Page 57 -
P. 57

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                          (3) มีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์แก่เจ้าหนี้เกี่ยวด้วยทรัพย์สินซึ่งครอบครองนั้น
                          การมีหนี้อันเป็นคุณประโยชน์ คือ หากไม่มีหนี้นี้ ไม่มีสิทธิยึดหน่วง เฉพาะหนี้ที่เกี่ยวกับ

                   ทรัพย์สินที่เจ้าหนี้ครอบครองเท่านั้น เช่น นาย ก ยืมรถนาย ข มาขับ นาย ข ไม่จ่ายเงินกู้คืน นาย ก ยึด
                   รถที่ยืมมาไม่ได้ เป็นต้น เพราะไม่ใช่หนี้อันเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้ในทรัพย์สินที่ครอบครอง

                          คําถาม ลูกหนี้มอบโฉนดที่ดินหรือที่ดินให้เจ้าหนี้ยึดเป็นประกันเงินกู้ เจ้าหนี้มีสิทธิยึดหน่วง
                   หรือไม่ (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่ 545/2504 229/2522 และ 1748/2500)

                          คําตอบ....................................................................................
                          คําถาม หากมีข้อตกลงให้เจ้าหนี้ยึดถือโฉนดที่ดินไว้จนกว่าลูกหนี้จะชําระหนี้เสร็จ เจ้าหนี้มีสิทธิ
                   ยึดหน่วงหรือไม่ (คําพิพากษาฎีกาที่ 416/2499 1369/2510 และ 442/2527)

                          คําตอบ....................................................................................


                          (4) หนี้ถึงก าหนดช าระแล้ว
                          เจ้าหนี้ปฏิเสธไม่ส่งคืนทรัพย์ อ้างสิทธิยึดหน่วงเมื่อหนี้ยังไม่ถึงกําหนดไม่ได้ เว้นแต่ลูกหนี้เป็นคน
                   สินล้นพ้นตัวไม่สามารถใช้หนี้ได้ตามมาตรา 243

                          “ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นคนสินล้นพ้นตัวไม่สามารถใช้หนี้ เจ้าหนี้มีสิทธิยึดหน่วงทรัพย์สินไว้ได้แม้ทั้ง
                   ที่ยังไม่ถึงก าหนดเรียกร้อง ถ้าการที่ลูกหนี้ไม่สามารถใช้หนี้นั้นได้เกิดเป็นขึ้น หรือรู้ถึงเจ้าหนี้ต่อภายหลัง

                   เวลาที่ได้ส่งมอบทรัพย์สินไซร้ ถึงแม้ว่าจะไม่สมกับลักษณะที่เจ้าหนี้รับภาระในมูลหนี้ไว้เดิม หรือไม่สมกับ
                   ค าสั่งอันลูกหนี้ได้ให้ไว้ก็ดี เจ้าหนี้ก็อาจจะใช้สิทธิยึดหน่วงได้”

                          6.2 กรณีไม่อาจมีสิทธิยึดหน่วงได้ (มาตรา 242)

                          (1) ไม่สมกับลักษณะที่เจ้าหนี้รับภาระในมูลหนี้
                          (2) ไม่สมกับคําสั่งอันลูกหนี้ได้ให้ไว้ก่อนหรือให้ไว้ในเวลาที่ส่งมอบทรัพย์สิน
                          (3) ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน


                          6.3 สิทธิของผู้ทรงสิทธิยึดหน่วง
                          (1) ยึดหน่วงทรัพย์สินนั้นจนกว่าจะได้รับชําระหนี้สิ้นเชิง (มาตรา 244)
                          มาตรา 244“ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วงจะใช้สิทธิของตนแก่ทรัพย์สินทั้งหมดที่ยึดหน่วงไว้นั้นจนกว่า
                   จะช าระหนี้สิ้นเชิงก็ได้”

                          คําถาม หากสัญญาระบุค่าจ้างเป็นงวดๆ ตามงวดงานแยกออกจากกัน เช่น สั่งทําอาหารสําหรับ
                   การประชุมของคณะกรรมการรายเดือนโดยจะชําระค่าอาหารทุกสิ้นเดือน ผู้ทําอาหารไม่ส่งอาหารเดือน
                   สิงหาคมเพราะผู้สั่งอาหารไม่ชําระค่าอาหารงวดเดือนกรกฎาคมได้หรือไม่ (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่

                   4897/2544)
                          คําตอบ....................................................................................
                          คําถาม หากสัญญาระบุว่าต้องชําระค่าอาหารงวดก่อน ก่อนการส่งมอบอาหารงวดต่อไป กรณี

                   จะเป็นอย่างไร (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่ 178/2526)
                          คําตอบ....................................................................................

                          (2) เก็บดอกผลแห่งทรัพย์สินที่ยึดหน่วง




                                                             57
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62