัพย์นั้น
                   จึงเป็นวัตถุแห่งหนี้จ าเดิมแต่เวลานั้นไป”

                          “การกระทําการอันลูกหนี้จะพึงต้องทํา” นั้นต้องมีการนับ ชั่ง ตวง วัด ให้ตรงตามความประสงค์
                   แห่งสัญญานั้นด้วย ไม่ใช่แต่เพียงการแยกทรัพย์มากองไว้ หรือทําเครื่องหมายที่ทรัพย์ไว้เท่านั้น เว้นแต่












                                                             18
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23