Page 124 -
P. 124

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                            รายงานฉบับสมบูรณ์   กันยายน
                                  โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
                                                                                             ๒๕๕๗
                    ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา


                              (2)  ป่าผลัดใบ (Deciduous Forest)

                                  -  ป่าเบญจพรรณ ป่าผสมผลัดใบ (Mixed Deciduous Forest) เป็นป่าผลัดใบที่มีพันธุ์
                                    ไม้หลายชนิดขึ้นปะปนกันเป็นไม้เด่นในพื้นที่ลักษณะโดยทั่วไปของป่าเบญจพรรณ

                                    มักเป็นป่าโปร่ง ดินเป็นดินร่วนลึกและอาจจะมีหินโผล่เป็นแห่ง ๆ ระดับความสูงของ
                                    พื้นที่ป่าเบญจพรรณอยู่ระหว่าง 50-800 เมตร เหนือระดับน้ าทะเลปานกลาง ปริมาณ

                                    น้ าฝนเฉลี่ยรายปีต่ ากว่า  1,600  มิลลิเมตรต่อปี  และมีการแบ่งฤดูกาลเป็น  3  ฤดู
                                    อย่างชัดเจน โดยมีช่วงแห้งแล้งนานกว่า 3 เดือนในแต่ละปี ซึ่งท าให้พื้นที่ที่ภูมิอากาศ

                                    ค่อนข้างแห้งแล้ง พันธุ์ไม้จึงต้องปรับตัวด้วยการผลัดใบทิ้งในช่วงฤดูแล้ง ส าหรับ
                                    ประเทศไทยนั้นป่าเบญจพรรณ พบกระจัดกระจายทั่วไปในแทบทุกภาคของประเทศ
                                    ยกเว้นภาคใต้

                                     -  ป่าเต็งรัง ป่าแพะ ป่าโคก ป่าแดง (Deciduous Dipterocarp Forest) เป็นป่าผลัดใบ

                                    ที่มีองค์ประกอบของพันธุ์ไม้ 3 ระดับชั้น โดยขึ้นกระจัดกระจายสลับไปกับป่า
                                    เบญจพรรณ ที่ระดับความสูงเหนือระดับน้ าทะเลปานกลาง ระหว่าง 100-1,000 เมตร
                                    แพร่กระจายตั้งแต่จังหวัดเพชรบุรีไปตามเทือกเขาด้านทิศตะวันตกของประเทศไป

                                    จนถึงจังหวัดเชียงราย  แต่มีการแพร่กระจายมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือใน
                                    บริเวณที่ราบสูงและที่ภูเขาสูง ดินเป็นดินทรายและดินลูกรังมีสีค่อนข้างแดง

                                    และมีลักษณะแห้งแล้ง  พันธุ์ไม้ขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง  พื้นป่าไม่รกทึบ  แต่จะมี
                                    พันธุ์ไม้จ าพวกหญ้าชนิดต่างๆ  พันธุ์ไม้เด่นในป่าเต็งรัง  ประกอบด้วยเต็ง รัง  เหียง

                                    พลวง ยาง


                              จากการส ารวจแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขา พบพืชพรรณที่มีสถานภาพด้านการอนุรักษ์
               ดังตัวอย่างในตารางที่ 5-7























                                                         5-32
   119   120   121   122   123   124   125   126   127   128   129