Page 18 -
P. 18
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในด้านปริมาณผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงประเทศไทยยังเป็นรองอินโดนีเซีย เวียดนามและ
ฟิลิปปินส์ อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งของผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงในสามประเทศนี้มีผลผลิตจาก
การเพาะเลี้ยงสาหร่าย ซึ่งหากไม่รวมผลผลิตสาหร่าย ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงในทั้งสามประเทศนี้
จะเป็น 2.767, 2.846 และ 0.767 ล้านตัน ตามล�าดับ ในรายงานผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงของ
ประเทศไทยไม่มีผลผลิตจากสาหร่าย หากไม่รวมสาหร่าย ประเทศไทยจะเลื่อนขึ้นมาเป็นอันดับ
ที่สาม มีผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ามากกว่าฟิลิปปินส์อยู่กว่าสองแสนตัน แต่ปริมาณ
ผลผลิตสัตว์น�้าจากการเพาะเลี้ยงของไทยยังมีไม่ถึงครึ่งหนึ่งของที่เวียดนาม และอินโดนีเซียเพาะ
เลี้ยงได้ ในด้านการเพิ่มผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงเพื่อทดแทนผลผลิตจากการท�าประมงตามแหล่ง
น�้าธรรมชาติ สัดส่วนที่ทดแทนได้ของประเทศไทย ยังเป็นรองทั้งสามประเทศที่กล่าวข้างต้น และ
ยังเป็นรอง สปป.ลาว ซึ่งไม่มีพื้นที่ติดทะเลจึงต้องเพิ่มผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงเป็นส�าคัญ และ
เป็นรองสิงคโปร์ซึ่งได้เร่งพัฒนาผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงตลอดมา อย่างไรก็ตามปริมาณผลผลิต
จากการเพาะเลี้ยงของทั้ง สปป.ลาว และสิงคโปร์ยังต�่ากว่าปริมาณที่ไทยเพาะเลี้ยงได้อยู่มาก
กล่าวได้ว่าในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนปริมาณผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าของประเทศไทย
ยังเป็นรองอินโดนีเซียและเวียดนาม
2.2 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าของประเทศอินโดนีเซีย
อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าสูงที่สุดในกลุ่มประเทศสมาชิก
อาเซียน มีพื้นที่เพาะเลี้ยงอยู่ 45.19 ล้านไร่ แต่กว่าครึ่งหนึ่งเป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงในทะเลซึ่งยังน�า
มาใช้น้อยมาก ส่วนมากใช้เพาะเลี้ยงสาหร่าย และยังมีการเลี้ยงปลากะรังในทะเลซึ่งอินโดนีเซีย
สามารถเพาะพันธุ์ปลากะรังชนิด Humpback grouper และ Tiger grouper ได้ กับการเลี้ยง
ปลากะพง และเลี้ยงหอยในทะเล พื้นที่ใช้เพาะเลี้ยงในทะเลส่วนมากอยู่แถบเกาะสุลาเวสี รองลง
ไปอยู่ในบริเวณบาหลีและนุสาเตงการา หากสามารถพัฒนาการเพาะเลี้ยงในทะเลได้อินโดนีเซีย
ยังมีพื้นที่เพาะเลี้ยงที่จะน�ามาใช้อีกมาก รองลงไป ร้อยละ 30.85 เป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงในน�้าจืด
13.941 ล้านไร่ ซึ่งน�ามาใช้ยังไม่ถึงหนึ่งในห้าส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ในเกาะชะวารองลงไปเป็นพื้นที่
ในเกาะสุมาตราทั้งแถบตะวันตกและตอนใต้ มีทั้งที่เลี้ยงในบ่อและในกระชัง พื้นที่เพาะเลี้ยงอีก
ร้อยละ 16.94 เป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงในน�้ากร่อย 7.656 ล้านไร่ น�ามาใช้ยังไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ส่วนใหญ่
เป็นการเลี้ยงในบ่อ และมักจะเป็นการเลี้ยงกุ้ง พบมากในเกาะชะวา และมีในสุลาเวสีตอนใต้ และ
ลัมพุง แต่การเลี้ยงกุ้งในอินโดนีเซียก็มีปัญหาโรคระบาดคล้ายกับที่พบในประเทศไทย อินโดนีเซีย
ยังมีพื้นที่เพาะเลี้ยงอยู่อีกมากที่สามารถน�ามาเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าได้ แต่ปัญหาคือพื้นที่เหล่านี้
ยังกระจัดกระจาย ระบบการขนส่งในประเทศยังมีข้อจ�ากัด เนื่องจากเป็นพื้นที่เกาะหลายๆ เกาะ
การพัฒนาการเพาะเลี้ยงที่รัฐด�าริเป็นการพัฒนาโดยอาศัยชุมชนเป็นแกนน�า การเพาะเลี้ยงใน
อินโดนีเซียเป็นไปเพื่อผลิตอาหารทดแทนผลผลิตจากการท�าประมงตามแหล่งน�้าธรรมชาติ ผลผลิต
ที่ได้จึงยังใช้บริโภคในประเทศมากถึงกว่าร้อยละแปดสิบของที่ผลิตได้ การพัฒนาเพาะเลี้ยงมี
บทบาทส�าคัญในการสร้างอาชีพ รายได้ และการจ้างงาน ให้แก่คนในประเทศ การพัฒนาการเพาะ
เลี้ยงมีการขยายตัวรวดเร็วในช่วงสามสิบปีที่ผ่านมา รัฐบาลอินโดนีเซียให้ความส�าคัญแก่การ
พัฒนาการเพาะเลี้ยงเพื่อทดแทนผลผลิตที่ลดลงจากการท�าประมง โดยเฉพาะหลังจากการห้าม
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 9 I