Page 19 -
P. 19

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                   กําหนดไว้ว่าจะมีการตกลงราคาในภายหลัง แม้จะไม่ได้ทําการนับ ชั่ง ตวง วัด ทรัพย์ที่แยกหรือทํา
                                                   7
                   เครื่องหมายไว้ก็เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้ว
                          “การเลือกกําหนดทรัพย์โดยความยินยอมของเจ้าหนี้” เป็นความยินยอมให้ทําการเลือกกําหนด
                   ทรัพย์ ไม่ต้องถึงขนาดยินยอมในตัวทรัพย์ที่ลูกหนี้เลือก และทรัพย์นั้นถือเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งทันที แม้จะ
                   ยังไม่ได้ส่งมอบ
                          คําพิพากษาฎีกาที่ 339/2506 จําเลยตกลงขายไม้ในโรงเลื่อยให้โจทก์ โดยเจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้

                   วัดไม้ตีตราแล้ว ต้องถือว่ากรรมสิทธิ์ในไม้ได้โอนเป็นของโจทก์แล้ว หากไฟไหม้ไม้นั้นเสียหายเพราะเหตุ
                   อันจะโทษจําเลยมิได้แล้ว การสูญหรือเสียหายก็ย่อมตกเป็นพับแก่โจทก์

                          ผลของการเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง

                          1. ผลเกี่ยวกับภัยพิบัติ ตามมาตรา  370
                    หากเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่มีวัตถุประสงค์เป็นการก่อให้เกิดหรือโอนทรัพยสิทธิในทรัพย์
                   เฉพาะสิ่ง และต่อมามีการสูญหายหรือบุบสลายด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันจะโทษลูกหนี้ไม่ได้ไซร้
                   ก็ตกเป็นพับแก่เจ้าหนี้ เพราะกรรมสิทธิ์ในทรัพย์เฉพาะสิ่งได้โอนไปยังเจ้าหนี้แล้วตั้งแต่เป็นทรัพย์เฉพาะ

                   สิ่ง
                          2. ผลเกี่ยวกับการชําระหนี้เป็นพ้นวิสัย ตามมาตรา 218 มาตรา 219 มาตรา 378(3)
                   (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่ 1074/2546)

                          3. ผลเกี่ยวกับการรักษาทรัพย์ ตาม มาตรา 323 วรรคสอง
                          ลูกหนี้ต้องรักษาทรัพย์ไว้ด้วยความระมัดระวังเช่นวิญํูชนพึงสงวนทรัพย์สินของตนเองจนกว่า
                   จะได้ส่งมอบทรัพย์นั้น
                          4. ผลเกี่ยวกับการส่งมอบทรัพย์ ตามมาตรา 323 วรรคหนึ่ง  คือต้องส่งมอบตามสภาพที่เป็นอยู่
                   ในเวลาที่พึงส่งมอบ

                          5. ผลเกี่ยวกับสถานที่ที่จะชําระหนี้ ตาม มาตรา 324 คือต้องชําระหนี้ ณ. สถานที่ที่ทรัพย์นั้น
                   ตั้งอยู่


                          2.3 วัตถุแห่งการช าระหนี้เป็นเงินตรา
                    มาตรา 196       “ถ้าหนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินตราต่างประเทศท่านว่าจะส่งใช้เป็นเงินไทยก็ได้ การ
                   เปลี่ยนเงินนี้ ให้คิดตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ สถานที่และในเวลาที่ใช้เงิน”
                          หากระบุให้ใช้เงินตราสกุลหนึ่งๆ โดยแจ้งชัด ก็ต้องใช้ตามสกุลนั้น แต่หากแสดงมูลค่าไว้เป็น

                   เงินตราต่างประเทศ โดยไม่ได้กําหนดให้ใช้ตามสกุลเงินตราต่างประเทศนั้น ลูกหนี้ย่อมมีสิทธิเลือกใช้เงิน
                   บาทก็ได้
                          คําพิพากษาฎีกาที่ 5020/2547 ป.พ.พ. มาตรา 196 ให้ลูกหนี้มีสิทธิที่จะเลือกชําระหนี้เป็น
                   เงินตราต่างประเทศหรือเงินไทย ศาลไม่มีอํานาจไปบังคับหรือเลือกแทนลูกหนี้ เมื่อหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับ

                   ชําระในคดีล้มละลายเป็นหนี้เงินตามคําพิพากษาที่กําหนดไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ ลูกหนี้จึงอาจชําระ
                   เป็นเงินไทยก็ได้




                   7  โปรดดูมาตรา 460 บัญญัติไว้ในลักษณะเดียวกันในเรื่องซื้อขาย




                                                             19
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24