Page 122 -
P. 122
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานฉบับสมบูรณ์ กันยายน
โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๒๕๕๗
ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
5.1.2 ด้านชีวภาพ
คุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ส าคัญด้านชีวภาพของแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขาเกี่ยวข้องกับพืชพรรณ
และสัตว์ป่า ทั้งนี้ ป่าไม้มีบทบาทส าคัญในการเป็นแหล่งกักเก็บและสะสมคาร์บอนในรูปของมวลชีวภาพ การกัก
เก็บคาร์บอนในมวลชีวภาพของป่าธรรมชาติมีผลมีความผันแปรขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ชนิดป่า ชนิดพรรณไม้
ที่เป็นองค์ประกอบของป่า ความหนาแน่นของป่า สภาพภูมิประเทศ และปัจจัยสิ่งแวดล้อม จากรายงานของ
IPCC (2006) พบว่า มวลชีวภาพเหนือพื้นดินของป่าดิบชื้นในภาคพื้นทวีปของภูมิภาคเอเซียมีความผันแปร
ระหว่าง 280-520 ตันต่อเฮกแตร์ (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 350 ตันต่อเฮกแตร์) จากการรวบรวมข้อมูลการกักเก็บ
คาร์บอนในมวลชีวภาพของป่าไม่ผลัดใบในประเทศไทย ได้แก่ ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา และป่าสนเขา
ในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย พบว่า มีความผันแปรมากขึ้นอยู่กับมวลชีวภาพของป่าเป็นส าคัญ โดยป่า
ธรรมชาติที่มีความสมบูรณ์ มีความหนาแน่นของไม้ขนาดใหญ่จ านวนมาก ท าให้มีมวลชีวภาพและการกักเก็บ
คาร์บอนในมวลชีวภาพสูง นอกจากนั้น ป่าไม้ยังช่วยดูดซับน้ าฝน มีผลต่อการชะลอน้ า ไม่ให้เกิดน้ าท่วม
การกัดเซาะหน้าดิน และมีผลต่อปริมาณน้ าในล าห้วย
แหล่งธรรมชาติประเภทภูเขาพบประเภทป่าไม้ทั้งป่าผลัดใบและป่าไม่ผลัดใบ ส่วนใหญ่จะพบป่า
ไม่ผลัดใบ เช่น ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณในพื้นที่เชิงเขา และป่าไม่ผลัดใบ เช่น ป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้งบริเวณ
ริมล าห้วย ส่วนป่าดิบเขาพบในระดับความสูงจากน้ าทะเลปานกลางมากกว่า 800 เมตรขึ้นไป รายละเอียด
ประเภทป่าไม้ต่างๆ ที่พบในแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขาสรุปได้ดังนี้
1) พืชพรรณ จากการส ารวจแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขา สังคมพืชที่พบแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
ได้แก่ ป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen Forest) และป่าผลัดใบ (Deciduous Forest) ประเภทต่างๆ ดังนี้
(ปานทิพย์, 2554)
(1) ป่าไม่ผลัดใบ (Evergreen Forest)
- ป่าดิบชื้น (Moist Evergreen Forest) ส่วนใหญ่พบทางภาคใต้และภาคตะวันออก
บริเวณจังหวัดระยอง ตราด จันทบุรี เป็นพื้นที่ที่มีปริมาณฝนตกมากกว่า 2,000
มิลลิเมตรต่อปี และตกติดต่อกันเป็นเวลานาน นอกจากนี้บริเวณดังกล่าวยังเป็นพื้นที่ที่
มีความ สูงไม่เกิน 600 เมตร เหนือระดับน้ าทะเลปานกลาง ดินมีลักษณะร่วนและมี
การระบายน้ าดี โดยทั่วไปแล้วจะพบป่าดิบชื้นกระจายอยู่ตามบริเวณหุบเขา ริมแม่น้ า
ล าธาร และแหล่งน้ าต่าง ๆ ลักษณะของป่าดิบชื้น มักเป็นป่ารกทึบ ประกอบด้วยพันธุ์
ไม้ครบทุกระดับชั้น ต้นไม้ในป่าดิบชื้นมีลักษณะเปราตรง ล าต้นขนาดใหญ่ มีความสูง
30-40 เมตร ป่าดิบชื้น พบได้อีกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ในบริเวณ
ที่มีความสูงระหว่าง 600-900 เมตร เหนือระดับน้ าทะเลปานกลาง แต่มีปริมาณน้ าฝน
ค่อนข้างน้อย และดินต้องมีความสามารถในการเก็บกักน้ าและความชื้นได้ดี โครงสร้าง
ของพันธุ์ไม้ป่าดิบชื้นในพื้นที่ดังกล่าวนี้จะมีลักษณะที่แตกต่างจากป่าดิบชื้นในภาคใต้
และภาคตะวันออก เรียกว่าป่าดิบชื้นระดับสูง (Upper Tropical Rain Forest) เช่น
5-30