Page 113 -
P. 113
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
รายงานฉบับสมบูรณ์ กันยายน
โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
๒๕๕๗
ที่อาจมีต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยจัดท ามาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อมธรรมชาติประเภทภูเขา
5.5 สถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมประเภทภูเขา
5.5.1 ด้านกายภาพ
คุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ส าคัญด้านกายภาพของแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขาเกี่ยวข้องกับปัจจัยทาง
กายภาพที่ส าคัญ ได้แก่ ธรณีวิทยา ลักษณะภูมิประเทศ ดิน น้ า ขยะ และภูมิทัศน์ โดยมีประเด็นดังนี้
1) ธรณีวิทยา ส าหรับในภาพรวมของประเทศ ลักษณะของแหล่งธรรมชาติประเภทภูเขาที่
รวบรวมเพื่อประเมินคุณค่า ความส าคัญ และความเสี่ยง จ านวน 68 แหล่ง ดังนั้นสามารถประมวลภาพรวมของ
ลักษณะธรณีวิทยา ได้ดังนี้
ข้อมูลจากกรมทรัพยากรธรณี (2544) พบว่า ลักษณะทางธรณีวิทยาของประเทศไทยเป็น
โครงสร้างทางธรณีวิทยาแบบโค้งงอ (Folded Belt) และถูกตัดด้วยรอยเลื่อน (Faulte) และมีการแทรกซ้อนของ
หินแกรนิต ตามช่องว่าง ต่อมาบริเวณรอยคดโค้งเหล่านั้น ถูกแปรสภาพด้วยความร้อนและแรงกดดันท าให้ชิ้นหิน
บางส่วนกลายเป็นหินแกรนิต เขตทิวเขาทางภาคเหนือ ภาคตะวันตกและภาคใต้ เป็นภูเขาที่ประกอบด้วยหินชั้น
และหินแปรที่เป็นแบบโครงสร้างคดโค้ง (Folded Belt) ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุในมหายุคพาลีโอโซอิก (Palaozoie)
ที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นบริเวณที่ประกอบด้วยหินทราย และชั้นหินดินดานของมหายุค พาลีโอ-
โซอิก (Palaozoie) ส่วนบริเวณตามขอบตะวันตกและตะวันตกเฉียงใต้ของที่ราบสูงโคราช และทิวเขา
ภาคตะวันออกจะมีชั้นหินที่มีโครงสร้างโค้งงอ ของมหายุคพาลีโอโซอิก (Palaozoie) บริเวณภาคกลางของ
ประเทศไทยเป็นแอ่งแผ่นดิน (Basin) ขนาดใหญ่เป็นที่สะสมของ ชั้นตะกอน อายุอ่อนคือ ชั้นหินมหายุคซีโนโซอิค
(Cenozoic) ซึ่งประกอบด้วยชั้นตะกอนของยุคเทอร์เชียรี (Tertiary) และตอนบนของชั้นตะกอนเหล่านี้จะถูกปก
คลุมทับถมด้วยตะกอน กรวด หิน ของยุคควอเตอร์นารี
การจัดล าดับชั้นหินเป็นการแบ่งหินทั้งหมดออกเป็นยุคต่าง ๆ ตามระบบการจัดล าดับชั้นหิน
ตามอายุ เริ่มตั้งแต่หินที่มีอายุมากที่สุดยุคพรีแคมเบรียน (Pre-Cambrian) จนถึงยุคควอเทอร์นารี (Quaternary)
ซึ่งมีอายุน้อยที่สุด การจัดล าดับชั้นหินในประเทศไทยที่จะกล่าวถึงนี้จะเป็นไปตามล าดับของชั้นหิน จากชั้นหินที่
อายุมากที่สุดไปหาชั้นหินที่อายุน้อย
หินชั้นและหินแปร
(1) หินมหายุคพรีแคมเบรียน (Pre-Cambrian Rocks) ในล าดับชั้นหินเป็นหินชุดที่มีอายุ
มากที่สุด การวางตัวของชั้นหินจะเป็นฐานรองรับอยู่ใต้ชั้นหินอื่น ๆ หินชุดนี้เป็น
หินแปรที่ประกอบด้วยหินแปรที่ถูกแปรเปลี่ยนอย่างรุนแรงถึงปานกลาง ได้แก่
หินพาราไนส์ (paragneiss) หินไมกาซีสต์ (micaschist) หินควอร์ตไซต์ (quartzite)
หินแคลซิลิเกต (cal-silicate) หินไบโอไทต์มาร์เบิล (biotitemarble) หินแกรนิตไนส์
(granite gneiss) และหินแอมฟิโบไลต์ซีสต์ (amphibolite schist) การแพร่กระจาย
ของหินมหายุคพรีแคมเบรียน ที่ถูกดันขึ้นมาปรากฏให้เห็นในบริเวณต่าง ๆ ของ
ประเทศไทย ได้แก่ ภาคเหนือ ได้แก่บริเวณด้านตะวันตกของจังหวัดเชียงใหม่ ลงมา
ทางใต้ถึงอ าเภอฮอด และบางส่วนของเขตอ าเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน จนถึง
5-21