Page 54 -
P. 54

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                   บรรพ 4 ในส่วนที่ว่าด้วยภารจํายอม ส่วนโจทก์ที่ 2 นั้นได้ความเพียงว่าเป็นผู้เช่าที่ดินจากโจทก์ที่  1 โดย
                   ไม่ปรากฏว่ามีนิติสัมพันธ์ใดๆ กับจําเลยที่ 1 ดังนั้น โจทก์ที่ 2 จึงไม่ใช่เจ้าหนี้ที่จะมีสิทธิฟูองให้จําเลยที่  1

                   และจําเลยที่ 2 เพิกถอนการฉ้อฉลได้เช่นกัน
                          กรณีไม่จําต้องเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษา (คําพิพากษาฎีกาที่  3726/2530) ไม่จําต้องใช้สิทธิ
                   ทางศาลแล้ว (คําพิพากษาฎีกาที่ 2269/2543) เป็นเพียงเจ้าหนี้ธรรมดาก็ได้

                          คําถาม เจ้าหนี้ตามคําพิพากษาเพิกถอนการฉ้อฉลได้หรือไม่

                          คําตอบ........................................................................................


                          (2) ลูกหนี้ท านิติกรรมที่มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สินในภายหลัง
                     - ต้องเป็นนิติกรรมตามมาตรา            149
                                 - ลูกหนี้ต้องเป็นผู้ทํานิติกรรม

                     - ต้องเป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นภายหลังหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้
                     - ต้องมีวัตถุแห่งสิทธิในทรัพย์สิน เช่น ลูกหนี้จดทะเบียนโอนที่ดินให้บุคคลภายนอก
                   เป็นต้น
                          คําพิพากษาฎีกาที่  3726/2530  จําเลยที่ 1  กู้เงินโจทก์ตามสัญญากู้ระบุเอาบ้านพิพาทเป็น

                   ประกัน ต่อมา จําเลยที่ 1 ไม่มีเงินชําระหนี้จึงตกลงจะไปจดทะเบียนโอนบ้านพิพาทแก่โจทก์แต่จําเลยที่
                   1 กลับทําสัญญาซื้อขายโอนทะเบียนบ้านพิพาทให้แก่จําเลยที่  2 นิติกรรมดังกล่าว จําเลยที่  1 กระทําลง
                   ทั้งรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ และจําเลยที่  2  ซื้อบ้านพิพาทจากจําเลยที่ 1  โดยไม่
                   สุจริต ดังนี้ โจทก์ย่อมฟูองขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลเสียได้ตามมาตรา 237

                          หากนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกฎหมาย หรือนิติกรรมอื่นที่มีผลเป็นโมฆะ ต้องฟูอง
                   เพิกถอนการฉ้อฉลหรือไม่นั้น ต้องตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 150 ว่าถือเป็นโมฆะอยู่แล้ว จึงไม่ต้องฟูอง
                   เพิกถอนการฉ้อฉล แต่สําหรับนิติกรรมที่ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินแต่มีผลกระทบกับกองทรัพย์สินของลูกหนี้
                   ในบางกรณีนั้น ก็ไม่อาจฟูองเพิกถอนการฉ้อฉลได้ เช่น ลูกหนี้จดทะเบียนรับรองบุตร การจดทะเบียน

                   หย่า เป็นต้น

                          (3) นิติกรรมนั้นท าให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เช่น การจําหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สิน การกู้ยืมเงิน การ

                   จํานอง การจํานํา การปลดหนี้ การจดทะเบียนให้เช่าอสังหาฯ เป็นต้น ในกรณีนี้ แม้หนี้ยังไม่ถึงกําหนด
                   เจ้าหนี้ก็ฟูองเพิกถอนได้
                          หากลูกหนี้ทํานิติกรรมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกองทรัพย์สินของลูกหนี้ ก็ย่อมไม่เป็นทางให้เจ้า
                   หนีเสียเปรียบอยู่เอง ดังนั้น เจ้าหนี้ก็ฟูองเพิกถอนไม่ได้ (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่  1868-9/2516) หรือ
                   หากทรัพย์ที่จํานองเพียงพอต่อการชําระหนี้ของเจ้าหนี้ผู้รับจํานอง ลูกหนี้ไปทํานิติกรรมอันทําให้เจ้าหนี้

                   เสียเปรียบ เจ้าหนี้ก็อาจฟูองเพิกถอนได้หากว่าทําให้เจ้าหนี้เสียเปรียบในทรัพย์สินนั้นๆ (โปรดดูคํา
                   พิพากษาฎีกาที่ 266/2537)


                          (4) ลูกหนี้รู้ว่าเป็นการท าให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
                          ลูกหนี้ต้องรู้ในขณะทํานิติกรรม








                                                             54
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59