Page 52 -
P. 52

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                          5.1.1 หลักเกณฑ์การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้
                          มาตรา 233 “ถ้าลูกหนี้ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องหรือเพิกเฉยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องเป็นเหตุให้

                   เจ้าหนี้ต้องเสียประโยชน์ไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเองแทนลูกหนี้เพื่อ
                   ป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้นั้นก็ได้ เว้นแต่ในข้อที่เป็นการของลูกหนี้ส่วนตัวโดยแท้”
                          หลักเกณฑ์
                          1. มีมูลหนี้อยู่ 2 มูลหนี้

                          มูลหนี้ที่  1 ระหว่าง............. กับลูกหนี้
                          มูลหนี้ที่ 2 ระหว่างลูกหนี้กับ...........................
                          คําถาม
                          - ถ้าสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ยังไม่ถึงกําหนด บังคับได้หรือไม่

                          - มูลหนี้ที่ 1 จําต้องเกิดก่อนมูลหนี้ที่ 2 หรือไม่
                          คําตอบ........................................................................................
                          2. ลูกหนี้ขัดขืนไม่ยอมใช้หรือเพิกเฉยไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง (ในมูลหนี้ที่ 2)

                    ขัดขืน      = จงใจ
                    เพิกเฉย      = ละเลย/ไม่เอาใจใส่ เช่น ปล่อยจนหนี้ขาดอายุความ เป็นต้น
                          3. เป็นเหตุให้เจ้าหนี้เสียประโยชน์

                          หากลูกหนี้มีทรัพย์สินเพียงพอต่อการชําระหนี้ ถือเป็นการทําให้เจ้าหนี้เสียประโยชน์หรือม่ ต้อง
                   พิจารณาเป็นกรณีๆ ไป
                          ตัวอย่าง  ผู้จะขายไม่ยอมไถ่ถอนที่ดินที่ขายฝาก ผู้จะซื้อใช้สิทธิไถ่ถอนของผู้จะขายได้ (คํา
                   พิพากษาฎีกาที่ 294/2492) ผู้เช่าใช้สิทธิผู้ให้เช่าฟูองขับไล่ผู้บุกรุก (คําพิพากษาฎีกาที่  736/2518) ผู้จะ

                   ซื้อฟูองบังคับให้ผู้จะขายขอบังคับไถ่ถอนจํานองและโอนที่ดินที่จะซื้อให้ตนได้ (คําพิพากษาฎีกาที่
                   1829/2519)
                          4. สิทธิเรียกร้องนั้นต้องไม่เป็นการส่วนตัวของลูกหนี้โดยแท้
                          5. เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ในนามตนเองได้ (ผล)


                          5.1.2 วิธีการใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้
                          1. เจ้าหนี้ใช้สิทธิในนามตนเอง (มาตรา 233)
                          2. เจ้าหนี้ต้องขอหมายเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดี (มาตรา 234)

                          มาตรา 234 “เจ้าหนี้ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้นั้นจะต้องขอหมายเรียกลูกหนี้เข้ามาในคดีนั้น
                   ด้วย”
                          3. เจ้าหนี้เรียกร้องได้เต็มจํานวน (มาตรา 235) -- ต้องเป็นหนี้เงินด้วยกัน

                   มาตรา 235 “เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้เรียกเงินเต็มจ านวนที่ยังค้างช าระแก่ลูกหนี้ โดยไม่ต้อง
                   ค านึงถึงจ านวนที่ค้างช าระแก่ตนก็ได้ ถ้าจ าเลยยอมใช้เงินเพียงเท่าจ านวนที่ลูกหนี้เดิมค้างช าระแก่เจ้าหนี้
                   นั้น คดีก็เป็นอันเสร็จกันไป แต่ถ้าลูกหนี้เดิมได้เข้าชื่อเป็นโจทก์ด้วย ลูกหนี้เดิมจะขอให้ศาลพิจารณา
                   พิพากษาต่อไปในส่วนจ านวนเงินที่ยังเหลือติดค้างอยู่ก็ได้แต่อย่างไรก็ดี ท่านมิให้เจ้าหนี้ได้รับมากไปกว่า
                   จ านวนที่ค้างช าระแก่ตนนั้นเลย”








                                                             52
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57