Page 120 -
P. 120
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานฉบับสมบูรณ์ กันยายน
โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๒๕๕๗
ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
เป็นชายฝั่งทะเลจมตัว ท าให้ฝั่งทะเลขรุขระเว้า ๆ แหว่ง ๆ มีเกาะใหญ่น้อยเป็น
จ านวนมาก
3) ดิน
ข้อมูลจากกรมพัฒนาที่ดิน (2556) พบว่า สภาพพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน (slope complex: SC)
เป็นหน่วยแผนที่ดินซึ่งได้รวมดินหลายชนิดซึ่งเกิดอยู่บนภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสูงเข้าไว้ด้วยกัน เนื่องจากส่วน
ใหญ่ไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบลักษณะดินได้ และมีสภาพพื้นที่สูงชันเกินไปที่จะน ามาใช้ประโยชน์ในทาง
เกษตรกรรมโดยทั่วไป สภาพพื้นที่มีความลาดชันตั้งแต่ 35 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นไป ประกอบไปด้วยดินหลายชนิด มีทั้ง
ดินลึกและดินตื้น บางแห่งมีก้อนกรวดและก้อนหินปะปนอยู่ในเนื้อดิน หรือกระจัดกระจายอยู่ตามผิวดิน มีการ
ระบายน้ าดี จนถึงมีการระบายน้ ามากเกินไป ลักษณะเนื้อดิน สีของดิน และปฏิกิริยาดินแตกต่างกันไป แล้วแต่
ชนิดหินที่เป็นต้นก าเนิดและอายุของดิน แต่โดยเฉลี่ยแล้วส่วนใหญ่จะเป็นดินค่อนข้างลึก มีสีค่อนไปทางแดง
หรือแดงจัด ส่วนใหญ่เป็นดินในกลุ่ม Reddish Brown Lateritic Soils และ Red Yellow Podzolic Soils
ในหน่วยแผนที่ดินนี้ได้รวมพื้นที่หินโผล่ โขดหิน หน้าผาชัน และลักษณะภูมิประเทศอื่นๆ ที่เกิดอยู่ในบริเวณที่เป็น
ภูเขาสูงชันเข้าไว้ด้วยกัน พื้นที่ดังกล่าวนี้ปกคลุมไปด้วยป่าไม้หลายประเภท แต่บางแห่งได้ถูกโค่นถางท าลายลง
เพื่อใช้พื้นที่ในการท าไร่เลื่อนลอย โดยทั่วไปแล้วหน่วยแผนที่ดินนี้ไม่เหมาะที่จะใช้ท าการเกษตรกรรม ควรที่จะ
รักษาไว้ให้คงสภาพป่า อันเป็นแหล่งต้นน้ าล าธารต่อไป
แหล่งธรรมชาติประเภทภูเขายังเป็นพื้นที่ที่มีความส าคัญต่อการกักเก็บคาร์บอนไว้ในดิน
คาร์บอนที่สะสมในดินส่วนใหญ่อยู่ในรูปอินทรียคาร์บอน เช่น สารประกอบฮิวมัส ซึ่งเป็นคาร์บอนที่เสถียรกว่า
คาร์บอนที่อยู่ในมวลชีวภาพของป่าไม้ การสะสมคาร์บอนในดินมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับปัจจัย
หลายอย่าง เช่น ลักษณะการใช้ที่ดิน สภาพภูมิอากาศ คุณสมบัติทางเคมี ฟิสิกส์ และชีวภาพของดินนั้นๆ เป็นต้น
นอกจากนี้ การสะสมคาร์บอนในดินยังมีความผันแปรไปตามความลึกของดิน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ประโยชน์
ที่ดินมีผลโดยตรงต่อการสะสมคาร์บอนในดิน การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากป่าเป็นพื้นที่เกษตรโดยทั่วไป
มีผลท าให้ปริมาณคาร์บอนสะสมในดินลดลง (สาพิศ, 2550) ส าหรับในพื้นที่ป่าไม้ การกักเก็บคาร์บอนในดินมี
ความผันแปรไปตามชนิดป่า ลักษณะของพื้นที่ ชนิด และโครงสร้างของดิน เมื่อเปรียบเทียบที่ระดับความลึก
0-100 เซนติเมตร ป่าดิบชื้นมีการสะสมคาร์บอนในดินสูงสุด รองลงมาคือป่าเบญจพรรณ ป่าชายเลน ป่าสน และ
ป่าเต็งรัง ตามล าดับ (Tangtham and Tantasirin, 1997) เช่นเดียวกัน สิริรัตน์และศิริภา (2544) ได้ท า
การศึกษาในท้องที่จังหวัดกาญจนบุรีและจังหวัดเชียงใหม่ พบว่าบริเวณพื้นที่ป่าดิบเขา มีการสะสมของปริมาณ
คาร์บอนถึงระดับความลึกที่ 1 เมตร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 237.27 ตันต่อเฮกแตร์ รองลงมาคือป่าเบญจพรรณ
มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 148.50 ตันต่อเฮกแตร์ ส่วนในป่าดิบแล้งและป่าสนเขา พบว่าแนวโน้มของการสะสมปริมาณ
คาร์บอนมีค่าใกล้เคียงกันคือ 145.25 และ 132.05 ตันต่อเฮกแตร์ ป่าเต็งรังมีการสะสมของปริมาณคาร์บอนต่ า
กว่าป่าธรรมชาติชนิดอื่นๆ คือ 76.75 ตันต่อเฮกแตร์ ส่วนการสะสมของปริมาณคาร์บอนในบริเวณป่าปลูกเท่ากับ
167.9 ตันต่อเฮกแตร์ ซึ่งมีค่ามากกว่าการสะสมคาร์บอนของดินในป่าหลายประเภท (กรมอุทยานแห่งชาติ
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และศูนย์วิจัยป่าไม้, 2552) ในแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขาส่วนใหญ่ปกคลุมด้วยป่าไม้
5-28