Page 12 -
P. 12

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




              1.3  สัตว์น�้ำส�ำคัญที่มีกำรเพำะเลี้ยงในอำเซียน

                   สัตว์น�้าที่เพาะเลี้ยงกันมากในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ กุ้งขาว ปลานิล
              ปลานวลจันทร์ทะเล ปลาสวาย ปลาไน หอยแมลงภู่ ปลายี่สกเทศ และปลาตะเพียน ชนิดของสัตว์
              น�้าที่เพาะเลี้ยงมีแนวโน้มหลากหลายมากขึ้นในระยะหลัง (Lymeret al. 2008) ประเทศไทยเป็น
              ผู้น�าการผลิตกุ้งขาวในภูมิภาคอาเซียน แต่ยังเป็นรองประเทศจีน ซึ่งมีผลผลิตมากกว่าไทยถึง
              หนึ่งเท่า ผู้ผลิตกุ้งขาวจากภูมิภาคอาเซียนในอันดับรองลงไปจากไทยคือเวียดนามและอินโดนีเซีย
                   ส�าหรับปลานิล จีนเป็นผู้ผลิตอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์
              ไทยเป็นผู้ผลิตอันดับที่สี่ และยังมี มาเลเซีย สปป.ลาว และ สหภาพพม่า เป็นผู้ผลิตที่ส�าคัญใน
              กลุ่มอาเซียน แต่ในการส่งออกปลานิล จีนเป็นผู้น�าการส่งออก ตามมาด้วยไต้หวันไทยเป็นผู้ส่ง
              ออกปลานิลอันดับที่สามโดยปริมาณการส่งออกยังน้อยกว่าจีนและไต้หวันอยู่มาก
                   ปลานวลจันทร์ทะเล (Milkfish Chanos chanos) เลี้ยงกันมากในฟิลิปปินส์ ผลผลิตจาก
              การเพาะเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลรองจากฟิลิปปินส์คืออินโดนีเซีย ทั้งสองประเทศเป็นผู้น�าในการ
              เพาะเลี้ยงปลานวลจันทร์ทะเลในภูมิภาคนี้ การเพาะเลี้ยงปลานวลจันทร์ในประเทศไทยมีรายงาน
              เฉพาะการเลี้ยงปลานวลจันทร์ในน�้าจืดที่เรียกกันว่านวลจันทร์เทศ (Ctirrhinusmrigala) เป็นคน
              ละชนิดกับปลานวลจันทร์ทะเล

                   ประเทศเวียดนามเป็นผู้ผลิตและส่งออกปลาสวาย ซึ่งเป็นชนิด Pangasius boucouti ที่
              รู้จักกันในประเทศไทยในชื่อปลาเผาะหรือปลาโมง เป็นส�าคัญ เวียดนามได้พัฒนาการเพาะเลี้ยง
              ปลาสวายอย่างรวดเร็ว และสามารถเข้าไปครองตลาดสหภาพยุโรปได้ถึงร้อยละ 40 ของตลาด
              ปลาน�้าจืดชนิดที่แล่เป็นชิ้น (Fillet) ในตลาดนี้ เวียดนามสามารถพัฒนาผลผลิตปลาน�้าจืดชนิดนี้
              ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในตลาดต่างประเทศ ส่งผลให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า
              ในเวียดนามพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
                   ในกลุ่มของปลาไนมีปลาหลากหลายชนิดและเมื่อรวมกลุ่มปลาตะเพียนไว้ในกลุ่มนี้ด้วย
              ประเทศสมาชิกอาเซียนที่เป็นผู้น�าในการผลิตสัตว์น�้าในกลุ่มนี้ ได้แก่ อินโดนีเซีย พม่า ไทย และ
              สปป.ลาว ตามล�าดับ
                   ส�าหรับหอยแมลงภู่ผู้น�าในการผลิตจากอาเซียนคือ ไทย และ ฟิลิปปินส์ สหภาพพม่าเป็น
              ผู้น�าในการเพาะเลี้ยงปลายี่สกเทศในอาเซียน มีการเลี้ยงปลายี่สกเทศ ใน สปป.ลาว และ
              ประเทศไทย แต่มีปริมาณน้อยเป็นประมาณร้อยละสิบและร้อยละห้าของที่เลี้ยงในสหภาพพม่า
              มีโอกาสการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าจากอุปสงค์สัตว์น�้าที่เพิ่มขึ้น และการเข้าไปทดแทน
              ผลผลิตที่ลดลงจากการท�าประมงตามแหล่งน�้าธรรมชาติ แต่จ�าเป็นต้องพัฒนาผลผลิตให้มี
              คุณภาพ และความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้ารายย่อยต้องมีการ
              ปรับกระบวนการผลิตให้ได้มาตรฐาน ทั้งนี้ควรมีการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อสร้างเสริมศักยภาพ
              ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า อนึ่งควรมีการปรับปรุงอาหารสัตว์น�้าที่ใช้ให้ได้มาตรฐานและมีต้นทุนที่
              ลดลงเพื่อให้เกษตรกรรายย่อยได้ใช้ ในส่วนของการบริหารจัดการของรัฐควรมีการด�าเนินการ
              จดทะเบียนเพื่อสนับสนุนการสืบมาตรฐาน (Traceability) การออกใบรับรอง (Certification) และ
              การวางแผนการใช้พื้นที่และทรัพยากรอย่างบูรณาการร่วมกับภาคการผลิตอื่นๆ เพื่อให้มีการใช้
              พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น�้าอย่างเหมาะสม


                           สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 3 I
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17