Page 17 -
P. 17

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                                                                  5
                          ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสิทธิและทรัพยสิทธิ
                          (1) การเปลี่ยนแปลงทรัพยสิทธิมักจะอาศัยสัญญาซึ่งเป็นบุคคลสิทธิมาเป็นเครื่องมือ  เช่น การ

                   โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยทําเป็นสัญญาซื้อขายหรือให้  หรือโอนสิทธิครอบครองโดยทําเป็นสัญญายืม
                   หรือเช่าทรัพย์  เป็นต้น  ดังนั้น  จึงต้องพิจารณาทั้งสองหลักไปด้วย
                          คําพิพากษาฎีกาที่ 7144/2528  จําเลยขายที่พิพาทซึ่งเป็นที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทํา
                   ประโยชน์ให้แก่ผู้ร้องโดยไม่ได้ทําเป็นหนังสือและจดทะเบียนโอนสิทธิกันตามประมวลกฎหมายที่ดิน

                   มาตรา4 ทวิ แต่การที่ผู้ร้องได้รับการครอบครองแล้ว  ย่อมได้สิทธิครอบครองไปตาม ป.พ.พ. มาตรา
                   1377 และ 1378
                          (2) การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์โดยนิติกรรมในกรณีที่กฎหมายมิได้กําหนดแบบไว้
                   เพียงแต่ถ้าไม่ได้จดทะเบียนไม่บริบูรณ์  ในส่วนนิติกรรมแม้ไม่ได้จดทะเบียนก็สามารถบังคับตามนิติกรรม

                   นั้นได้ระหว่างกันเองในฐานะเป็นบุคคลสิทธิ  แต่ไม่อาจใช้ยันบุคคลภายนอกได้เท่านั้น  เช่น  สิทธิเก็บกิน
                   โดยไม่ได้จดทะเบียน เป็นต้น (คําพิพากษาฎีกาที่ 1256/2519 2380/2520)
                          คําพิพากษาฎีกาที่ 1256/2519  สัญญาต่างตอบแทนที่จําเลยยอมให้โจทก์มีสิทธิอาศัยและสิทธิ
                   เก็บกินในบ้านและห้องแถวพิพาทจนกว่าโจทก์จะถึงแก่กรรม  เพื่อตอบแทนที่โจทก์ไม่ร้องคัดค้านในการ

                   ที่จําเลยร้องขอต่อศาลเป็นผู้จัดการมรดกนั้น  แม้ไม่ได้จดทะเบียนการได้มาตาม ป.พ.พ.
                   มาตรา 1299 ไม่เป็นทรัพยสิทธิที่จะใช้ยันบุคคลภายนอกได้ทั่วไป  แต่ก็เป็นบุคคลสิทธิใช้ยันระหว่าง
                   คู่สัญญา  สัญญานี้จึงมีผลบังคับกันได้  เมื่อจําเลยจะโอนขายบ้านและห้องแถวพิพาทพร้อมที่ดินซึ่งบ้าน

                   และห้องแถวนั้นตั้งอยู่  โจทก์ย่อมฟูองขอให้ศาลพิพากษาห้ามมิให้จําเลยโอนขายได้
                          (3)  การทําให้ทรัพย์สินหรือทรัพยสิทธิเหนือทรัพย์สินเสียหายย่อมเป็นละเมิดอันเป็นมูลแห่งหนี้
                   ประการหนึ่ง  ตามาตรา 420 ที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทน  การอ้างความรับผิดอันเกิดจากการกระทํา
                   ละเมิดต่อทรัพย์สินดังกล่าว  เป็นการอ้างสิทธิเหนือทรัพย์สินในฐานะเป็นผู้ทรงทรัพยสิทธิ  เป็นการอ้าง
                   เพื่อนํามาเป็นฐานให้ผู้กระทําต้องรับผิดตามมาตรา 420


                   2. วัตถุแห่งหนี้ (Subject of Obligations)
                          2.1 ความหมายของวัตถุแห่งหนี้

                          วัตถุแห่งหนี้ หมายถึง สิ่งที่เจ้าหนี้เรียกให้ลูกหนี้ชําระ (ศ.จิ๊ด เศรษฐบุตร) ซึ่งได้แก่
                     1. กระทําการ
                     2. งดเว้นกระทําการ
                     3. ส่งมอบทรัพย์สิน/โอนทรัพย์สิน (อ.กําธร พันธุลาภ ใช้คําว่า     “โอนกรรมสิทธิ์ส่งมอบ
                            6
                   ทรัพย์สิน”)
                    คําพิพากษาฎีกาที่ 2545/2524 จําเลยขับรถยนต์ประมาทชนรถยนต์ของโจทก์เสียหาย  โจทก์
                   และจําเลยตกลงเกี่ยวกับค่าเสียหายที่พนักงานสอบสวนได้บันทึกไว้ และได้ลงลายมือชื่อไว้ทั้งสองฝุาย
                   แล้ว มีความว่าจําเลยยินยอมซ่อมรถยนต์ของโจทก์ให้อยู่ในสภาพเดิมและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์วันละ

                   400 บาท จนกว่าจะซ่อมรถยนต์เสร็จ จึงเป็นการทําสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทอัน
                   เกิดจากมูลละเมิดให้เสร็จไป ดังนี้ เป็นการกําหนดให้จําเลยชําระหนี้ด้วยการกระทํา ซึ่งอาจมีการบังคับ


                   5
                     เพิ่งอ้าง
                   6
                      กําธร พันธุลาภ, คําอธิบายประมวลแพ่งและพาณิชย์ ว่าดวยหนี้, กรุงเทพมหานคร  :  โรงพิมพ์มิตรนราการพิมพ์,
                   2529.หน้า 12.




                                                             17
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22