Page 61 -
P. 61

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี





                          (3) สิทธิเรียกร้องที่ศาลยึดไม่ได้ (มาตรา 304) เช่น เงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้าง  สิทธิในการถอน
                   การวางทรัพย์ เป็นต้น

                          มาตรา 303 “สิทธิเรียกร้องนั้น ท่านว่าจะพึงโอนกันได้ เว้นแต่สภาพแห่งสิทธินั้นเองไม่เปิดช่อง
                   ให้โอนแก่กันได้

                          ความที่กล่าวมานี้ย่อมไม่ใช้บังคับ หากคู่กรณีได้แสดงเจตนาเป็นอย่างอื่น การแสดงเจตนาเช่นว่า
                   นั้น ท่านห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระท าการโดยสุจริต”

                          มาตรา 304 “สิทธิเรียกร้องเช่นใด ตามกฎหมายศาลจะสั่งยึดไม่ได้ สิทธิเรียกร้องเช่นว่านั้น ท่าน

                   ว่าจะโอนแก่กันหาได้ไม่”


                          8.3 การโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้อันพึงต้องช าระโดยเฉพาะเจาะจง
                          ต้องมีการโอนระหว่างเจ้าหนี้ (ผู้โอน) กับผู้รับโอน โดยต้องทําเป็นหนังสือ ไม่ทําไม่สมบูรณ์

                   เพียงลายมือชื่อของผู้โอนฝุายเดียวก็สมบูรณ์ (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่ 1893/2512 และ 4139/2532)
                   ไม่จําต้องบอกกล่าวแก่ลูกหนี้/ได้รับความยินยอม ของลูกหนี้ และยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือ

                   บุคคลภายนอกได้ต่อเมื่อ ได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้ยินยอมเป็นหนังสือด้วยในการโอน
                   (มาตรา 306 วรรคหนึ่ง)

                          เมื่อบอกกล่าวแล้ว มีผลผูกพันลูกหนี้ โดยลูกหนี้ไม่จําต้องให้ความยินยอม (โปรดดู

                   คําพิพากษาฎีกาที่ 5561-7/2530) ถ้าลูกหนี้ชําระหนี้ให้กับเจ้าหนี้เดิมก่อนการบอกกล่าวโดยชอบ ลูกหนี้
                   ก็หลุดพ้นจากหนี้ (มาตรา 306 วรรคสอง)

                          มาตรา 306 “การโอนหนี้อันจะพึงต้องช าระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะเจาะจงนั้น ถ้าไม่
                   ท าเป็นหนังสือ ท่านว่าไม่สมบูรณ์ อนึ่งการโอนหนี้นั้น ท่านว่าจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือ

                   บุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนนั้น ค า

                   บอกกล่าวหรือความยินยอมเช่นว่านี้ ท่านว่าต้องท าเป็นหนังสือ
                        ถ้าลูกหนี้ท าให้พอแก่ใจผู้โอนด้วยการใช้เงิน หรือด้วยประการอื่นเสียแต่ก่อนได้รับบอกกล่าว

                   หรือก่อนได้ตกลงให้โอนไซร้ ลูกหนี้นั้นก็เป็นอันหลุดพ้นจากหนี้”
                          เมื่อมีการบอกกล่าวโดยชอบแล้ว ผู้รับโอนเท่ากับเป็นเจ้าหนี้คนใหม่ เมื่อลูกหนี้ได้รับหนังสือบอก
                   กล่าว ต้องชําระหนี้ให้แก่ผู้รับโอน แต่ถ้าชําระให้ผู้โอน (เจ้าหนี้เดิม) หนี้จะไม่ระงับ ผู้รับโอนเรียกให้ชําระ

                   หนี้ได้

                    ถ้าลูกหนี้ยังไม่ได้ให้ความยินยอม ลูกหนี้ย่อมยกข้อต่อสู้ที่มีต่อเจ้าหนี้เดิม (ผู้โอน) ที่มีก่อนได้รับ
                   คําบอกกล่าว ขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ใหม่ (ผู้รับโอน) ได้ (มาตรา 308วรรคสอง) กล่าวคือ ลูกหนี้ไม่มีหน้าที่ต้อง
                   ชําระซ้ํา
                          มาตรา 308วรรคสอง “ถ้าลูกหนี้เป็นแต่ได้รับค าบอกกล่าวการโอน ท่านว่าลูกหนี้มีข้อต่อสู้ผู้โอน

                   ก่อนเวลาที่ได้รับค าบอกกล่าวนั้นฉันใด ก็จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้แก่ผู้รับโอนได้ฉันนั้น ถ้าลูกหนี้มีสิทธิ
                   เรียกร้องจากผู้โอน แต่สิทธินั้นยังไม่ถึงก าหนดในเวลาบอกกล่าวไซร้ ท่านว่าจะเอาสิทธิเรียกร้องนั้นมาหัก
                   กลบลบกันก็ได้ หากว่าสิทธินั้นจะได้ถึงก าหนดไม่ช้ากว่าเวลาถึงก าหนดแห่งสิทธิเรียกร้องอันได้โอนไป
                   นั้น”





                                                             61
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66