Page 114 -
P. 114

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
                                                                            รายงานฉบับสมบูรณ์   กันยายน
                                  โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
                                                                                             ๒๕๕๗
                    ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา


                                    บริเวณตะวันตกของจังหวัดตาก ภาคตะวันตก ต่อจากบริเวณตะวันตกของจังหวัดตาก
                                    ลงมาสุดที่บริเวณ ตะวันตกของอ าเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี และบริเวณ

                                    ริมฝั่งแม่น้ าแควใหญ่ เขาช่องอินทรีย์ จังหวัดกาญจนบุรี บริเวณอ าเภอหัวหิน จังหวัด
                                    ประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออก พบหินประเภทนี้บริเวณอ าเภอ ศรีราชา บางละมุง

                                    บ้านบึงและ พนัสนิคม จังหวัดชลบุรี และบริเวณเขาชะเมา จังหวัดระยอง

                                   (2)  หินมหายุคพาลีโอโซอิก (Paleozoic Era) ประกอบด้วย
                                    -    หมู่หินตะรุเตา ยุคแคมเบรียน (Cambrian) ประกอบด้วย หินทรายหินดินดานใน

                                       ชั้นหินที่เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล จะพบซากดึกด าบรรพ์ (fossils)  โผล่ให้เห็น
                                       อย่างชัดเจน จึงให้ชื่ออาศัยบริเวณอ้างอิงที่พบหินยุคนี้ นอกจากบริเวณดังกล่าว
                                       หมู่หินนี้ยังปรากฏพบในบริเวณอื่น ๆ ของประเทศอีก แต่ลักษณะของหินส่วนใหญ่

                                       จะถูกแปรสภาพไปเป็นหินแปร พวกหินควอร์ตไซด์ ไมกาซีสต์ และหินฟิลไลต์

                                       การแพร่กระจายของหินยุคแคมเบรียนบริเวณที่พบ ได้แก่ ภาคเหนือ พบบริเวณใต้
                                       ของอ าเภอฝาง บริเวณตะวันตกของอ าเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ภาคตะวันตก
                                       พบที่จังหวัดตาก สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี ภาคกลาง พบที่จังหวัดก าแพงเพชร

                                       และสุโขทัย ภาคตะวันออก พบที่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ภาคใต้ พบที่เกาะตะรุเตา
                                       เขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช ความหนาของหมู่หินตะรุเตามีตั้งแต่ 100 เมตร

                                       จนถึงประมาณ 600 เมตร ในแต่ละบริเวณที่พบจะมีความหนาของชั้นหินไม่เท่ากัน
                                       หมู่หินตะรุเตานี้เกิดในช่วงปลายยุคแคมเบรียน

                                    -      หมู่หินทุ่งสง ยุคออร์โดวิเชียน-ยุคไซลูเรียน ประกอบด้วยชั้นหินปูนสีเทาด าเป็น

                                       ส่วนใหญ่ บางตอนที่ติดต่อกับหมู่หินยุคแคมเบรียนมักเป็นชั้นหินปูนบาง ๆ แทรก
                                       สลับกับชั้นหินดินดานปนปูน ซากดึกด าบรรพ์ที่พบในหินปูนนี้ได้แก่ แกรพโตไลต์

                                       บราคิโอพอดและเซฟาโลพอด การแพร่กระจายของหมู่หินทุ่งสง บริเวณที่พบได้แก่
                                       ภาคเหนือ พบบริเวณตะวันออกของอ าเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอนและที่

                                       อ าเภอฮอด อ าเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ อ าเภอลี้ จังหวัดล าพูน ภาคตะวันตก
                                       พบที่จังหวัดตาก อุทัยธานี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันออก พบที่

                                       เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี ภาคใต้ พบบริเวณแนวตะวันออกของเกาะตะรุเตา และต่อ
                                       ขึ้นไปสิ้นสุดที่อ าเภอทุ่งหว้า อีกแนวหนึ่งพบเริ่มจากจังหวัดสตูล ขึ้นไปจนถึงจังหวัด

                                       พัทลุง และสิ้นสุดที่ตอนใต้เขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช

                                    -   หมู่หินตะนาวศรี ยุคไซลูเรียน ดีโวเนียน – คาร์บอนนิเฟอรัส (Silurian,Divonian
                                       to  Lower  Carboniferous)  หมู่หินนี้พบบริเวณแนวทิวเขาด้านตะวันตก ตั้งแต่

                                       ภาคเหนือจนสุดภาคใต้ แต่ปรากฏอยู่ตามแนวทิวเขาตะนาวศรีเป็นส่วนใหญ่
                                       ประกอบด้วยชั้นหินหลายชนิดที่มีลักษณะการก าเนิดแตกต่างกัน จึงแบ่งหมู่หินนี้
                                       ออกเป็น 2 หน่วยหิน คือหน่วยหินกาญจนบุรี (Kanchanaburi Formation) และ




                                                         5-22
   109   110   111   112   113   114   115   116   117   118   119