Page 53 -
P. 53

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                          5.1.3 ข้อต่อสู้ของจ าเลย (ลูกหนี้ของลูกหนี้)
                          (1) ข้อต่อสู้ของตนเองต่อลูกหนี้ (เจ้าหนี้ของตน)

                          มาตรา 236 “จ าเลยมีข้อต่อสู้ลูกหนี้เดิมอยู่อย่างใดๆ ท่านว่าจะยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ได้ทั้งนั้น
                   เว้นแต่ข้อต่อสู้ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อฟ้องแล้ว”
                          (2) ข้อต่อสู้ลูกหนี้ต่อเจ้าหนี้
                          คําพิพากษาฎีกาที่ 5806/2534 โจทก์ฟูองขอใช้สิทธิเรียกร้องแทนบริษัท บาทโดยอ้างว่าก่อนที่

                   จําเลยจะพ้นจากการเป็นกรรมการบริษัท บ. นั้น จําเลยเบียดบังทรัพย์สินของบริษัท บ. ไปโดยทุจริต
                   บริหารงานหรือจัดการทรัพย์สินก่อให้เกิดความเสียหายซึ่งเท่ากับกล่าวอ้างว่าจําเลยกระทําละเมิดต่อ
                   บริษัท บ. ดังนั้น บริษัท บ. ชอบที่จะฟูองร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจําเลยได้ โจทก์เป็นเจ้าหนี้ของ
                   บริษัท บ. ชอบที่จะใช้สิทธิตามมาตรา  1169  ฟูองเรียกร้องบังคับเอาจากจําเลยแทนบริษัท บ. เท่าที่

                   โจทก์มีสิทธิเรียกร้องแก่บริษัท บ. อยู่

                          5.1.4 ผลของการใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้
                          เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชําระหนี้โดยตรง (มาตรา 235)


                          5.2 เพิกถอนการฉ้อฉล
                          5.2.1 หลักเกณฑ์การเพิกถอนการฉ้อฉล  (มาตรา 237)

                          มาตรา 237 “เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใดๆ อันลูกหนี้ได้
                   กระท าลงทั้งรู้อยู่ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏว่าในขณะที่
                   นิติกรรมนั้น บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้อง
                   เสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการท าให้โดยเสน่หา ท่านว่าเพียงแต่ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็
                   พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้

                           บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้ ท่านมิให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุเป็น
                   สิทธิในทรัพย์สิน”
                          หลักเกณฑ์

                                 (1) มีหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้
                           (      2) ลูกหนี้ทํานิติกรรมที่มีวัตถุเป็นสิทธิในทรัพย์สินในภายหลัง
                           (      3) นิติกรรมนั้นทําให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
                           (      4) ลูกหนี้รู้ว่าเป็นการทําให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ

                           (      5) หากมีผู้ได้ลาภงอก ผู้ได้ลาภงอกนั้นต้องรู้ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เว้นแต่เป็น
                   การให้โดยเสน่หา การรู้ของผู้ได้ลาภงอกไม่ใช่สาระสําคัญลูกหนี้รู้ฝุายเดียวก็เพียงพอ
                                 (6) เจ้าหนี้ต้องฟูองศาล


                    (      1) มีหนี้ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้
                          คําพิพากษาฎีกาที่  1400/2551  อํานาจฟูองขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตรา  237  เป็น
                   อํานาจของเจ้าหนี้ โจทก์ที่  1  อ้างว่าได้ภารจํายอมโดยอายุความในทางเดินผ่านที่ดินของจําเลยที่  1 อัน
                   เป็นการกล่าวอ้างว่าตนมีสิทธิในทรัพย์ของผู้อื่นในลักษณะของทรัพยสิทธิ เมื่อเป็นเรื่องของทรัพยสิทธิ

                   โจทก์ที่ 1  จึงไม่อาจฟูองขอให้เพิกถอนการฉ้อฉลตามมาตารา  237  แต่ต้องไปว่ากล่าวเอาตาม ป.พ.พ.





                                                             53
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58