Page 15 -
P. 15
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีการลงทุนและการค้าสินค้าสัตว์น�้าคือ การที่เกษตรกร
ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้าส่วนใหญ่ของไทยเป็นเกษตรกรรายย่อยที่มีต้นทุนการผลิตสูง อาจไม่สามารถ
แข่งขันกับการลงทุนของต่างชาติได้อาจมีปัญหาการเข้ามาใช้ทรัพยากรในประเทศโดยนักลงทุน
ต่างชาติทั้งเกษตรกรไทยอาจยังขาดข่าวสารข้อมูลการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจ�าเป็นที่
จะต้องมีการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทย เพื่อให้แข่งขันได้ในประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียนทั้งในด้านทักษะการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตและการแปรรูป
ทักษะทางการตลาดตลอดจนการรวมกลุ่มการผลิตและการตลาด เพื่อเพิ่มรายได้และความ
เข้มแข็งให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ารายย่อยของประเทศไทย (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
ประเทศไทย 2555)
กรมประมงได้วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าใน
ประเทศไทยไว้ดังนี้ จุดแข็งของการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าในประเทศไทยอยู่ที่การมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์
ของประเทศอยู่ในจุดที่เหมาะสมมีองค์ความรู้ด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า เกษตรกรมีทักษะพร้อม
ที่จะปรับตัว มีโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้ออ�านวยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในภูมิภาคเดียวกัน
มีอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เข้มแข็งภาครัฐและเอกชนพร้อมที่จะปรับตัวตามมาตรฐานสากลมีเครือข่าย
ถ่ายทอดองค์ความรู้ และควบคุมก�ากับดูแลรัฐสนับสนุนการขยายตลาดภายในประเทศและ
การยกระดับมาตรฐานสินค้า ทั้งยังมีสัตว์น�้าหลายชนิดที่สามารถพัฒนาเป็นสัตว์น�้าเศรษฐกิจได้ แต่ก็
มีจุดอ่อน คือ ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น งบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนายังไม่เพียงพอ ข้อมูลยัง
ขาดความชัดเจน ยังไม่มีการบูรณาการกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องท�าให้ไม่สามารถน�ามาใช้ควบคุมได้
อย่างมีประสิทธิภาพ เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นรายย่อย เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ยาก ยังไม่สามารถ
รวมกลุ่มได้อย่างเข้มแข็ง ในส่วนของโอกาสจากปัจจัยภายนอก คือ แนวโน้มความต้องการบริโภค
สัตว์น�้าของประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น โดยต้องอาศัยผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงเข้ามาทดแทนผลจับ
ตามแหล่งน�้าธรรมชาติที่ลดลงในส่วนของอุปสรรค ได้แก่ การกีดกันทางการค้าในรูปแบบ
ที่ไม่ใช่ภาษี ผลกระทบเชิงลบที่มีต่อระบบนิเวศที่อาจเกิดขึ้น ความผันผวนของราคาที่เกิดจาก
ปัจจัยภายนอก เช่น ค่าเงินบาทและผลผลิตของประเทศอื่นๆ และภัยธรรมชาติ เช่น อุทกภัย ตลอด
จนความเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่มีผลต่ออุณหภูมิและความเค็มของน�้า (กรมประมง 2554) ควรน�า
ปัจจัยเหล่านี้มาประเมินเพื่อประกอบการหาข้อเสนอแนะแนวทางพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยง
สัตว์น�้าไทย
ในบทต่อไปจะได้น�าเสนอถึงสถานภาพของการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าที่ส�าคัญบางชนิดใน
อาเซียน ปริมาณสัดส่วนของผลผลิตจากการเพาะเลี้ยง รวมถึงประเภทของการเพาะเลี้ยงเพื่อ
สะท้อนและเปรียบเทียบให้เห็นระดับการจัดการ และการพัฒนาระบบการเพาะเลี้ยงของแต่ละ
ประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
6 >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน