Page 24 -
P. 24

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




              พอที่จะจูงใจให้มีการลงทุนในกิจกรรมนี้ เพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าในประเทศไทยควร
              ส่งเสริมให้มีการวิจัยในสายพันธุ์สัตว์น�้าให้ได้ลูกพันธุ์ที่ปลอดโรค/มีความต้านทานโรค พัฒนา
              อาหารสัตว์น�้าเพื่อให้ได้อัตราแลกเนื้อที่ดีขึ้น ลดต้นทุนค่าอาหารลง ควรมีการจัดการระบบการ
              เลี้ยงให้ปลอดโรคและวิธีเลี้ยงที่ไม่ท�าลายสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปลอดภัย
              ทั้งยังควรจัดให้มีการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าที่ให้ผลตอบแทนคุ้มกับการลงทุน ทั้งนี้ภาครัฐ

              และเอกชนควรร่วมมือกันพัฒนาการเพาะเลี้ยงดังที่เวียดนามและฟิลิปปินส์ได้ด�าเนินการ
                   ในประเทศไทย การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าที่ผ่านมามุ่งเพิ่มผลผลิตสัตว์น�้าด้วยการขยายพื้นที่
              เพาะเลี้ยงเป็นหลัก นอกจากการเพาะเลี้ยงกุ้งแล้วในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าชนิดอื่นๆ
              ยังมีการพัฒนาด้านเทคนิคการเพาะเลี้ยง การผลิตอาหารของสัตว์น�้า การป้องกันและควบคุม
              โรคพยาธิ การแปรรูป การเก็บรักษา และการตลาด เป็นรองการขยายพื้นที่เพาะเลี้ยง กรมประมง
              ให้ความส�าคัญกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าสี่กลุ่ม คือ กุ้ง ปลากะพงขาวและปลากะรัง หอย และสัตว์
              น�้าจืด การเพาะเลี้ยงกุ้งมีปัญหาการเกิดโรค ความเสื่อมโทรมของสภาวะแวดล้อม การตกค้างของ

              ยาและสารเคมีในสินค้ากุ้งส่งออก การเพาะเลี้ยงปลากะพงขาวและปลากะรังมีปัญหาการ
              ขาดแคลนพันธุ์ปลากะรังและต้นทุนค่าอาหารสูง การเพาะเลี้ยงหอยมีปัญหาเกษตรกรขาดแหล่งทุน
              ขาดแคลนพันธุ์ และสภาวะพื้นที่เลี้ยงเสื่อมโทรม ปัญหาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าจืดได้แก่การก�าหนด
              เขตส่งเสริมที่ยังท�าได้ไม่ชัดเจน การตลาดที่ไม่เข้มแข็ง การเลี้ยงปลานิลไม่ได้ปลาขนาดตัวใหญ่
              และมีอัตรารอดต�่า รวมทั้งต้นทุนค่าอาหารสูง อีกทั้งยังมีปัญหาที่ถูกกล่าวหาเกี่ยวกับการใช้
              แรงงานเด็กโดยเฉพาะแรงงานต่างชาติในอุตสาหกรรมประมง

                   ปัจจุบันมีการรวมกลุ่มเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้าในรูปของ สหกรณ์ กลุ่มจดทะเบียน
              นิติบุคคล กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และกลุ่มธรรมชาติ กรมประมงส่งเสริมการรวมกลุ่ม (Cluster) กุ้ง
              มีการด�าเนินการประกันราคาสัตว์น�้าซึ่งจัดท�าให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงกุ้งขาว กรมประมงได้จัด
              ท�าแผนยุทธศาสตร์การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าปี 2555 - 2559 โดยก�าหนดวิสัยทัศน์ คือ “เพาะเลี้ยง
              สัตว์น�้ายั่งยืน ผลผลิตมั่นคง และปลอดภัย” ก�าหนดพันธกิจส่งเสริมพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า
              ที่ให้ผลผลิตมีคุณภาพปลอดภัยและเพียงพอ ส่งเสริมฟื้นฟูแหล่งเพาะเลี้ยง การวิจัยและพัฒนา
              กระบวนการผลิต การพัฒนาการตลาด องค์กร และบุคลากร นอกจากนี้กรมประมงยังจัดท�า
              ยุทธศาสตร์กุ้ง โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเพิ่ม
              ศักยภาพพื้นที่การเลี้ยงและสายพันธุ์ ศักยภาพการผลิตตามมาตรฐานสากล เพิ่มมูลค่าหลังการ
              เก็บเกี่ยว เพิ่มศักยภาพการตลาด และผลักดันการวิจัยเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้ง โดยให้ความ
              ส�าคัญแก่การแข่งขันในตลาดต่างประเทศ อย่างไรก็ตามภาคเอกชนที่เข้ามามีบทบาทมักเป็น
              ผู้ประกอบการรายใหญ่

                   นอกจากนี้ กรมประมงได้จัดท�ายุทธศาสตร์การพัฒนาปลานิล โดยก�าหนดพันธกิจเป็น
              การส่งเสริมเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ได้ผลผลิตสูงต้นทุนต�่า การส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร
              การพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพได้มาตรฐานตลอดจนสร้างมูลค่าเพิ่ม การเพิ่มอุปทานในประเทศ
              และสร้างรายได้จากการส่งออก ทั้งยังมุ่งจะพัฒนาระบบข่าวสาร




                          สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 15 I
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29