Page 10 -
P. 10

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว








                                 บทที่

                                    1




                                                                      บทน�ำ









              1.1  เกริ่นน�ำ

                   ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศผู้ผลิตสินค้าประมงที่ส�าคัญของโลก โดยผลผลิตจาก
              ภาคการประมงประกอบด้วยสัตว์น�้าที่ได้จากแหล่งน�้าธรรมชาติและสัตว์น�้าที่ได้จากการเพาะเลี้ยง
              อย่างไรก็ตามผลการจับสัตว์น�้าจากแหล่งน�้าธรรมชาติโดยเฉพาะจากการท�าประมงทะเลมี
              แนวโน้มลดลง ในขณะที่ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าเพิ่มขึ้นและเป็นที่คาดหวังว่าจะเข้ามา
              ทดแทนผลการจับสัตว์น�้าที่ลดลงจากการท�าประมงในแหล่งน�้าธรรมชาติได้บางส่วน จากข้อมูล
              ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติในปี 2554 พบว่าผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า
              ของประเทศไทยมีส่วนแบ่งในผลผลิตรวมจากภาคการประมงอยู่ร้อยละ 35.12 แม้ว่าจะมีแนวโน้ม
              เพิ่มขึ้นแต่ก็ยังไม่สามารถทดแทนการลดลงของผลการจับสัตว์น�้าจากการท�าประมงได้เต็มที่
                   อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเป็นหนึ่งในผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้าที่ส�าคัญของโลก โดยในปี 2551
              ประเทศไทยมีฐานะเป็นผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้าอันดับที่ห้าของโลก มีส่วนแบ่งของผลผลิตจากการ
              เพาะเลี้ยงสัตว์น�้าของโลกประมาณร้อยละ 2.6 เป็นรองจากเวียดนาม และอินโดนีเชียหากพิจารณา
              เฉพาะภูมิภาคอาเซียนด้วยกัน โดยประเทศทั้งสองมีส่วนแบ่งถึงร้อยละ 4.7 และ 3.2 ตามล�าดับ
                   โดยรวมแล้วในภูมิภาคอาเซียน ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงคิดเป็นร้อยละ 47.67 ของผลผลิต
              จากภาคประมง (ทั้งที่จับจากแหล่งน�้าธรรมชาติและที่เพาะเลี้ยง) ประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีส่วน
              แบ่งจากผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสูงกว่าเกณฑ์นี้แล้ว ได้แก่ สปป.ลาว สิงคโปร์ อินโดนีเซีย
              เวียดนาม และฟิลิปปินส์ ในประเทศไทยผลผลิตจากการท�าประมงลดลงแต่ยังไม่สามารถเพิ่ม
              ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าให้ขึ้นมาถึงเกณฑ์ของภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้เมื่อเกิดปัญหาใน
              การเพาะเลี้ยงกุ้งผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าลดลงอย่างชัดเจน
                   การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community, AEC) ที่จะ
              เกิดขึ้นในปี 2558 ประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องรวมกันเข้าเป็นฐานการผลิตและการตลาดเดียว
              ซึ่งนอกจากจะก้าวสู่นโยบายการค้าเสรีแล้วยังเป็นการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนเสรีเพิ่มขึ้นตามมา
              ส�าหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าก็เช่นกัน การเปิดเสรีการค้าและการลงทุนดังกล่าวของไทยจะเป็น
              โอกาสของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ โดยเฉพาะบริษัทธุรกิจฟาร์มซึ่งจะเคลื่อนย้ายทุนและมองหาช่อง



                           สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 1 I
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15