Page 115 -
P. 115
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานฉบับสมบูรณ์ กันยายน
โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๒๕๕๗
ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
หน่วยหินแก่งกระจาน (Kaeng Krachan Formation) หน่วยหินกาญจนบุรี เป็น
หินยุคไซลูเรียน-ดีโวเนียน ประกอบด้วยหินแปร ประเภทที่ถูกการแปรระดับต่ า
(low grade metamorphism) เป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ หินชนวน หินฟิลไลต์
หินควอร์ตไซต์ หินเชิร์ท หินดินดาน หินทราย และหินปูน นอกจากนั้นบางบริเวณ
จะพบมีชั้นหินเกรย์เวก (greywacke) ชั้นหินทัฟฟ์ เพิ่มขึ้นมาก การแพร่กระจาย
ของหน่วยหินกาญจนบุรี บริเวณที่พบ ได้แก่ ภาคเหนือ พบตามบริเวณต่าง ๆ ของ
จังหวัดภาคเหนือเกือบทั้งหมด เช่น อ าเภอแม่ทา จังหวัดล าพูน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
เชียงราย เชียงใหม่ ภาคกลางพบบริเวณจังหวัด นครสวรรค์ อุทัยธานี สุพรรณบุรี
ภาคตะวันตกพบบริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ภาคใต้พบที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
สตูล และพัทลุง ภาคตะวันออกพบที่จังหวัดระยอง จันทบุรี และชลบุรีหน่วยหิน
แก่งกระจาน เป็นหินยุคดีโวเนียน-คาร์บอนนิเฟอรัส ประกอบด้วยชั้นหินตะกอน
เม็ด กรวดทราย และเศษหินหลายชนิดสะสมรวมกัน เรียกชนิดหินนี้ว่า pebby
rocks และ pebby mudstones นอกจากนั้นยังมีหินดินดานสีเทาถึงเทาด า
หินทราย หินทัฟฟ์ หินปูน และหินกรวดมน รวมอยู่ด้วย การกระจายของหน่วยหิน
แก่งกระจาน บริเวณที่พบ ได้แก่ ภาคตะวันตก พบแผ่เป็นบริเวณกว้างตามทิวเขา
ตะนาวศรี และบริเวณพรมแดนไทย-พม่า ของจังหวัดกาญจนบุรี เพชรบุรี และ
ประจวบคีรีขันธ์ ภาคใต้ พบบริเวณจังหวัดชุมพร ระนอง ภูเก็ต พังงา กระบี่ ตรัง
สตูล ภาคเหนือพบบริเวณจังหวัดล าปาง แพร่ อุตรดิตถ์ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และ
เชียงใหม่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบตามขอบของที่ราบสูง เช่น จังหวัดเลย และ
เพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกพบบริเวณจันทบุรี ตราด และระยอง
- หมู่หินราชบุรี ยุคเพอร์เมียน (Permian) ประกอบด้วยหินปูนที่มีกระจายอยู่ทุก
ภาคของประเทศ มีชั้นหินชนิดอื่นประกอบอยู่บ้างเล็กน้อย ได้แก่ หินทราย
หินดินดาน หินกรวดมน หินกรวดภูเขาไฟ ในชั้นหินปูนหมู่หินนี้ จะพบซาก
ดึกด าบรรพ์ของสัตว์เซลล์เดียวจ านวนมาก นอกจากนั้นยังพบหอย ปะการัง
และไบรโอซัวอีกด้วย ซากดึกด าบรรพ์ แนวทิวเขาด้านตะวันตก ตั้งแต่ภาคเหนือไป
จนสุดภาคใต้ของประเทศรวมทั้งตามเกาะต่าง ๆ ในทะเลอันดามันด้วย แนวทิวเขา
นี้เป็นหินปูนส่วนใหญ่ มีชั้นหินทราย และหินดินดานเพียงเล็กน้อย แนวทิวเขา
ตอนกลาง ได้แก่ ทิวเขาหินปูน ตั้งแต่จังหวัดเชียงราย น่าน ล าปาง แพร่ ตาก
สุโขทัย ถึงนครสวรรค์ แนวทิวเขาหินปูนแนวนี้จะรองรับด้วยชั้นหินภูเขาไฟ
หินทัฟฟ์ หินกรวดภูเขาไฟ แนวทิวเขาตะวันออก ได้แก่ แนวทิวเขาหินปูนบริเวณ
ขอบด้านตะวันตกของที่ราบสูงโคราช ตั้งแต่จังหวัดเลย อุดรธานีจนถึงเพชรบูรณ์
ลพบุรี สระบุรี และต่อลงไปถึงระยอง จันทบุรี
5-23