Page 121 -
P. 121
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานฉบับสมบูรณ์ กันยายน
โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๒๕๕๗
ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
จึงมีส่วนช่วยในการเก็บกักคาร์บอนในดินเป็นอย่างดี อย่างไรก็ดี การบุกรุกท าลายป่า เปลี่ยนพื้นที่ป่าไม้บนภูเขา
เป็นการใช้ที่ดินอื่นๆ ย่อมมีผลให้เก็บกักคาร์บอนในดินลดลงไปด้วย
4) น้ าและภูมิอากาศ
น้ าและภูมิอากาศ เป็นปัจจัยส าคัญที่มีผลต่อระบบนิเวศและกระบวนการทางธรณีวิทยา
โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณน้ าฝน ความหนักเบาของฝน อุณหภูมิสูงสุด ต่ าสุด การปรับเปลี่ยนฤดูกาล ปริมาณ
น้ าท่า และคุณภาพน้ าในล าห้วยล าธาร
ความสัมพันธ์ระหว่างดิน น้ า และป่าไม้ ในพื้นที่ภูเขานั้นมีการศึกษามาช้านาน การศึกษาวิจัย
ในประเทศไทยนั้นพบว่า ป่าดิบเขาซึ่งส่วนใหญ่เป็นป่าที่ปกคลุมภูเขาสูงทางภาคเหนือของประเทศนั้น มีศักยภาพ
ในการให้น้ าท่าที่ไหลลงมาตามล าธารในแต่ละปีประมาณร้อยละ 65 ของปริมาณฝนที่ตกทั้งปี หรือประมาณ 1.3
ล้าน ลบ.ม./ตร.กม. โดยจะมีสัดส่วนเป็นน้ าที่ไหลในฤดูฝนประมาณร้อยละ 70 ของน้ าท่าทั้งหมด ส่วนที่เหลืออีก
ประมาณร้อยละ 30 จะไหลในช่วงฤดูแล้ง นับว่าเป็นพื้นที่ต้นน้ าล าธารที่มีคุณภาพยอดเยี่ยม เนื่องจากในพื้นที่ลุ่ม
น้ าที่มีป่าชนิดอื่นปกคลุมจะมีศักยภาพในการให้น้ าท่าไม่ถึงร้อยละ 40 และจะไหลในช่วงฤดูฝนมากกว่าร้อยละ
80-90 ส่วนที่เหลือไหลอยู่ในฤดูแล้งจะมีเพียงร้อยละ 10-20 เท่านั้น ส่วนในพื้นที่ลุ่มน้ าที่ใช้ท าเกษตรกรรมโดยไม่
มีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ า จะมีน้ าเหลือไหลอยู่ในฤดูแล้งน้อยมาก (เพิ่มศักดิ์, 2522; TFSMP, 1993)
ความสามารถของป่าต้นน้ าล าธารในการป้องกันมิให้ดินถูกชะล้างนั้นมีมหาศาล ซึ่ง TFSMP (1993) ได้สรุปผล
การศึกษาในประเทศไทยไว้ว่า ป่าต้นน้ าล าธารนั้น ถ้าอยู่ในสภาพธรรมชาติ แม้ว่าจะมีฝนตกหนัก หน้าดินก็จะถูก
กัดชะไปไม่เกิน 0.16 ตัน/ไร่ แต่ถ้าปล่อยให้เกิดไฟไหม้แล้ว จะมีการสูญเสียหน้าดินเพิ่มขึ้นถึง 10 เท่าตัว ดังนั้น
การเปลี่ยนพื้นที่ป่าดังกล่าวไปท าไร่ข้าวโพด ปลูกถั่ว หรือข้าวไร่ท าให้การพังทลายของดินเพิ่มขึ้นมากกว่าในป่า
ดั้งเดิมตั้งแต่ 15-100 เท่าตัว อย่างไรก็ตาม การใช้ระบบวนเกษตรซึ่งเป็นการปลูกผสมระหว่างพืชเกษตรกับป่าไม้
จะช่วยลดการสูญเสียหน้าดินได้เป็นอย่างดี การใช้มาตราการอนุรักษ์ดินและน้ า เช่น การปลูกข้าวบนขั้นบันไดดิน
อย่างที่เผ่ากะเหรี่ยงใช้ หรือการปลูกพืชสลับแถบหญ้า ช่วยลดการสูญเสียหน้าดินลงมาเหลือ 3-5 เท่า ของการ
สูญเสียหน้าดินจากพื้นที่ป่าไม้
จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของระบบนิเวศภูเขาดอยสุเทพ-ปุย ซึ่งได้รับข้อมูล
จากสถานีตรวจวัดอากาศต าบลดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างปี พ.ศ. 2518-2552 พบว่าคาบของอุณหภูมิ
ในรอบ 10 ปี มีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น และในขณะเดียวกันปริมาณน้ าฝนก็เปลี่ยนแปลงมีแนวโน้มลดต่ ากว่าค่าเฉลี่ยรายปี
มาก โดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ. 2540-2542 ซึ่งเป็นช่วงปรากฎการณ์เอลนิลโน ทั้งนี้ จากรายงานของ
กรมอุตุนิยมวิทยา (2553) ซึ่งใช้แบบจ าลอง PRECIS (Providing Regional Climates for Impact Studies)
ซึ่งคาดคะเนการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและปริมาณน้ าฝนในอนาคต พบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด และอุณหภูมิ
เฉลี่ยต่ าสุดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทศวรรษที่ 21 (ค.ศ. 2091-2100) โดยอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดมีแนวโน้มสูงกว่าเดิม
ประมาณ 4-5 องศาเซลเซียส ในขณะที่ปริมาณน้ าฝนกลับมีแนวโน้มลดลงโดยเฉพาะช่วงหน้าแล้ง หรือกล่าวได้ว่า
มีความแห้งแล้งเพิ่มมากขึ้น (ส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และศูนย์วิจัยป่าไม้
คณะวนศาสตร์, 2556)
5-29