Page 14 -
P. 14
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
1.4 กำรเปิดเสรีของกำรเพำะเลี้ยงสัตว์น�้ำภำยใต้ประชำคมเศรษฐกิจอำเซียน
แนวทางการเปิดเสรีการลงทุนสาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า ภายใต้กรอบความตกลง ACIA
1
ไทยมีพันธกรณีจะต้องเปิดเสรีการลงทุนโดยจะต้องเปิดให้นักลงทุนจากประเทศสมาชิกอาเซียน
สามารถเข้ามาลงทุน ถือหุ้นในการประกอบกิจการได้สูงสุดร้อยละ 100 ของทุนจดทะเบียน ภายใน
วันที่ 1 มกราคม 2553 ซึ่งการเปิดเสรีการลงทุนภายใต้ความตกลง ACIA ไม่จ�าเป็นที่ประเทศ
สมาชิกอาเซียนจะต้องน�าสาขากิจการ/มาตรการที่จ�ากัดการลงทุนมาเปิดเสรี ให้กับนักลงทุนจาก
ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นเข้าถือหุ้นประกอบกิจการ 100% หรือยกเลิกมาตรการนั้นๆ ไปเท่านั้น
แต่ยังให้สมาชิกสามารถน�าสาขากิจการ/มาตรการมาปรับปรุงการเปิดเสรีที่เพิ่มขึ้น โดยผ่อนปรน
ข้อจ�ากัดต่างๆ ให้กับนักลงทุนอาเซียนมากขึ้น ซึ่งการด�าเนินการปรับปรุงและผ่อนปรนสาขา
กิจการ/มาตรการดังกล่าว ถือว่าได้เป็นการเปิดเสรีการลงทุนให้กับนักลงทุนอาเซียนเช่นกัน
การเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนมุมมองหนึ่งเห็นว่า
อาจเป็นผลดีในข้อที่จะช่วยดึงดูดการลงทุนเข้ามาในประเทศ ช่วยพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าใน
ประเทศให้มีประสิทธิภาพ และได้คุณภาพ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้าอาจมีทางเลือกในการ
เลือกซื้อปัจจัยการผลิตทั้งพันธุ์และอาหารสัตว์น�้ามากขึ้น รวมทั้งทางเลือกในการขายผลผลิต
สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรในประเทศ ดังที่เคยเป็นมาในการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งกุลาด�า
ซึ่งประเทศไทยมีโอกาสจากความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติในระยะที่เริ่มการพัฒนา แต่ใน
ขณะเดียวกันหากไม่มีการควบคุมผลกระทบสิ่งแวดล้อมการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าที่เกิดขึ้น
ก็อาจน�าไปสู่ความสูญเสียดังที่เกิดขึ้นในการล่มสลายของการเลี้ยงกุ้งกุลาด�า อันเป็นเหตุ
2
ให้ประเทศไทยต้องหันมาเลี้ยงกุ้งขาวอยู่ในปัจจุบัน
นอกจากในเรื่องของการลงทุนที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า
ประเทศไทยยังอาจได้รับโอกาสในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ามีโอกาสการจ้าง
งานมากขึ้น ตลอดจนอาจมีการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าในรูปแบบฟาร์มพันธะสัญญา
(Contract farming) ผู้ประกอบธุรกิจก็อาจมีช่องทางการลงทุนในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น
มีโอกาสมากขึ้นในการร่วมมือกันส่งออกสินค้าสัตว์น�้าจากภูมิภาค (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
ประเทศไทย 2555)
แต่ข้อเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีการลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า คือ อาจท�าให้กิจการ
เพาะเลี้ยงสัตว์น�้าเปลี่ยนไปเป็นของนักลงทุนต่างชาติ หากไม่มีระเบียบการเคลื่อนย้าย เงินทุนที่
เหมาะสม นักลงทุนต่างชาติอาจเคลื่อนย้ายผลประโยชน์กลับไปประเทศของตนได้ เกษตรกรราย
ย่อยอาจแข่งขันไม่ได้ต้องเลิกอาชีพนี้ไป นักลงทุนต่างชาติอาจน�าเข้าสินค้าสัตว์น�้าที่มีราคาถูกเข้า
มาตีตลาดสินค้าสัตว์น�้าไทย และหากขาดการควบคุมที่เหมาะสม อาจเกิดผลเสียต่อระบบนิเวศ
ในประเทศ นักลงทุนต่างชาติอาจน�าเข้าพันธุ์สัตว์น�้าที่ไม่มีในประเทศไทยและอาจเป็นภัยต่อพันธุ์
สัตว์น�้าในประเทศ (Invasive alien species) ตลอดจนอาจน�าพันธุ์สัตว์น�้าที่ควรสงวนไว้ใน
ประเทศไทยไปใช้ในต่างประเทศ (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 2555)
1 ASEAN Comprehensive Investment Agreement
2 ดูรายละเอียดใน Tokrisna ( 2006)
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 5 I