Page 12 -
P. 12
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ค าบรรยาย
กฎหมายว่าด้วยหนี้ (Obligations Law)
รหัสวิขา 01453221
1
อาจารย์สรียา กาฬสินธุ์
1. หลักกฎหมายทั่วไปของกฎหมายลักษณะหนี้
1.1 ความหมายของ “หนี้”
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มิได้ให้คํานิยามไว้ในมาตราใด แต่ก็ได้กําหนดให้สิทธิเจ้าหนี้
ตามมาตรา 194 ไว้ ดังบัญญัติว่า “ด้วยอ านาจแห่งมูลหนี้ เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิจะเรียกให้ลูกหนี้ช าระหนี้ได้
อนึ่ง การช าระหนี้ด้วยงดเว้นการอันใดอันหนึ่งก็ย่อมมีได้”
จากความในมาตรา 194 ศ. ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช ได้นิยามคําว่า “หนี้” ไว้ว่า หมายถึง ความ
ผูกพันที่มีผลในกฎหมายซึ่งบุคคลฝุายหนึ่งเรียกว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะได้รับชําระหนี้ มีวัตถุเป็นการการ
2
กระทําหรืองดเว้นหรือส่งมอบทรัพย์สินจากบุคคลอีกฝุายหนึ่งเรียกว่าลูกหนี้
ส่วน ศ. จิ๊ด เศรษฐบุตร ได้นิยามคําว่า “หนี้” ไว้ว่า หมายถึง นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสองฝุาย
ซึ่งฝุายหนึ่งต้องการกระทําอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่อีกฝุายหนึ่ง ฝุายที่ต้องกระทํานั้น เรียกว่า ลูกหนี้ ส่วน
ฝุายที่ได้รับผลของการกระทํานั้น เรียกว่า เจ้าหนี้ส่วนการกระทํานั้น แยกออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
3
(1) กระทําการอย่างที่เข้าใจกัน (2) การกระทําละเว้นการกระทํา และ (3) การกระทําการโอนทรัพย์สิน
ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากคํานิยามข้างต้น จึงทําให้ทราบถึงองค์ประกอบของ “หนี้” ว่าอาจแบ่ง
ได้ดังนี้
1. เกิดจากความสัมพันธ์ในทางกฎหมาย (ซึ่งเกิดจากมูลเหตุต่างๆ กัน มูลเหตุแห่งหนี้ หรือ
บ่อเกิดแห่งหนี้)
2. ประกอบด้วยบุคคลสองฝุาย ได้แก่เจ้าหนี้และลูกหนี้
3. วัตถุแห่งหนี้ คือ การกระทําการ การงดเว้นกระทําการ และการโอนทรัพย์สิน
เมื่อพิจารณาตัวอย่างต่อไปนี้
(1) นาย ก ตกลงซื้อที่ดินไทรโศกจากนาย ข ในราคา 200,000 บาท วางมัดจํา 50 ,000 บาท
ส่วนที่เหลือจะชําระในวันโอน
(2) นาง ก ยืมควายนาย ข ไปไถนา และตกลงจะคืนให้เมื่อหมดฤดูทํานา
(3) นาง ก เจตนาขับรถยนต์ชนนาย ข ทําให้นาย ข เล็กบาดขาหักต้องเข้ารับการรักษาที่
โรงพยาบาล
1 อาจารย์ประจําภาควิชานิติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
2 ศ. ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยนิติกรรมและหนี้, หน้า 363. อ้างอิงใน ไพโรจน์
วายุภาพ, คําอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วย หนี้, กรุงเทพมหานคร: สํานักอบรมศึกษากฎหมายแห่ง
เนติบัณฑิตยสภา, พิมพ์ครั้งที่ 8, ธันวาคม 2552.
3
ศ. จี๊ด เศรษฐบุตร, หลักกฎหมายแพ่งลักษณะหนี้, หน้า 15 อ้างอิงใน ไพโรจน์ วายุภาพ, คําอธิบายประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วย หนี้ , กรุงเทพมหานคร : สํานักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, พิมพ์ครั้งที่ 8,
ธันวาคม 2552.
12