Page 30 -
P. 30

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




              ตารางที่ 2.8  ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงที่ส�าคัญใน สปป.ลาว ปี 2554

                      ชนิดสัตว์น�้า (อันดับที่; ปริมาณ: พันตัน; ส่วนแบ่งผลผลิตเพาะเลี้ยงทั้งหมด: %)

                        สปป.ลาว ปริมาณรวม 86.000 พันตันทั้งหมดเป็นการเพาะเลี้ยงในน�้าจืด
                       st
                ปลานิล (1 ; 21.7; 25.23%)
                ปลานวลจันทร์น�้าจืด (2 ; 10.3; 11.98%)
                               nd
                ปลาลิ่น (3 ; 8.8; 10.23%)
                       rd
                ปลาหัวโต (4 ; 7.2; 8.37%)
                        th
                          th
                ปลาตะเพียน (5 ; 6.8; 7.91%)
                       th
                ปลาไน (6 ; 6.4; 7.44%)
              ที่มา : ค�านวณจากข้อมูลของ Food and Agriculture Organization (2010)


              2.9  การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าของประเทศกัมพูชา

                   การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าในกัมพูชามีทั้งการเลี้ยงในกระชัง ในบ่อ และในนาข้าว การเลี้ยงใน
              กระชังท�ากันมานาน โดยเริ่มจากการเลี้ยงปลาที่ท�าประมงมาได้จากแหล่งน�้าธรรมชาติ
              แต่ยังไม่โตได้ขนาดที่ตลาดต้องการ น�ามาขังไว้ในกระชังไว้จนโตได้ขนาดพอขายได้ราคา แต่การ
              เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ายังมีน้อยเมื่อเทียบกับผลผลิตสัตว์น�้า
                   โดยรวมกัมพูชายังขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเป็นข้อจ�ากัดในการขนส่งอาหารสัตว์น�้า
              พันธุ์ปลา ตลอดจนผลผลิต จึงเป็นข้อจ�ากัดในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าในประเทศ
                   ในกัมพูชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าส่วนใหญ่ท�ากันในแหล่งน�้าจืด ทั้งที่เลี้ยงในกระชังและ
              เลี้ยงในบ่อ การเลี้ยงในกระชังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะสิบกว่าปีที่ผ่านมา จากเดิมที่เลี้ยงปลา
              ช่อนเป็นส�าคัญ มีการจับปลาขนาดเล็กมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงปลาช่อน ซึ่งมีผลให้ความชุกชุม
              ของสัตว์น�้าลดลง นับแต่ปี 2538 รัฐบาลกัมพูชาจึงห้ามเลี้ยงปลาช่อนในกระชังเพื่อลดการจับปลา
              ขนาดเล็กมาเป็นอาหารปลาช่อน ผู้เลี้ยงพยายามขอให้รัฐยกเลิกข้อห้ามนี้แต่ยังไม่เป็นผล
              ปลาชนิดอื่นที่นิยมเลี้ยงในกระชัง ได้แก่ ปลาสวาย ปลาดุก และปลานิลแดง มีการเลี้ยงปลาแบบ
              พัฒนาบริเวณใกล้เมืองใหญ่ๆ ในขณะที่การเพาะเลี้ยงขนาดเล็กมีการพัฒนาการเลี้ยงปลาไน
              และปลานิล โดยเฉพาะในพื้นที่ขาดแคลนสัตว์น�้า
                   รัฐบาลมีโรงเพาะฟักอยู่ 13 แห่ง และยังมีโรงเพาะฟักเอกชนขนาดเล็กอยู่อีกจ�านวนหนึ่ง
              ผลิตพันธุ์ปลาได้ปีละประมาณ 70 ล้านตัว ส่วนใหญ่เป็น ปลาตะเพียน ปลาสวาย ปลาไน และ
              ปลานิล อย่างไรก็ตามกัมพูชาได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาการเลี้ยงสัตว์น�้าเค็มเริ่มด�าเนินการตั้งแต่ปี 2555
              เพื่อเพาะพันธุ์กุ้ง ปลากะพงขาว และปลากะรัง รวมทั้งด�าเนินการวิจัย เพื่อสนับสนุนการเพาะเลี้ยง
              ในส่วนของการเลี้ยงสัตว์น�้าจืดมีการส่งเสริมการเลี้ยงปลาพื้นเมือง ได้แก่ ปลาสวาย ปลาเผาะ
              ปลานวลจันทร์น�้าจืด ปลาบ้า และปลากะโห้ อีกทั้งยังมีการแนะน�าให้เลี้ยงปลานิลและ
              ปลาตะเพียนในนาข้าว







                          สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 21 I
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35