Page 21 -
P. 21

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                   ทั้งแปลงเอาเงินมาแบ่งกันตามส่วน ในการบังคับคดีจําเลยจะต้องปฏิบัติการชําระหนี้ตามลําดับ
                   ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจําเลยไม่สามารถจะแบ่งที่ดินมรดกให้แก่โจทก์ทั้งสามตามคําพิพากษาได้ ดังนี้

                   จําเลยจะเลือกวิธีการนําเงินค่าที่ดินมาชําระให้ โจทก์ส่วนละ 1,250 บาท โจทก์ไม่ตกลงด้วยไม่ได้

                          วิธีการเลือก
                    กรณีคู่กรณีเป็นผู้เลือก มาตรา 199 วรรคหนึ่ง กําหนดไว้ว่า   “การเลือกนั้น ท่านให้ท าด้วยการ

                   แสดงเจตนาแก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง”
                    กรณีบุคคลภายนอกเป็นผู้เลือก มาตรา 201 กําหนดไว้ว่า     “ถ้าบุคคลภายนอกจะพึงเป็นผู้เลือก
                   ท่านให้กระท าด้วยแสดงเจตนาแก่ลูกหนี้และลูกหนี้จะต้องแจ้งความนั้นแก่เจ้าหนี้
                     ถ้าบุคคลภายนอกนั้นไม่อาจจะเลือกได้ก็ดี หรือไม่เต็มใจจะเลือกก็ดี ท่านว่าสิทธิที่จะ

                   เลือกตกไปอยู่แก่ฝ่ายลูกหนี้”

                          ก าหนดเวลาที่ต้องเลือก
                    มาตรา 200        “ถ้าจะต้องเลือกภายในระยะเวลาอันมีก าหนด และฝ่ายที่มีสิทธิจะเลือกมิได้

                   เลือกภายในระยะเวลานั้นไซร้ ท่านว่าสิทธิที่จะเลือกนั้นย่อมตกไปอยู่แก่อีกฝ่ายหนึ่ง
                     ถ้ามิได้ก าหนดระยะเวลาให้เลือกไซร้ เมื่อหนี้ถึงก าหนดช าระ ฝ่ายที่ไม่มีสิทธิจะเลือก
                   อาจก าหนดเวลาพอสมควรแก่เหตุ แล้วบอกกล่าวให้ฝ่ายโน้นใช้สิทธิเลือกภายในเวลาอันนั้น”


                          ผลของการเลือก
                          มาตรา 199 วรรคสอง  “การช าระหนี้ได้เลือกท าเป็นอย่างใดแล้ว ท่านให้ถือว่าอย่างนั้นอย่าง
                   เดียว เป็นการช าระหนี้อันก าหนดให้กระท าแต่ต้นมา”
                    เมื่อเลือกแล้ว ต้องเป็นไปตามที่เลือก เว้นแต่ (1) จะมีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น เช่น มีการแปลง

                   หนี้ใหม่ เป็นต้น หรือ (2) ถ้าลูกหนี้ชําระหนี้ที่ไม่ได้เลือกและเจ้าหนี้ยอมรับชําระ ก็ถือเป็นการชําระด้วย
                   อย่างอื่น ตามมาตรา 321


                          การเป็นพ้นวิสัยของวัตถุแห่งหนี้บางอย่างที่ต้องเลือก
                    มาตรา 202        “ถ้าการอันจะพึงต้องท าเพื่อช าระหนี้มีหลายอย่าง และอย่างใดอย่างหนึ่งตกเป็น
                   พ้นวิสัยจะท าได้มาแต่ต้นก็ดี หรือกลายเป็นพ้นวิสัยในภายหลังก็ดี ท่านให้จ ากัดหนี้นั้นไว้เพียงการช าระ
                   หนี้อย่างอื่นที่ไม่พ้นวิสัย อนึ่ง การจ ากัดอันนี้ย่อมไม่เกิดมีขึ้น หากว่าการช าระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยเพราะ

                   พฤติการณ์อันใดอันหนึ่งซึ่งฝ่ายที่ไม่มีสิทธิจะเลือกนั้นต้องรับผิดชอบ”
                    หากเจ้าหนี้และลูกหนี้ทําสัญญาโดยรู้มาแต่ต้นว่าหนี้เป็นพ้นวิสัย สัญญาเป็นโมฆะตามมาตรา
                   150 ไม่ก่อให้เกิดหนี้ หากคู่สัญญาไม่รู้ ก็จะเป็นเรื่องการชําระหนี้เป็นพ้นวิสัยตามมาตรา 218-219 ทําให้
                   ลูกหนี้ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าหนี้หรือหลุดพ้นจากหนี้ สุดแต่ว่าลูกหนี้มีส่วนผิดหรือไม่

                   แล้วแต่กรณี หรือถ้าเป็นสัญญาต่างตอบแทนก็ต้องบังคับตามมาตรา 372










                                                             21
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26