Page 137 -
P. 137
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานฉบับสมบูรณ์ กันยายน
โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๒๕๕๗
ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
โมเดลในลักษณะเช่นนี้ สามารถช่วยให้นักจัดการพื้นที่ทราบว่าแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขามีผลกระทบ
ใดบ้างที่เกินค่าเกณฑ์ที่ก าหนดไว้ หรือก าลังมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น หรือเป็นระดับการใช้ประโยชน์ที่ก่อให้เกิด
ผลกระทบในระดับต่ าที่ยังยอมรับได้ ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลในการพิจารณาก าหนดมาตรการในการจัดการแก้ไข
ผลกระทบดังกล่าวต่อไป
การก าหนดค่าเกณฑ์และระบบการประเมินผลกระทบโดยใช้โมเดลดังกล่าว ยังสามารถให้รายละเอียด
ถึงประเภท ลักษณะของผลกระทบ ระดับความรุนแรงของผลกระทบ เมื่อเปรียบเทียบกับความสามารถของ
ระบบในการรองรับผลกระทบดังกล่าว จุดที่เกิดผลกระทบ และแนวโน้มในอนาคต หากมีการวางแผนเก็บ
รวบรวมข้อมูลอย่างต่อเนื่อง
6.4 หลักเกณฑ์การก าหนดปัจจัยประเมินผลกระทบ
การก าหนดปัจจัยชี้วัดผลกระทบ เพื่อจัดท าเกณฑ์การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1) ปัจจัยชี้วัดส าหรับการติดตามประเมินผลกระทบควรเป็นปัจจัยที่เน้นการวัดถึงผลกระทบที่ส่งผลต่อ
ระบบนิเวศและการใช้ประโยชน์แหล่งภูเขา
2) ควรเป็นปัจจัยที่ง่ายต่อการวัดส าหรับการติดตามและประเมินผล
3) หน่วยในการวัดส าหรับแต่ละปัจจัยต้องสามารถด าเนินการเปรียบเทียบกันได้ทุกครั้ง ไม่ว่าจะเป็น
การวัดในช่วงเวลาใด เพื่อจัดล าดับขนาดความรุนแรงและทิศทางของผลกระทบได้
4) ไม่ควรก าหนดปัจจัยในการติดตามและประเมินผลที่มากจนเกินไป หรือมีรายละเอียดที่ยุ่งยาก
สลับซับซ้อน ควรเลือกปัจจัยส าคัญที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการอนุรักษ์คุณค่าของแหล่งภูเขา การด าเนินการ
ควรอยู่ภายใต้ความสามารถของทรัพยากรการบริหารจัดการเพื่อให้ด าเนินการได้อย่างต่อเนื่อง เช่น งบประมาณ
บุคลากร อุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น
5) วิธีการประเมินที่เลือกใช้ ควรเป็นวิธีการที่เป็นที่ยอมรับตามหลักวิชาการและให้ผลถูกต้องน่าเชื่อถือ
6) ควรเลือกด าเนินการติดตามและประเมินผลกระทบในบริเวณที่มีแนวโน้มของปัญหาผลกระทบจาก
การใช้ประโยชน์แหล่งภูเขาที่ค่อนข้างรุนแรง เช่น ในบริเวณที่มีการพัฒนาและใช้ประโยชน์อย่างเข้มข้น ซึ่งอาจ
เกินขีดความสามารถของพื้นที่ในการรองรับการใช้ประโยชน์ได้ หรือบริเวณที่มีความอ่อนไหวเปราะบางทางนิเวศ
เช่น มีพืชหรือสัตว์หายาก (endangered species) หรือก าลังถูกคุกคาม (threatened species) หรือบริเวณที่มี
การเปลี่ยนแปลงสภาพอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากการพัฒนา หรือบริเวณที่อ่อนไหวต่อผลกระทบจากการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นต้น
7) ควรสนับสนุนให้ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ประชาชนท้องถิ่น เข้าร่วมในการประเมินและติดตามผลด้วย
เพื่อให้เกิดความร่วมมือและความตระหนักในสถานภาพของแหล่งภูเขา
6-5