Page 135 -
P. 135
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานฉบับสมบูรณ์ กันยายน
โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๒๕๕๗
ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
หลังจากก าหนดเกณฑ์ในการตัดสินใจระดับของผลกระทบสูงสุดที่ยอมให้เกิดขึ้นได้แล้ว กิจกรรมต่อไปก็
คือ การไปส ารวจข้อมูลผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มีต่อทรัพยากรและระบบนิเวศของแหล่งภูเขา
ข้อมูลส าคัญที่ต้องมีการเก็บรวบรวมคือ ระดับของผลกระทบตามปัจจัยชี้วัดผลกระทบที่ก าหนดไว้แล้ว โดยการ
วัดผลกระทบต้องให้ความส าคัญต่อวิธีการ และหน่วยของการวัดให้เป็นไปที่ได้ก าหนดไว้ เพราะหากเปลี่ยนแปลง
วิธีการหรือหน่วยของการวัดอาจท าให้ไม่สามารถเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของผลกระทบอย่างต่อเนื่อง
ตามนัยของการเปลี่ยนแปลงระยะเวลาได้ นอกจากนั้นการบันทึกข้อมูลต้องระบุวัน เวลา และสถานที่ในการเก็บ
ข้อมูลอีกด้วย
การวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้ประโยชน์ว่ายังอยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่นั้น สามารถกระท าได้
หลายวิธี เช่น ถ้าหากมีการก าหนดปัจจัยและเกณฑ์ไว้เรียบร้อยแล้ว การไปส ารวจและติดตามผลกระทบที่เกิดขึ้น
สามารถน าไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์ดังกล่าวได้เลย โดยสามารถจ าแนกระดับของผลกระทบที่ยอมรับให้เกิดขึ้นใน
แหล่งท่องเที่ยวแต่ละแห่งเป็น 3 ระดับ คือ ระดับผลกระทบยังยอมรับได้อยู่ (acceptable impact) ระดับ
ผลกระทบถึงขั้นก าลังจะยอมรับไม่ได้ (approaching or at acceptable impact) และระดับของผลกระทบที่
รุนแรงมากจนไม่สามารถยอมรับผลกระทบดังกล่าวให้เกิดขึ้นต่อไปได้ (unacceptable impact) จะต้องมี
การจัดการแก้ไขโดยทันที
สิ่งที่ส าคัญก็คือ นักจัดการผลกระทบจากการใช้ประโยชน์แหล่งธรรมชาติประเภทภูเขาต้องให้
ความส าคัญต่อผลกระทบที่เกินระดับที่ยอมรับได้ที่ก าหนดไว้ โดยต้องมีกิจกรรมหรือการจัดการวิธีต่างๆ ในการ
ลดผลกระทบดังกล่าวให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ให้ได้ หรือหากเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ อาจต้องมีมาตรการในการตั้งรับปรับตัวเพิ่มเติมขึ้นมา เพื่อให้สามารถด ารงชีวิตอยู่ได้ในภาวะ
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่วนผลกระทบที่ถึงระดับยอมรับไม่ได้หรือเกือบจะถึงระดับสูงสุดที่ยอมให้เกิดผล
กระทบได้นั้น ก็ต้องให้ความส าคัญเช่นกัน เพราะผลกระทบดังกล่าวมีโอกาสน าไปสู่ความเสื่อมโทรมระยะยาวได้
ในที่สุด จึงควรต้องหาวิธีการจัดการควบคุมผลกระทบให้ลดลงและเฝ้าระวังไม่ให้ระดับของผลกระทบเกินขีดที่
ก าหนดไว้ ท้ายสุดผลกระทบที่ยังไม่เกินระดับสูงสุดที่ยอมรับได้ หมายถึง มาตรการจัดการในปัจจุบันเหมาะสมดี
อยู่แล้ว ไม่จ าเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงในขณะนี้
การค้นหาถึงสาเหตุของผลกระทบที่เกิดขึ้นในแหล่งธรรมชาติเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมในขั้นตอนนี้ เมื่อใดที่
พบว่าระดับของผลกระทบที่ตรวจวัดในแหล่งธรรมชาติชี้ว่าเกินระดับที่ยอมรับได้ ผู้รับผิดชอบแหล่งฯจ าเป็นอย่าง
ยิ่งที่ต้องหาทางแก้ไขผลกระทบดังกล่าว ซึ่งจ าเป็นในเบื้องต้นที่ต้องค้นหาถึงเหตุของปัญหา หรือสาเหตุที่ท าให้
เกิดผลกระทบ โดยทั่วไปแล้วในขั้นตอนถัดไปของกระบวนการจัดการผลกระทบก็คือ การคัดเลือกกลยุทธหรือ
วิธีการจัดการผลกระทบที่เหมาะสม ซึ่งการคัดเลือกวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการจัดการกับผลกระทบนั้นจะ
ได้ผลดีเพียงใดขึ้นกับความเข้าใจและความสามารถในการระบุสาเหตุของปัญหาได้ละเอียดถูกต้อง ซึ่งสาเหตุของ
ผลกระทบอาจเนื่องมาจาก จ านวนผู้ใช้ประโยชน์ ประเภทของการใช้ประโยชน์หรือกิจกรรม บริเวณที่มีการใช้
ประโยชน์ ช่วงเวลาและระยะเวลาในการใช้ประโยชน์ สาเหตุมาจากพฤติกรรมของผู้ใช้ประโยชน์ หรือแม้แต่เป็น
ภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากสภาวะโลกร้อน หรือเป็นผลร่วมกันจากหลายสาเหตุ
6-3