Page 136 -
P. 136
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานฉบับสมบูรณ์ กันยายน
โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๒๕๕๗
ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
ส าหรับการก าหนดเกณฑ์การรักษาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขาโดยใช้หลักการ LAC ต้อง
ท าการศึกษาว่า มีกิจกรรมใดบ้าง ณ แหล่งธรรมชาติและบริเวณโดยรอบ ที่จะส่งผลกระทบต่อแหล่งธรรมชาติ
และส่งผลกระทบด้านใดบ้างโดยเฉพาะต่อเป้าการอนุรักษ์ของแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขา เพื่อน าไปพิจารณา
ก าหนดปัจจัยชี้วัดผลกระทบ พร้อมกันนี้ ยังต้องมีการก าหนดเกณฑ์มาตรฐานว่าผลกระทบรุนแรงขนาดใดเป็น
ค่าสูงสุดที่ยอมให้เกิดขึ้น หรือ ที่เรียกว่า ค่าวิกฤติ (threshold level) ซึ่งหมายถึงว่า ถ้าผลกระทบมีค่าสูงไปกว่า
นี้เมื่อใด จะก่อให้เกิดผลเสียหายหรือเป็นอันตรายต่อระบบนิเวศของแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขา
เนื่องจากการอนุรักษ์แหล่งภูเขาจ าเป็นต้องตอบสนองวัตถุประสงค์ของการสงวนรักษาและการใช้
ประโยชน์อย่างยั่งยืน ดังนั้นจึงน าแนวคิดเรื่องระดับของการเปลี่ยนแปลงที่ยอมรับได้ (Limits of Acceptable
Change, LAC) มาใช้ในการก าหนดเกณฑ์การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติ ซึ่งหลักการส าคัญก็
คือ การใช้ประโยชน์แหล่งภูเขาย่อมมีโอกาสท าให้เกิดผลกระทบหรือการเปลี่ยนแปลงต่อทรัพยากร แต่ต้องมีการ
ก าหนดว่า ในแหล่งแต่ละแห่งที่เปิดให้มีการใช้ประโยชน์นั้น ระดับของขีดความสามารถในการรองรับการใช้
ประโยชน์สูงสุดควรเป็นเท่าไร โดยก าหนดจากระดับของผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ยอมรับให้เกิดขึ้นได้
ภายใต้หลักการที่จะต้องไม่ท าลายหรือเปลี่ยนแปลงธรรมชาติจนหมดสภาพไป หรือธรรมชาติไม่สามารถฟื้นฟูได้
ด้วยตัวเองในระยะเวลาที่เหมาะสม
การประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขานี้ สามารถน าเสนอโดยโมเดลการประเมิน
คุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ จากแนวคิด Limits of Acceptable Change โดยก าหนดตัวแปรต่างๆ ที่ชี้วัด
ระดับผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ เพื่อบ่งชี้ว่าการใช้ประโยชน์ดังกล่าวนั้น อยู่ในภาวะที่เกิน
ขีดความสามารถในการรองรับได้ในด้านต่างๆ หรือไม่ อย่างไร ดังแสดงในตารางที่ 6-1
ตารางที่ 6-1 โมเดลการวิเคราะห์ผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เพื่อประเมินคุณภาพของสิ่งแวดล้อมในแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขา
ปัจจัยชี้วัดผลกระทบ (IPi): .............................................................................................................
หน่วยวัด: .......................................................................................................................................
ค่าถ่วงน้ าหนัก (Wi) = …………………………………………………………………………………….
แนวโน้มสาเหตุของผลกระทบ
ระดับของผลกระทบ เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินผลกระทบ
(Ri) มนุษย์ การเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ
ไม่มี / ต่ า (1)
ผลกระทบปานกลาง (2)
ผลกระทบสูงมาก (3)
6-4