Page 116 -
P. 116
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานฉบับสมบูรณ์ กันยายน
โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๒๕๕๗
ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
(3) หินมหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic Rocks) ในมหายุคนี้จะประกอบด้วยหินที่เกิดจาก
การสะสมตัวภายใต้สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน 2 แบบ คือ หินที่มีก าเนิดจากตะกอน
ที่สะสมตัวกันในทะเล (marine sediments) และหินที่ก าเนิดจากการสะสมตัวของ
ตะกอนภายในแอ่งบนทวีป (continental sediments)
- หมู่หินล าปาง ยุคไทรแอสซิก (Triassic) ประกอบขึ้นเป็นชั้นหินต่าง ๆกัน ได้แก่
ชั้นหินปูน หินทราย หินดินดาน หินกรวดมน ชั้นหินต่าง ๆ เหล่านี้มีก าเนิดจากการ
สะสมตัวของตะกอนในสภาพแวดล้อมที่เป็นทะเล ภายในแอ่งทะเลหรือร่องทะเล
ทั้งแบบทะเลน้ าตื้นและทะเลน้ าลึก ความหนาของหมู่หินล าปาง หนาประมาณ
3,000 เมตร ซากดึกด าบรรพ์ที่พบ ได้แก่ brachiopods พวก halobia ostrea
clararia และพวก ammonite ซึ่งมีอายุในยุคไทรแอสซิก การกระจายของหมู่หิน
ล าปาง ภาคเหนือ มีกระจายอยู่ในบริเวณแอ่งล าปางอย่างกว้างขวาง จนสามารถ
แบ่งหมู่หินนี้ออกเป็นหน่วยหินย่อย ๆ ได้ 5 หน่วย ตั้งแต่อายุมากสุดถึงน้อยสุด
ตามล าดับ ดังนี้ หน่วยหินพระธาตุ หน่วยหินผาก้าน หน่วยหินฮ่องหอย หน่วยหิน
ดอยช้าง และหน่วยหินผาแดง นอกจากนั้นยังพบในบริเวณจังหวัดเชียงราย แพร่
น่าน และอ าเภอแม่สะเรียง อ าเภอแม่สอด ภาคใต้พบบริเวณอ าเภอนาทวี จังหวัด
สงขลา ต่อลงไปถึงพรมแดนไทย-มาเลเซีย ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พบบริเวณขอบด้านตะวันตกของที่ราบสูงโคราช และบริเวณจังหวัดเลย
- หมู่หินโคราช ยุคจูแรสซิก- ครีเตเชียส (Jurassic-Cretaceous) ประกอบด้วยหิน
กรวดมน หินดินดานสีแดง หินทราย หินโคลน ซึ่งมีสีน้ าตาลแดงและสีแดงเกือบ
ตลอดทั้งหมู่หิน เป็นหมู่หินที่ประกอบขึ้นเป็นชั้นหินที่หนามาก ชั้นหินต่าง ๆ ของ
หมู่หินโคราชนี้เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนที่ถูกกระแสน้ าพัดพามาสะสมใน
บริเวณที่ลุ่ม หนอง บึง หรือทะเลสาบ บนแผ่นดินในทวีป ซากดึกด าบรรพ์ที่พบ
ได้แก่ ซากพืช ซากต้นไม้กลายเป็นหิน (petrified wood) จากซากดึกด าบรรพ์บ่ง
บอกอายุของหมู่หินโคราชได้ว่ามีช่วงอายุของการสะสมตัวประมาณยุคจูแรสซิก
ถึงครีเตเชียส ความหนาของหมู่หินโคราช มีชั้นหินหนาประมาณ 4,000 เมตร หรือ
มากกว่า การกระจายของหมู่หินโคราช พบในบริเวณต่าง ๆ ดังนี้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะปรากฏครอบคลุมเกือบทั้งหมด ภาคเหนือพบบริเวณ
จังหวัดอุตรดิตถ์ ติดต่อกับจังหวัดเลย บริเวณจังหวัดน่าน แพร่ เชียงราย
ภาคตะวันตก บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ภาคตะวันออกพบบริเวณพรมแดนไทย-
กัมพูชา และภาคใต้พบบริเวณตั้งแต่จังหวัดชุมพร ไปถึงนครศรีธรรมราช ส าหรับ
หมู่หินโคราชนี้ จะมีลักษณะเนื้อหินที่แตกต่างกันหลายชนิด จากการโผล่ของหินที่
ครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ไม่สมบูรณ์ในแต่ละบริเวณ มีการจัดแบ่ง
ล าดับชั้นหินเป็นหน่วยหินย่อย
5-24