Page 123 -
P. 123
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานฉบับสมบูรณ์ กันยายน
โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๒๕๕๗
ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
บริเวณลาดเขาที่มีความชื้นสูงในจังหวัดกาญจนบุรี อุทัยธานี ขึ้นไปจนถึงจังหวัดทาง
ภาคเหนือ เป็นต้น
- ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest) ในพื้นที่ที่มีระดับความสูงอยู่ในระดับเดียวกับป่า
ดิบชื้น ประมาณ 300-600 เมตร เหนือระดับน้ าทะเลปานกลาง แต่มีปริมาณน้ าฝน
เฉลี่ยรายปีน้อยกว่าป่าดิบชื้น ประมาณ 1,000-1,500 มิลลิเมตรต่อปี จะพบกลุ่มของ
สังคมพืชที่เรียกว่าป่าดิบแล้ง ซึ่งมีการแพร่กระจายตามพื้นที่ราบหรือหุบเขาทั่ว
ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณตอนบนของเทือกเขาถนนธงไชย จากจังหวัดชุมพร
ขึ้นไปจนถึงภาคเหนือ
- ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest) ในพื้นที่ที่อยู่สูงขึ้นไปกว่าป่าดิบชื้น และป่าดิบ
แล้ง จะพบป่าดิบเขา ซึ่งมีลักษณะเฉพาะของพื้นที่ คือ เป็นพื้นที่ที่อยู่สูงกว่า
ระดับน้ าทะเลปานกลาง ระหว่าง 1,000-1,200 เมตร ขึ้นไป ซึ่งลักษณะภูมิอากาศจะ
หนาวเย็นและมีความชื้นในอากาศค่อนข้างสูงตลอดปี ปริมาณน้ าฝนรายปีระหว่าง
1,000- 2,000 มิลลิเมตรต่อปี ดังนั้นจึงไม่พบพันธุ์ไม้ในวงศ์ไม้ยางในป่าดิบเขา แต่พบ
พันธุ์ไม้อื่นที่มีการปรับตัวให้เหมาะสมกับสภาพปัจจัยดังกล่าว ทั้งนี้ป่าดิบเขาจะพบ
แพร่กระจายอยู่บริเวณ ยอดเขาสูงทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น
บริเวณยอดดอยอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ภูกระดึง จังหวัดเลย เป็นต้น
- ป่าสนเขา (Tropical Pine Forest หรือ Coniferous Forest) พบได้ในพื้นที่ที่อยู่ใน
ระดับสูงกว่าระดับน้ าทะเลปานกลาง ระหว่าง 200-1,800 เมตรขึ้นไป จึงเห็นได้ว่า
ป่าสนเขาจะอยู่ในพื้นที่ระดับความสูงเท่ากันหรือต ่ากว่าป่าดิบเขา แต่พื้นที่ของ
ป่าสนเขานั้นค่อนข้างแห้งแล้งกว่า หรือเป็นพื้นที่ซึ่งดินเก็บน้ าไม่ดี ในประเทศไทยมัก
พบป่าสนเขาในบริเวณภาคเหนือในจังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ล าปาง และภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือในจังหวัดเลย ศรีสะเกษ สุรินทร์ และอุบลราชธานี โดยจะพบ
แพร่กระจายอยู่ตามหุบเขาและที่ราบสูง พันธุ์ไม้หลักของป่าประเภทนี้คือ สนสองใบ
และสนสามใบ อาจจะพบพันธุ์ไม้อื่น ๆ ที่เป็นพันธุ์ไม้เด่นในพื้นที่ด้วย คือ ป่าสนผสม
ก่อ (Oak Pine Sub-community) และป่าสนผสมเต็งรัง (Dipterocarp Pine Sub-
community) โดยป่าสนเขาผสมก่อนั้นจะมีพันธุ์ไม้จ าพวกก่อและไม้สนกระจาย
โดยทั่วไป ส่วนป่าสนผสมเต็งรังนั้น จะมีโครงสร้างป่าคล้ายคลึงกับป่าเต็งรัง แต่มีไม้สน
ปรากฏเป็นเรือนยอดไม้ ระดับไม้เด่นในพื้นที่กระจัดกระจาย ทั่วไปด้วย ป่าสนเขาที่มี
ลักษณะเด่นในประเทศไทย เช่น ภูกระดึง ภูหลวง จังหวัดเลย ภูสอยดาว
จังหวัดอุตรดิตถ์ และทุ่งแสลงหลวง จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น
5-31