Page 13 -
P. 13

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                  ในการประชุม Meeting Social and Economic Challenges on Aquaculture in Southeast
            Asia ที่จัดขึ้นโดย Southeast Asian Fisheries Development Center (SEAFDEC) ในปี ค.ศ. 2010
            Tokrisna รายงานว่า การพัฒนาเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าในภูมิภาคอาเซียนมีผลทั้งในแง่บวกและแง่ลบ

            ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม ควรมีการประเมินค่าผลที่เกิดขึ้นแก่ระบบนิเวศและน�ามาประกอบการ
            ตัดสินใจลงทุนพัฒนา นอกจากนั้นการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ายังอาจมีผลต่อกิจกรรม
            อื่นๆ ในพื้นที่ เช่น การท่องเที่ยว โครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนอุตสาหกรรมต่อเนื่องตั้งแต่ต้นน�้า คือ
            การเพาะฟัก การผลิตอาหารสัตว์น�้าไปจนถึงปลายน�้า คือ การแปรรูป ทั้งยังเป็นแหล่งรายได้
            ไม่ว่าในรูปของค่าจ้างเพื่อการท�างานในการเลี้ยงเชิงพาณิชย์ ในรูปรายได้ของผู้เพาะเลี้ยงรายย่อย
            หรือ ในรูปมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตที่ตกแก่อุตสาหกรรม ผลผลิตที่ได้จากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า
            เป็นแหล่งอาหารที่ให้ความมั่นคงทางอาหาร เป็นแหล่งท�ารายได้จากการส่งออก ประเด็นที่ควร
            พิจารณาในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า คือ การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าควรเป็นไปในลักษณะยั่งยืน
            ไม่ท�าลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งควรให้ชุมชนเข้ามามีบทบาทร่วมกับภาครัฐในการบริหารจัดการ วิธีการ

            เพาะเลี้ยงที่น�ามาใช้ควรเป็นวิธีที่ไม่ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศ หรือ อย่างน้อยต้องค�านึงถึงผลกระทบ
            วงนอก (Externalities) ที่เกิดขึ้น และน�ามาคิดเป็นต้นทุนแก่ผู้ก่อผลกระทบเพื่อควบคุมการพัฒนา
            ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ควรพัฒนาผลผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ในเรื่องของ
            มาตรการการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี การรวมกลุ่มในลักษณะของประชาคมเศรษฐกิจ
            อาเซียนสามารถเพิ่มอ�านาจการต่อรองเพื่อลดปัญหาการกีดกันการค้าสินค้าสัตว์น�้าลงได้ เพื่อให้
            ได้ผลผลิตที่มีมาตรฐานควรมีเกณฑ์ความร่วมมือที่พัฒนาขึ้นเป็นสากลที่สามารถน�ามาใช้และ
            ขยายผลในหมู่ผู้เพาะเลี้ยงได้ เช่น Better Management Practice (BMP), Good Aquaculture

            Practice (GAP), Code of Conduct for Responsible Aquaculture Practice (CCRAP), Euro
            Retailer Produce Working Group of Good Agriculture Practice (EUREPGAP) และ Global
            Partnership of Good Agriculture Practice (GPGAP) ภาครัฐควรถ่ายทอดข้อมูลให้ผู้เพาะเลี้ยง
            สัตว์น�้าได้รับทราบเกณฑ์ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติและพัฒนาคุณภาพผลผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
            ส�าหรับการส่งออก ตลอดจนพัฒนาแนวทางการออกใบรับรองส�าหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า
            ซึ่งควรจะเป็นไปในแนวทางเดียวกันส�าหรับในภูมิภาคอาเซียนที่ส�าคัญคือ การสร้างเสริมความ
            สามารถของผู้เพาะเลี้ยงรายย่อย โดย การพัฒนาการรวมกลุ่มเกษตรกร การส่งเสริมโดยภาครัฐ
            ทั้งในเรื่องของแหล่งทุนและการถ่ายทอดความรู้และการตลาด ทั้งนี้อาจเริ่มจากการประเมินสภาวะ
            เศรษฐกิจสังคมของชุมชนที่เพาะเลี้ยงสัตว์น�้าเพื่อให้เข้าใจสถานะของเกษตรกรและสภาวะแวดล้อม

            รวมทั้งสภาวะทางกายภาพของพื้นที่ เครื่องมือที่จะน�ามาใช้ประเมินชุมชน ได้แก่ Context-Input-
            Process-Product (CIPP) Strength-Weakness-Opportunity-Threat (SWOT) การวิเคราะห์ตลาด
            และการจัดการโซ่อุปทาน เพื่อน�ามาวางแผนพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าในพื้นที่สร้างเสริมความ
            สามารถให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ (Tokrisna 2010)








            4    >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18