Page 22 -
P. 22
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พื้นที่ไร่อ้อยมาใช้เลี้ยงกุ้ง จนในปี 2535 เกิดโรคระบาดในกุ้งที่เลี้ยงท�าให้ผลผลิตลดลง ส�าหรับ
ปลานิลฟิลิปปินส์เคยน�าเข้าลูกพันธุ์จากประเทศไทยแต่ไม่เป็นที่นิยมเนื่องจากสีที่ค่อนข้างด�า
ฟิลิปปินส์มีการเลี้ยงปลานิลเชิงพาณิชย์มานานกว่าสี่สิบปี เหตุที่ท�าให้สามารถพัฒนาจนเป็น
ผู้ส่งออกปลานิลที่ส�าคัญรายหนึ่งของโลก คือการพัฒนาสายพันธุ์ปลานิลซึ่งรัฐบาลให้การสนับสนุน
ทั้งงานวิจัยและการส่งเสริมการเพาะเลี้ยง การตลาดและราคา มีความร่วมมือระหว่างภาครัฐ
และเอกชนในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลานิลให้เป็นแหล่งรายได้ที่ส�าคัญอีกแหล่งหนึ่งจากการ
เพาะเลี้ยงสัตว์น�้าของฟิลิปปินส์
เช่นเดียวกับอินโดนีเซียฟิลิปปินส์มีผลผลิตสาหร่ายจากการเพาะเลี้ยงอยู่มากใน
ปี 2554 มีผลผลิตจากการเพาะเลี้ยง 2.608 ล้านตัน ในจ�านวนนี้เป็นสาหร่ายทะเล 1.841 ล้านตัน
หรือร้อยละ 70.50 ที่เหลือเป็นผลผลิตสัตว์น�้า 0.767 ล้านตัน น้อยกว่าผลผลิตสัตว์น�้า จากการ
เพาะเลี้ยงของประเทศไทยที่มีอยู่ 1.008 ล้านตัน สัตว์น�้าที่เลี้ยงกันมากในฟิลิปปินส์ คือ
ปลานวลจันทร์ทะเล ซึ่งส่วนใหญ่เลี้ยงในน�้ากร่อยแต่ก็มีที่เลี้ยงในทะเลและในน�้าจืดด้วยมีผลผลิต
รวม 0.373 ล้านตัน หรือ ร้อยละ 14.30 ของผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงโดยรวมรองลงไปเป็น
การเลี้ยงปลานิลซึ่งส่วนใหญ่เลี้ยงในน�้าจืดแต่ก็มีที่เลี้ยงในน�้ากร่อยและในทะเลอีกเช่นกัน
มีผลผลิต 0.257 ล้านตัน หรือ ร้อยละ 9.85 ตามมาด้วยกุ้งกุลาด�าในน�้ากร่อย ผลผลิต 0.048
ล้านตัน หรือ ร้อยละ 1.82 ผลผลิตสัตว์น�้าอื่นๆ แต่ละชนิดมีไม่ถึงร้อยละหนึ่ง เช่น ผลผลิตจากการ
เพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่ในทะเล หอยนางรมในทะเล ปลาตะเพียนชนิด Cyprinids ในน�้าจืด
ปูทะเลในน�้ากร่อย กุ้งขาวในน�้ากร่อย ปลาดุกในน�้าจืด ปลากะรัง/กะพงขาวในทะเลและในน�้ากร่อย
ปลาช่อนปลาแรด และ กุ้งก้ามกรามในน�้าจืด (ตารางที่ 2.4)
อย่างไรก็ตามอัตราเพิ่มของผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงของฟิลิปปินส์ในช่วงปี 2523 - 2554
ร้อยละ 7.00 ต่อปี ต�่ากว่าอัตราเพิ่มของประเทศไทยร้อยละ 8.92 ต่อปี ไม่มากนัก ทั้งนี้อัตราเพิ่ม
ของผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนโดยรวมเป็นร้อยละ 9.95 ต่อปี
ทั้งไทยและฟิลิปปินส์มีอัตราเพิ่มของผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงต�่ากว่าเกณฑ์รวมของอาเซียน
นอกจากนี้ยังมีมาเลเซียซึ่งมีอัตราเพิ่มเพียงร้อยละ 6.61 ต�่าที่สุดในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน
ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ล้วนมีอัตราเพิ่มของผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย
กล่าวได้ว่าฟิลิปปินส์อาจไม่ใช่คู่แข่งที่มีศักยภาพของไทยในการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า การขยายตัว
ของการเพาะเลี้ยงในฟิลิปปินส์ที่ผ่านมาได้ท�าไปใกล้เต็มศักยภาพและเคยส่งผลให้ฟิลิปปินส์
สามารถครองอันดับผู้ผลิตที่มีผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสูงถึงอันดับที่ห้าของโลกมาแล้ว แต่ใน
ปัจจุบันการเพาะเลี้ยงเริ่มชะลอตัวลง
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 13 I