Page 129 -
P. 129

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                            รายงานฉบับสมบูรณ์   กันยายน
                                  โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
                                                                                             ๒๕๕๗
                    ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา


                               เป็นหลัก จะตั้งถิ่นฐานในพื้นนาลุ่มบนที่สูง เช่น ปกากะญอ และชาติพันธุ์ที่เน้นระบบ
                               การผลิตที่มีพืชผักไม้ผลเชิงพาณิชย์บนพื้นที่สูง ลาดชัน หรือบริเวณไหล่เขา ได้แก่ ชุมชนม้ง

                               เป็นต้น ส าหรับจีนฮ่อจะเน้นระบบการผลิตพืชผัก ไม้ผล และชา  ท าให้เกิดการใช้ประโยชน์
                               ภูเขาหรือการบุกรุกพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม

                           5)   แหล่งปฏิบัติธรรม ในประเภทของแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขา มีหลายแหล่งที่มีการพัฒนา

                               และใช้ประโยชน์พื้นที่ โดยการสร้างวัด สถานปฏิบัติธรรม เนื่องจากความเงียบสงบและความ
                               เชื่อต่างๆ ภัยคุกคามคือการสร้างอาคาร โครงสร้างพื้นฐาน ท าให้เกิดการพัฒนาและ

                               ใช้ประโยชน์ในพื้นที่

                           6)   ใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น การหาของป่า เลี้ยงสัตว์ ซึ่งพบเกือบทุกแหล่งฯ เว้นแต่แหล่งธรรมชาติ
                               ประเภทภูเขานั้นจะอยู่ในพื้นที่การดูแลของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และ

                               พันธุ์พืช


                       5.5.4  ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขา


                            การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วยมีแนวโน้มที่จะมีผลต่อแหล่ง
               ธรรมชาติประเภทภูเขา ในด้านการเปลี่ยนแปลงความสมบูรณ์ของระบบนิเวศในแหล่งธรรมชาติภูเขา เช่น ส่งผล

               ต่อการสืบต่อพันธุ์ของชนิดพันธุ์พืช โดยเฉพาะบริเวณแนวรอยต่อของป่าผลัดใบและป่าไม่ผลัดใบ โดยมีแนวโน้มที่
               ชนิดพันธุ์ของป่าไม่ผลัดใบจะรุกเข้าไปสู่บริเวณที่เป็นป่าผลัดใบ เพราะสามารถทนอากาศแห้งแล้งได้ดีกว่า
               คนในท้องถิ่นยังรายงานว่ากล้วยไม้ศรีประจิมที่ดอยหัวหมด จังหวัดตาก ตายเพราะอุณหภูมิสูงขึ้นและก าลังจะ

               หมดไปจากในพื้นที่  นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังส่งผลต่อการออกดอกออกผลของพืช
               ยกตัวอย่างเช่น นางพญาเสือโคร่ง ซึ่งเป็นพืชที่ขึ้นได้ดีในบริเวณที่มีอากาศเย็น จะติดดอกเป็นปริมาณมากในช่วง

               ที่มีอากาศหนาวเย็นอย่างต่อเนื่อง เมื่ออุณหภูมิอากาศสูงขึ้นจะมีผลต่อการติดดอกของนางพญาเสือโคร่งน้อยลง
               ซึ่งส่งผลถึงการท่องเที่ยวที่มีจุดขายจากการออกดอกของนางพญาเสือโคร่ง และเศรษฐกิจของท้องถิ่นที่พึ่งพิง

               รายได้จากการท่องเที่ยว

                              การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อสัตว์ป่าและถิ่นที่อาศัยของสัตว์ป่า โดยเฉพาะชนิด
               พันธุ์ต้องการความหนาวเย็นในการด ารงชีวิตและสืบต่อพันธุ์ ยกตัวอย่างเช่น ในบริเวณดอยสุเทพ-ปุย กระรอก

               บินแก้มขาว และตุ่น เนื่องจากเป็นสัตว์ป่าที่ต้องการอุณหภูมิหนาวเย็นในการดูแลลูกน้อย ไก่ฟ้าหลังขาว นกขมิ้น
               แดง นกนิลตวาใหญ่ นกกางเขนน้ าหลังเทา นกกางเขนน้ าหัวขาว เป็นต้น อุณหภูมิที่สูงขึ้นอาจมีผลต่อการฟักไข่

               ของนก (ส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และศูนย์วิจัยป่าไม้, 2556)

                              การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลต่อปริมาณน้ าท่า (น้ าในล าห้วยล าธาร) ระยะเวลา
               การไหล น้ าท่วมฉับพลัน และภัยแล้ง ซึ่งปัจจัยส าคัญที่ส่งผลกระทบคือ ปริมาณน้ าฝนและการคายระเหยของน้ า

               ซึ่งการศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อปริมาณน้ าท่าที่ไหลลงสูงเขื่อนภูมิพลโดยใช้ค่า
               ตัวแปรสภาพภูมิอากาศจากแบบจ าลอง CCAM ร่วมกับแบบจ าลองอุทกวิทยาที่เรียกว่า VIC (Variable




                                                         5-37
   124   125   126   127   128   129   130   131   132   133   134