Page 117 -
P. 117

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                            รายงานฉบับสมบูรณ์   กันยายน
                                  โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
                                                                                             ๒๕๕๗
                    ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา


                                 (4)  หินมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic Rocks) เป็นหินที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอน
                                     ในแอ่งย่อยที่แยกจากกัน ท าให้ลักษณะชั้นหินปรากฏแตกต่างในแต่ละบริเวณ แอ่ง

                                     ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนี้เกิดจากกระบวนการทางเทคโทนิคในช่วงปลายยุคครีเตเชียส –
                                     เทอร์เชียรีถึงปัจจุบัน ดังนั้นจึงสามารถแบ่งหินในมหายุคนี้ออกเป็น 2 หมู่หินตามอายุ

                                     ดังนี้
                                     -  หมู่หินกระบี่ ยุคเทอร์เชียรี (Tertiary)  เป็นหมู่หินที่เกิดจากตะกอนกรวดทราย
                                       และดินเหนียวที่ถูกกระแสน้ าพัดพามาสะสมตัวตามหนอง บึง หรือทะเลสาบใน

                                       บริเวณที่ราบลุ่มหรือแอ่งแผ่นดินระหว่างภูเขา ประกอบขึ้นเป็นชั้นหินดินดาน
                                       หินทราย ชั้นดินมาร์ล ชั้นหินน้ ามัน ชั้นหินปูน และชั้นถ่านหินลิกไนต์ ชั้นหิน

                                       เหล่านี้มีซากดึกด าบรรพ์ ได้แก่ ใบไม้ ต้นไม้ ปลา หอย ซึ่งมีอายุประมาณยุคเทอร์
                                       เชียรี หมู่หินกระบี่ที่สะสมอยู่ในบริเวณแอ่งแผ่นดินทางภาคเหนือ ภาคใต้ และที่

                                       ราบลุ่มเจ้าพระยา ภาคเหนือ เป็นแอ่งระหว่างภูเขาที่มีลักษณะเป็นแนวยาว อยู่ใน
                                       ทิศทางประมาณเหนือ-ใต้ แอ่งที่ส าคัญ ได้แก่ แอ่งลี้ แอ่งล าปาง แอ่งฝาง แอ่งแม่

                                       เมาะ แอ่งเชียงราย แอ่งเชียงใหม่ แอ่งแพร่ แอ่งแม่สอด แอ่งต่าง ๆ ในภาคเหนือ
                                       จะพบชั้นหินน้ ามัน ชั้นถ่านหิน ลิกไนต์สะสมอยู่ในหมู่หินนี้ ภาคใต้ ได้แก่
                                       แอ่งกระบี่ และแอ่งสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย หินปูน หินโคลน หินดินดาน และ

                                       ชั้นถ่านหิน ที่ราบลุ่มภาคกลาง ชั้นหินประกอบด้วยหินทราย หินดินดาน และ

                                       ชั้นดินเหนียวทับถมสลับกันมีความหนาประมาณ 5,000 เมตร ชั้นบนของหิน
                                       เหล่านี้จะปกคลุมปิดทับด้วยตะกอนกรวด ทราย โคลนของตะกอน
                                       ยุคควอเทอร์นารี


                                     -  ชั้นตะกอนยุคควอเทอร์นารี (Quaternary  deposits)  เป็นตะกอนที่เกิดจาก
                                       กระแสน้ าพัดพาเอากรวด หิน ดิน ทราย และโคลนตม ซากพืชและซากสัตว์มา
                                       สะสมอยู่ตามพื้นที่ราบลุ่มและตามบริเวณชายฝั่งทะเล ส าหรับตะกอนที่สะสมอยู่

                                       ตามเชิงเขา และบริเวณที่ราบลุ่มในทางตะวันตกและภาคใต้ของไทย


                                  หินอัคนี
                                   (1)  หินเมฟิกและอุลตราเมฟิก ยุคคาร์บอนนิเฟอรัส ประกอบด้วยหินไดออไรต์ หินแกบ-

                                     โบร และหินไพรอกซีไนต์ หินเหล่านี้มีเนื้อหยาบ บางบริเวณปรากฏเป็นดอกของผลึก
                                     แร่ ประกอบหินสีเข้มถึงด าและเขียว หินเหล่านี้เกิดการแทรกดันขึ้นมาในยุคคาร์บอน

                                     นิเฟอรัส บริเวณที่พบได้แก่ จังหวัดเชียงราย อุตรดิตถ์ อ าเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
                                     อ าเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนราธิวาส

                                 (2)  หินแกรนิต ยุคคาร์บอนนิเฟอรัส – ยุคเทอร์เชียรี เป็นหินอัคนีที่แทรกดันขึ้นมาเย็นตัว

                                     ภายใต้ผิวเปลือกโลก ที่พบในประเทศไทยหินแกรนิตที่แทรกดันขึ้นมามีหลายยุค




                                                         5-25
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122