Page 16 -
P. 16
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่
2 สถานภาพ
การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าของประเทศ
ในประชาคมอาเซียน
การท�าประมงมากจนเกินระดับที่เหมาะสมท�าให้ผลผลิตจากการท�าประมงตามแหล่งน�้า
ธรรมชาติตกอยู่ในภาวะเสื่อมโทรมและไม่อาจเพิ่มปริมาณการจับขึ้นได้ทันกับความต้องการบริโภค
ที่เพิ่มขึ้นตามจ�านวนประชากรและน�าไปสู่ภาวะการขาดแคลนแหล่งอาหารโปรตีนจากสัตว์น�้าซึ่ง
เป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ส�าคัญของประชากรโลกการตระหนักถึงปัญหาการชะลอตัวลง
ของผลผลิตที่ท�าประมงได้ตามแหล่งน�้าธรรมชาติ และการหาแนวทางแก้ไขด้วยการเพิ่มผลผลิต
จากการเพาะเลี้ยงจึงเป็นทางออกของการทดแทนสินค้าสัตว์น�้าที่ได้จากการจับจากธรรมชาติ
ดังจะเห็นได้ว่าผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าได้เพิ่มขึ้นจาก 7.347 ล้านตันในปี 2523 คิดเป็น
ร้อยละ 9.72 ของผลผลิตรวมจากภาคการประมง 75.613 ล้านตัน (มีผลผลิตจากการท�าประมง
ตามแหล่งน�้าธรรมชาติอยู่ 68.266 ล้านตัน) เป็น 83.729 ล้านตันในปี 2554 คิดเป็นร้อยละ 46.95
ของผลผลิตรวมจากภาคประมง เกือบครึ่งหนึ่งของผลผลิตรวมจากภาคประมงที่มีอยู่ 178.323
ล้านตัน (มีผลผลิตจากการท�าประมงตามแหล่งน�้าธรรมชาติอยู่ 94.594 ล้านตัน) ในภูมิภาคอาเซียน
ก็มีแนวโน้มการพัฒนาผลผลิตสัตว์น�้าจากการเพาะเลี้ยงมาทดแทนการจับสัตว์น�้าที่ได้จาก
แหล่งน�้าธรรมชาติเช่นกัน ในบทนี้จะกล่าวถึงผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าของประเทศสมาชิก
อาเซียนโดยรวมและในรายประเทศ
2.1 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงของประเทศสมาชิกอาเซียนโดยรวม
ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงจากกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนโดยรวมเป็น 16.112 ล้านตัน
ในปี 2554 หรือร้อยละ 19.24 ของผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงของโลก เกือบครึ่งหนึ่ง (7.937 ล้านตัน)
มาจากการเพาะเลี้ยงในอินโดนีเซีย รองลงไปเป็นเวียดนาม (3.053 ล้านตัน)ตามมาด้วยฟิลิปปินส์
(2.608 ล้านตัน) ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงในประเทศไทยอยู่ในอันดับที่สี่ (1.008 ล้านตัน) ประเทศ
ที่มีผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงในหลักแสนตัน คือ สหภาพพม่า (0.817 ล้านตัน) มาเลเซีย (0.527
ล้านตัน) ที่มีผลผลิตในหลักหมื่นตันได้แก่ สปป.ลาว (0.086 ล้านตัน) กัมพูชา (0.072 ล้านตัน)
ที่มีผลผลิตในหลักพันตัน คือ สิงคโปร์ (3,972 ตัน) และที่มีผลผลิตในหลักร้อยตัน คือ บรูไน (530 ตัน)
(ตารางที่ 2.1)
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 7 I