Page 134 -
P. 134

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                            รายงานฉบับสมบูรณ์   กันยายน
                                  โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
                                                                                             ๒๕๕๗
                    ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา



               ประโยชน์ในการตัดสินใจในการด าเนินกิจกรรมต่างๆที่เหมาะสมส าหรับการตั้งรับ ปรับตัว และป้องกันผลกระทบ
               ที่อาจเกิดขึ้นต่อแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขาได้ต่อไป



               6.2  ความหมายและหลักการของการก าหนดเกณฑ์การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

                       เกณฑ์การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา หมายถึง ค่าเกณฑ์ที่แสดงถึงคุณภาพของ
               สภาวะแวดล้อม ภายใต้แนวคิดที่ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้ระดับที่ยอมรับหรือ

               ก าหนดขึ้น อันจะไม่ท าให้เกิดความเสื่อมโทรมของแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขานั้นๆ ค่าเกณฑ์ดังกล่าว
               จัดแบ่งเป็นกลุ่มเพื่อแสดงถึงคุณภาพของสภาวะแวดล้อมด้านต่างๆ ดังนี้


                          -  เกณฑ์ของแหล่งภูเขาด้านองค์ประกอบของระบบนิเวศ/สิ่งแวดล้อม

                          -  เกณฑ์ของแหล่งภูเขาด้านองค์ประกอบภูมิสถาปัตยกรรมและสถาปัตยกรรม

                          -  เกณฑ์ของแหล่งภูเขาด้านผลผลิตจากการบริการสิ่งแวดล้อมของแหล่งภูเขา

                          -  เกณฑ์ของแหล่งภูเขาด้านการบริหารจัดการ


               6.3  หลักการเปลี่ยนแปลงที่ยอมรับได้ (Limits of Acceptable Change, LAC)


                       หลักการเปลี่ยนแปลงที่ยอมรับได้ หรือ “The Limits of Acceptable Change (LAC)” พัฒนาโดย
               หน่วยงาน USDA Forest Service (Stankey, 1985) หมายถึง ค่าสูงสุดของการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็น
               ที่ยอมรับร่วมกันของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย โดยมีเป้าหมายในการรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมให้มีการใช้ประโยชน์อย่าง

               ยั่งยืนและอยู่ในสภาพที่ไม่เสื่อมโทรม (ระดับของผลกระทบที่ไม่เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ) การศึกษาปัจจัยชี้วัด
               คุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา ใช้หลักการและแนวคิดจาก “The Limits of Acceptable Change

               (LAC)” อันเป็นแนวคิดที่สามารถประยุกต์ใช้ในการจัดการเพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ธรรมชาติต่างๆ
               แนวคิดนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการตัดสินใจว่าการเปลี่ยนแปลงจากสภาพธรรมชาติ และ/หรือ ผลกระทบที่เกิดขึ้น

               จากการกระท าของมนุษย์ที่วัดหรือสังเกตได้นั้นยังอยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่ ถ้าหากระดับของ
               การเปลี่ยนแปลงหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นเกินกว่าที่ก าหนดไว้เป็นเกณฑ์ ก็หมายถึงแหล่งธรรมชาตินั้นมีการใช้

               ประโยชน์ที่เกินค่าเกณฑ์คุณภาพของสิ่งแวดล้อมธรรมชาติไปแล้ว จ าเป็นต้องมีมาตรการในการจัดการ
               เพื่อควบคุมหรือลดผลกระทบดังกล่าวให้อยู่ภายใต้เกณฑ์ที่ก าหนด

                       การประยุกต์หลักการนี้ในการก าหนดเกณฑ์การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาตินั้น ผู้ศึกษาจะต้อง

               เริ่มต้นจากการก าหนดเป้าหมายที่ต้องการส าหรับแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขาเสียก่อน แล้วจึงก าหนดปัจจัยชี้วัด
               คุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการวัดระดับของผลกระทบที่มีผลต่อคุณภาพของสิ่งแวดล้อมและคุณค่าความส าคัญ

               ทางวิชาการ แล้วจึงก าหนดเกณฑ์เพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นตามปัจจัยชี้วัดนั้นยังอยู่ในระดับที่
               ยอมรับได้หรือไม่








                                                         6-2
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139