Page 63 -
P. 63
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เป็นหนังสือ
- ถ้าลูกหนี้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือโดยมิได้อิดเอื้อน (มาตรา 308 วรรคหนึ่ง)
- ถือว่าลูกหนี้ยอมสละข้อต่อสู้ที่เคยมีต่อเจ้าหนี้เดิม (ผู้โอน)
- ลูกหนี้ไม่อาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ใหม่ (ผู้รับโอน) ได้
- ถ้าลูกหนี้ได้ใช้หนี้ให้เจ้าหนี้เดิม (ผู้โอน) แล้ว ลูกหนี้มีสิทธิเรียกเงินคืนจากผู้โอนได้ หรือ
รับภาระเป็นหนี้ขึ้นใหม่ต่อผู้โอน ถือเสมือนว่าหนี้ไม่ได้ก่อขึ้น
- ถือเอาเฉพาะข้อต่อสู้ที่มีในขณะทําการโอนสิทธิเรียกร้องเท่านั้น (โปรดดูคําพิพากษาฎีกาที่
9206/2538) หากเป็นข้อต่อสู้ที่เกิดขึ้นหลังการโอนสิทธิเรียกร้อง ลูกหนี้ย่อมยกขึ้นต่อสู้ได้
มาตรา 308วรรคหนึ่ง “ถ้าลูกหนี้ได้ให้ความยินยอมดังกล่าวมาในมาตรา 306โดยมิได้อิดเอื้อน
ท่านว่าจะยกข้อต่อสู้ที่มีต่อผู้โอนขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนนั้นหาได้ไม่ แต่ถ้าเพื่อจะระงับหนี้นั้น ลูกหนี้ได้ใช้เงิน
ให้แก่ผู้โอนไปไซร้ ลูกหนี้จะเรียกคืนเงินนั้นก็ได้ หรือถ้าเพื่อการเช่นกล่าว มานั้น ลูกหนี้รับภาระเป็นหนี้
อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นใหม่ต่อผู้โอน จะถือเสมือนหนึ่งว่าหนี้นั้นมิได้ก่อขึ้นเลยก็ได้”
เจ้าหนี้เดิมให้ลูกหนี้กู้ 1 ลบ. ลูกหนี้ชําระหนี้เจ้าหนี้เดิม 50 ,000 บ.
เจ้าหนี้เดิมโอนสิทธิเรียกร้อง ลูกหนี้ยินยอม
ให้เจ้าหนี้ใหม่เป็นหนังสือ เป็นหนังสือโดยไม่อิดเอื้อน
คําถาม เจ้าหนี้ใหม่เรียกให้ลูกหนี้ชําระ 1 ล้านบาทให้ตนได้หรือไม่
คําตอบ ..............................................................................
คําถาม-ลูกหนี้อ้างชําระเจ้าหนี้เดิมแล้วบางส่วนได้หรือไม่
คําตอบ ..............................................................................
การอ้างสิทธิในการโอนสิทธิเรียกร้องต่างราย
มาตรา 307 “ถ้าพิพาทอ้างสิทธิในการโอนต่างราย โอนรายใดได้บอกกล่าวหรือตกลงกันก่อนโอ น
รายนั้นมีสิทธิดีกว่าโอนรายอื่นๆ”
8.4 การโอนสิทธิเรียกร้องในหนี้อันพึงต้องช าระตามเขาสั่ง
กรณีต้องมีตราสารแสดงสิทธิของเจ้าหนี้ ที่ทําให้ลูกหนี้ต้องชําระหนี้แก่ผู้ที่เจ้าหนี้สั่งให้ชําระ เช่น เช็ค
ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่ระบุชื่อผู้รับเงิน พร้อมกับคําว่า “หรือตามคําสั่ง” หรือ ใบตราส่ง หรือ ใบ
63