Page 118 -
P. 118
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานฉบับสมบูรณ์ กันยายน
โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๒๕๕๗
ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
ด้วยกันคือ หินแกรนิตยุคคาร์บอนนิเฟอรัส หินแกรนิตยุคไทรแอสซิก หินแกรนิตยุคค
รีเตเชียส และหินแกรนิตยุคเทอร์เชียรี หินแกรนิตยุคเก่าสองยุคส่วนมากจะมี
ความสัมพันธ์กับการก าเนิดแร่ต่าง ๆ เช่น แร่พลวง แร่เหล็ก แร่ตะกั่ว แร่สังกะสี และ
แร่ฟลูออไรต์ ส่วนหินแกรนิตยุคครีเตเชียสจะเป็นตัวน าแร่ดีบุกและทังสเตนขึ้นมา
(3) หินภูเขาไฟจ าพวกหินแอนดีไซต์ ไรโอไลต์ และทัฟฟ์ ตามอายุการเกิดสามารถแบ่ง
ออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ หินภูเขาไฟที่เกิดหลังยุคเพอร์เมียนแต่ก่อนยุคไทรแอสซิก
หินกลุ่มนี้จะแทรกดันขึ้นมารองรับอยู่ใต้ชั้นของหมู่หินล าปาง ส่วนหินภูเขาไฟที่เกิด
หลังยุคไทรแอสซิกถึงยุคเทอร์เชียรี จะแทรกดันผ่านหมู่หินโคราชขึ้นมา ส่วนใหญ่จะ
อยู่ตามขอบของที่ราบสูงโคราช
(4) หินบะซอลต์ยุคเทอร์เชียรี เกิดจากการแทรกดันขึ้นมาตามรอยแยกของแนวรอยเลื่อน
มีลักษณะเป็นแบบปะทุไหลและแทรกตัดผ่านเข้าไปในชั้นหินอื่นในรูปของพนัง
มีกระจายพบอยู่ที่อ าเภอเกาะคา จังหวัดล าปาง ขอบด้านตะวันตกและด้านใต้ของที่
ราบสูงโคราช บริเวณอ าเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี และบริเวณเขาพลอยแหวน
จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด
ลักษณะทางธรณีที่ส าคัญท าให้ภูเขาหลายแห่งมีความงดงาม มีคุณค่าและเอกลักษณ์ใน
ตัวเอง เช่น ภูผาเทิบ ภูผายล ภูทอก เป็นต้น รวมถึงเป็นแหล่งก าเนิดถ้ าและน้ าตกที่สวยงามอีกหลายแห่ง
2) ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิประเทศของไทยแบ่งออกได้เป็น 6 เขตดังนี้คือ
(1) เขตภูเขาและที่ราบระหว่างภูเขาภาคเหนือ ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของเขตนี้มีลักษณะ
เป็นทิวเขา ภูเขา หุบเขาและแอ่งแผ่นดินระหว่างภูเขา มีความสูงชันจากบริเวณ
ตะวันตกเฉียงเหนือ แล้วค่อย ๆ ลาดต่ าลงมาสู่ที่ราบต่ า บริเวณตะวันออกเฉียงใต้
และตอนกลางแล้วค่อย ๆ สูงขึ้นอีกทางบริเวณตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ
บริเวณที่สูงเหล่านี้นับเป็นแหล่งก าเนิดของแม่น้ าล าธารหลายสาย ที่ไหลลงสู่แม่น้ า
โขงทางด้านเหนือ ลงสู่แม่น้ าเจ้าพระยาทางด้านใต้และ ลงสู่ลุ่มน้ าสาละวินทาง
ตะวันตก หุบเขาและแอ่งแผ่นดินที่แม่น้ าเหล่านี้ไหลผ่าน จะเกิดที่ราบดินตะกอนที่
แม่น้ าไหลพามาทับถม เป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์เหมาะ ในการเพาะปลูกและการตั้ง
ถิ่นฐาน ท าให้กลายเป็นแหล่งชุมชนส าคัญของภาค
(2) เขตที่ราบภาคกลาง ได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ าตอนกลางและตอนล่างทั้งหมด
ภูมิประเทศของที่ราบภาคกลาง เป็นที่ราบดินตะกอนที่หนาและกว้างขวางมากที่สุด
ของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ราบดินตะกอนตอนล่าง มีบริเวณกว้างขวางมาก
แต่ในบริเวณที่ราบนี้ยังมีที่ราบลูกฟูกและภูเขาโดดเหลืออยู่ โดยเฉพาะอาจเป็นภูเขา
หินที่แข็งแกร่งหรือที่เคยเป็นเกาะมาก่อน สันนิษฐานว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของ ที่ราบภาค
กลางในอดีตเคยอยู่ใต้ระดับน้ าทะเลต่อมาระดับน้ าทะเลลดต่ าลง ประกอบกับพื้นดิน
5-26