Page 25 -
P. 25

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                  ในส่วนของการสร้างเสริมความสามารถให้แข่งขันได้ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
            กรมประมงได้จัดสัมมนาในเรื่องของการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนกับการประมงไทย ศึกษา
            ลู่ทางการลงทุนธุรกิจประมงในประเทศสมาชิกอาเซียน จัดท�า Fisheries National Single Window
            เชื่อมโยงกับกรมศุลกากร เป็นแกนน�าในการด�าเนินการ ASEAN Shrimp Association ประสาน

            งานกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ พัฒนา ASEAN Shrimp GAP จัดตั้งศูนย์เครือข่ายสถาบัน
            สุขภาพสัตว์น�้าอาเซียนเพื่อการอบรมเตือนภัยและหาทุนสนับสนุนการพัฒนาการเลี้ยงกุ้ง
            ในอาเซียน และจัดตั้งคณะกรรมการเตรียมความพร้อมในการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
            โดยร่วมมือกับกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ส�านักงานเศรษฐกิจ การเกษตร ส�านักงาน
            คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สมาคมประมงนอกน่านน�้า และสมาคมเยือกแข็ง
                  ในปี 2556 กรมประมงมีโครงการพัฒนาการประมงสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
            ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าประกอบด้วย ธนาคารพ่อแม่พันธุ์สัตว์น�้าโดยมุ่งไปที่
            กุ้งและปลานิล การเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตปลานิลและปลาสวายในระบบปิด
            เชิงพาณิชย์ การเพิ่มศักยภาพความเข้มแข็งกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งทะเล การใช้ประโยชน์

            จากปลาเบญจพรรณ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับ SMEs การพัฒนาศักยภาพ
            การแข่งขันของผู้เลี้ยงปลาน�้าจืด การจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรประมง การเสริมสร้างความเข้มแข็งของ
            หน่วยรับรองของกรมประมงและภาคเอกชน การเพิ่มประสิทธิภาพ การควบคุมตรวจสอบการน�า
            เข้าสินค้าสัตว์น�้าและปัจจัยการผลิต การถ่ายทอดความรู้เพื่อการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
            การเผยแพร่ความรู้ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จัดตั้งศูนย์ข้อมูลประชาคมอาเซียนด้านการประมง
            จัดประชุม ASEAN Network of Aquatic Animal Health Centers และจัด ASEAN Seafood Show
                  ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงในประเทศไทย จากรายงานผลผลิตการเพาะเลี้ยงปี 2554 ไม่มี

            ผลผลิตสาหร่ายจากการเพาะเลี้ยง ผลผลิตสัตว์น�้าจากการเพาะเลี้ยงเป็น 1.008 ล้านตัน ซึ่งใน
            การศึกษาครั้งนี้ได้เลือกก�าหนดกรอบการศึกษาไว้เป็นผลผลิตจากการเพะเลี้ยงในน�้ากร่อยสามชนิด
            ในน�้าจืดหกชนิด และในทะเลสามชนิด เรียงตามล�าดับปริมาณผลผลิตจากมากไปหาน้อย ได้แก่
            (1) กุ้งขาวในน�้ากร่อย ผลผลิต 0.511 ล้านตัน หรือร้อยละ 50.74 เป็นผลผลิตหลักจากการเพาะ
            เลี้ยงของประเทศไทย (2) ปลานิลในน�้าจืด ผลผลิต 0.139 ล้านตัน หรือ ร้อยละ 13.83 (3) ปลาดุก
            ในน�้าจืด 0.095 ล้านตัน หรือร้อยละ 9.46 (4) หอยแมลงภู่ในทะเล 0.085 ล้านตัน หรือ ร้อยละ 8.40
            (5) หอยแครงในทะเล 0.041 ล้านตัน หรือร้อยละ 4.02 (6) ปลาตะเพียนขาวในน�้าจืด 0.034 ล้านตัน
            หรือ ร้อยละ 3.38 (7) กุ้งก้ามกรามในน�้าจืด 0.019 ล้านตัน หรือ ร้อยละ 1.92 (8) ปลากะพงขาว
            ในน�้ากร่อย 0.016 ล้านตัน หรือ ร้อยละ 1.62 (9) ปลาสลิดในน�้าจืด 0.016 ล้านตัน หรือ
            ร้อยละ 1.58 (10) ปลาสวายในน�้าจืด 0.015 ล้านตัน หรือ ร้อยละ 1.51 (11) หอยนางรมใน
            ทะเล 0.010 ล้านตัน หรือ ร้อยละ 1.02 และ (12) ปลากะรังในน�้ากร่อย 0.003 ล้านตัน หรือ
            ร้อยละ 0.32 (ตารางที่ 2.5)









            16    >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30