Page 20 -
P. 20
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.3 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าของประเทศเวียดนาม
การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าในเวียดนามในช่วงก่อนปี 2500 ส่วนมากเป็นการเพาะเลี้ยงขนาดเล็ก
ในแบบพื้นบ้านมีการเลี้ยงปลาในนาข้าวและเลี้ยงสัตว์อื่นๆ ร่วมกับการเลี้ยงปลา การพัฒนาการ
เพาะเลี้ยงเริ่มท�าอย่างจริงจังเมื่อประมาณสามสิบปีที่ผ่านมา และมุ่งการผลิต เพื่อการส่งออกโดย
เฉพาะการเลี้ยงปลาสวายตลอดจนมีการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งกุลาด�า การเลี้ยงปลาสวายประสบ
ความส�าเร็จเป็นผลผลิตหลักในปัจจุบัน ซึ่งเวียดนามสามารถส่งออกในลักษณะปลาแล่เนื้อ
เป็นชิ้น เป็นปลาเนื้อขาวที่เข้าไปครองตลาดในสหภาพยุโรป ส่วนกุ้งกุลาด�าในระยะหลังมีปัญหา
โรคระบาดซึ่งเวียดนามก็หันมาเลี้ยงกุ้งขาวเช่นเดียวกับที่ท�ากันอยู่ในประเทศไทยและก็พบปัญหา
โรค EMS (Early Mortality Syndrome) ที่ท�าให้ผลผลิตลดลงมากเช่นกัน พบว่ามีผู้ประกอบการใน
ประเทศไทยส่งออกกุ้งผ่านกัมพูชาเข้าไปเวียดนามซึ่งคาดว่าส่งออกต่อยังประเทศจีน การเพาะเลี้ยง
ในเวียดนามแตกต่างกันไปตามพื้นที่ คาดว่ามีพื้นที่เพาะเลี้ยงไม่ต�่ากว่า 5.643 ล้านไร่ ในภาคเหนือ
มีการเลี้ยงปลาน�้าจืดในบ่อ และเลี้ยงปลาในนาข้าว ทั้งยังมีการเพาะเลี้ยงในทะเลโดยเป็นการเลี้ยง
ปลาทะเลในกระชัง ในภาคกลางมีการเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนา เลี้ยงปลาสวายบริเวณปากแม่น�้าโขง
มีการเลี้ยงปลาทะเล และล็อบสเตอร์ในกระชัง ในภาคใต้มีการเพาะเลี้ยงหลากหลายแต่ส่วนใหญ่
เป็นการเลี้ยงปลาสวายซึ่งมีทั้งที่เลี้ยงในบ่อ ในที่ล้อมรั้ว และในกระชังและยังมีการเลี้ยงปลาใน
นาข้าว เลี้ยงกุ้งก้ามกรามในนาข้าว และการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าในพื้นที่ป่าชายเลน เช่น เลี้ยงปูทะเล
หลังสงครามรัฐบาลเวียดนามให้ความส�าคัญแก่การพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าให้เป็นอาชีพหลัก
ในชนบท ก่อนสิ้นสงครามเวียดนามมีสหกรณ์การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าและด�าเนินการเพาะเลี้ยงใน
รูปแบบรัฐวิสาหกิจอยู่แล้วเป็นรากฐานการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าขึ้นมาเป็นภาคเศรษฐกิจ
ที่ส�าคัญ หลังสงครามสามารถท�ารายได้ส่งออกจากการเลี้ยงกุ้งและปลาสวายมีการส่งเสริมการ
พัฒนาการเพาะเลี้ยงโดยชุมชนตามพื้นที่ชายฝั่งในการวิจัยเพื่อพัฒนาการเพาะเลี้ยง เวียดนามมี
การพัฒนาการผลิตลูกพันธุ์ วิธีการเพาะเลี้ยง อาหารสัตว์น�้า ตลอดจนการรักษาความสดและการ
แปรรูป โดยชนิดสัตว์น�้าที่ให้ความส�าคัญนอกไปจากปลาสวายและกุ้งในกลุ่มสัตว์น�้าจืด ได้แก่
ปลาหมอ ปลาชะโด กุ้งก้ามกราม และ Spotted gourami ในกลุ่มสัตว์น�้ากร่อย/ทะเล ได้แก่ ปูทะเล
ปูม้า ปลาช่อนทะเล (Cobia) ปลากะรังชนิด Orange-spotted grouper รวมถึงหอยแครง
และหอยตลับ
ในเวียดนามผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงมาจากการเพาะเลี้ยงในน�้าจืดมากที่สุดตามมาด้วย
ในน�้ากร่อยและในทะเล มีการเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเลไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับอินโดนีเซีย
ในปี 2554 มีผลผลิตสาหร่ายทะเล 0.207 ล้านตัน หรือ ร้อยละ 6.78 ของผลผลิตจากการ
เพาะเลี้ยงโดยรวม ดังนั้นเมื่อไม่รวมสาหร่าย เวียดนามจึงเป็นประเทศที่มีผลผลิตสัตว์น�้าจากการ
เพาะเลี้ยงสูงเป็นอันดับที่หนึ่งของประเทศสมาชิกอาเซียน สัตว์น�้าที่มีผลผลิตจากการเพาะเลี้ยง
มากที่สุดในเวียดนาม คือ การเพาะเลี้ยงปลาสวายในน�้าจืด มีผลผลิต 1.151 ล้านตัน หรือ ร้อยละ
37.71 ในปี 2554 ตามมาด้วยการเลี้ยงปลาตะเพียนชนิด Cyprinids ในน�้าจืด มีผลผลิต 0.490
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 11 I