Page 133 -
P. 133
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานฉบับสมบูรณ์ กันยายน
โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๒๕๕๗
ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
บทที่ 6
ปัจจัยชี้วัดเกณฑ์การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
ประเภทภูเขา
6.1 ความส าคัญของการก าหนดเกณฑ์การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติ
สิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทต่างๆ มักได้รับผลกระทบหรือภัยคุกคามมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น
การท่องเที่ยว การเกษตร การตั้งบ้านเรือนหรือชุมชนฯ ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบต่างๆที่ส าคัญของ
สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ แหล่งธรรมชาติประเภทภูเขาก็เช่นกัน ได้รับผลกระทบหรือภัยคุกคามจากกิจกรรมของ
มนุษย์โดยตรง เช่น การบุกรุกป่าไม้ การขยายตัวของชุมชนบนที่สูง การใช้สารเคมีในการเกษตรบนภูเขา ส่งผลให้
พื้นที่ต้นน้ าล าธารถูกท าลายลง ถิ่นที่อาศัยของสัตว์ป่ามีน้อยลง เกิดการชะล้างพังทะลายของหน้าดิน และมีผลต่อ
ปริมาณและคุณภาพน้ าในพื้นที่ที่อยู่ตอนล่าง นอกจากนั้น การพัฒนาสิ่งอ านวยความสะดวกเพื่อรองรับ
การท่องเที่ยว การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์และการใช้ที่ดิน การทิ้งขยะและของเสียในแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขา
การลักลอบล่าสัตว์และตัดไม้ ก็เป็นภัยคุกคามต่อระบบนิเวศนิเวศภูเขาได้เช่นกัน เป็นต้น
ในปัจจุบัน นอกจากผลกระทบที่ได้รับโดยตรงจากการพัฒนาและ/หรือกิจกรรมของมนุษย์แล้ว
ภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศก็ส่งผลต่อระบบนิเวศของแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขาและประชาชน
ท้องถิ่นที่อยู่อาศัยในบริเวณแหล่งภูเขาและพื้นที่ใกล้เคียงด้วยเช่นกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
อาจท าให้เกิดภาวะภัยแล้ง ฝนตกไม่เป็นไปตามฤดูกาล น้ าท่วมฉับพลัน ดินถล่ม ปัญหาไฟป่า หมอกควัน
การกัดเซาะชายฝั่ง การปรับเปลี่ยนฤดูกาล เป็นต้น
ดังนั้น การดูแลรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ ไม่ให้เสื่อมโทรม สูญสลาย จากผลกระทบต่างๆ
เหล่านี้ รวมถึงวิธีการหรือแนวทางในการตั้งรับปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงเป็น
ภาระหน้าที่หลักของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนท้องถิ่น เพื่อรักษาคุณค่าของสิ่งแวดล้อมธรรมชาตินั้นไว้เพื่อ
ประโยชน์แก่สังคมโดยรวมทั้งในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้น จึงจ าเป็นต้องมีการก าหนดเกณฑ์การรักษาคุณภาพ
สิ่งแวดล้อมธรรมชาติของแหล่งธรรมชาติภูเขาขึ้น เพื่อให้เป็นเกณฑ์ที่ยอมรับกันทุกฝ่ายของผู้ที่มีส่วนได้-ส่วนเสีย
และเป็นแนวทางปฏิบัติในการติดตามสถานภาพของแหล่งธรรมชาติว่าปัจจัยสิ่งแวดล้อมยังเป็นไปตามเกณฑ์ที่
ก าหนดหรือไม่ หรืออยู่ในภาวะต่ ากว่าเกณฑ์ หรืออยู่ในภาวะวิกฤติยิ่ง เป็นต้น เป้าหมายส าคัญ ก็คือ การรักษา
คุณค่าความส าคัญของแหล่งธรรมชาตินั้นๆ เอาไว้ให้ได้ตามเกณฑ์ที่ก าหนด และมีแนวทางการจัดการแก้ไขปัญหา
คุณภาพสิ่งแวดล้อมของแหล่งภูเขาอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน นอกจากนั้น การจัดท าเกณฑ์การรักษา
คุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติของแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขา ยังเป็นส่วนส าคัญในการสนับสนุนให้เกิด
การติดตามผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสาเหตุอื่นๆ ซึ่งสามารถน าไปใช้
6-1