Page 29 -
P. 29

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




                  ประเทศไทยยังมีโอกาสจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะเข้าไปลงทุนเพาะเลี้ยง
            สัตว์น�้าในสหภาพพม่าและมาเลเซีย เพื่อขยายฐานการผลิตโดยความร่วมมือกับเพื่อนบ้านซึ่งมี
            พื้นที่ส�าหรับการเพาะเลี้ยง ส�าหรับในอินโดนีเซียและเวียดนามปัจจุบันมีผู้ประกอบการรายใหญ่
            เข้าไปลงทุนเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าอยู่แล้ว เช่น เครือเจริญโภคภัณฑ์ที่เข้าไปลงทุนเพาะเลี้ยงและแปรรูป
            ปลาสวาย และในอินโดนีเซียก็มีการเข้าลงทุนพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งขาวโดยอินโดนีเซียคาดหวัง
            การพัฒนาเพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ชุมชนในพื้นที่เป็นส�าคัญ

                  ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นยังมีผลผลิตจากการเพาะเลี้ยง
            ไม่มากแต่ก็ได้เร่งพัฒนาเพื่อทดแทนผลผลิตจากการท�าประมงจากแหล่งน�้าธรรมชาติจนท�าให้มี
            อัตราเพิ่มของผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสูงกว่าที่เป็นอยู่ในประเทศไทย


            2.8  การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าของ สปป.ลาว

                  การเพาะเลี้ยงใน สปป.ลาวมีเฉพาะการเพาะเลี้ยงในน�้าจืด ซึ่งใช้บริโภคในประเทศเป็น
            ส�าคัญ ปลาที่เลี้ยงมีทั้งปลาจีน ปลาไน ปลาตะเพียน และปลาอื่นๆ ที่อาศัยพันธุ์ปลาจากแหล่งน�้า
            ธรรมชาติ เช่น ปลาช่อน ปลาไหล และปลาซิว ยังมีสัตว์น�้าอื่นๆ เช่น กุ้ง กบ และหอยทาก
            การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้ามักจะเป็นการเพาะเลี้ยงเพื่อบริโภคในครัวเรือนเป็นหลัก ระบบการเพาะเลี้ยง
            ใน สปป.ลาว มีทั้งการเลี้ยงในนาข้าว ในบ่อ และในกระชัง การเลี้ยงปลาในนาข้าวท�ากันในเขต
            ชลประทานซึ่งหาลูกพันธุ์ปลาได้ง่าย ผู้เพาะเลี้ยงสามารถเพาะพันธุ์ได้เองอีกส่วนหนึ่ง ไม่นิยมซื้อ
            ลูกพันธุ์เนื่องจากต้องลงทุนและการเลี้ยงก็เลี้ยงเพื่อบริโภคในครัวเรือนเป็นส�าคัญ หากเป็น
            การเลี้ยงในบริเวณใกล้ที่ตั้งของชุมชนเกษตรกรยังสามารถมีรายได้จากการขายผลผลิต

                  การเลี้ยงปลาในกระชังของ สปป.ลาว เริ่มจากการเลี้ยงในอ่างเก็บน�้า “น�้างึม” เมื่อประมาณ
            30 ปีที่แล้ว มีการเลี้ยงปลานิล ปลาช่อน ปลาลิ่น และปลาเผาะ สปป.ลาว มีการเลี้ยงปลานิลใน
            กระชังแบบพัฒนาโดยรับเทคโนโลยีจากประเทศไทย การเลี้ยงในบ่อมักจะเป็นบ่อที่ขุดกันเอง
            มีความลึกไม่เกิน 50 เซนติเมตร มีผลผลิตต�่า ยังมีข้อจ�ากัดด้านลูกพันธุ์และอาหารสัตว์น�้า มักจะ
            เลี้ยงปลาพันธุ์พื้นเมืองเนื่องจากช่วงแล้งมีระยะนานถึง 6 เดือนการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าในบ่อ
            ใน สปป.ลาว จึงท�าได้ในระยะสั้นที่มีน�้าพอเพียง การเลี้ยงสัตว์น�้า ตามชนบทใน สปป.ลาว เป็นการ
            เพาะเลี้ยงที่ใช้ต้นทุนต�่า ขุดบ่อกันเอง ถ้ามีการให้อาหารส�าเร็จรูปก็มักจะเป็นที่น�าเข้าจาก
            ประเทศไทยและมีราคาสูง การขนส่งที่ไม่สะดวกเป็นข้อจ�ากัดของการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์
            ในช่วงน�้าหลากจะมีสัตว์น�้าที่ได้จากธรรมชาติเป็นจ�านวนมากราคาสัตว์น�้าลดลง ดังนั้นการเพาะเลี้ยง
            ต้องมีต้นทุนต�่าเพื่อให้แข่งขันได้
                  ในปี 2554 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงของ สปป.ลาว คือ 0.086 พันตัน เป็นการ
            เพาะเลี้ยงในน�้าจืด ที่มีผลผลิตสูงเป็นหกอันดับแรก คือ ปลานิล ปลานวลจันทร์น�้าจืดปลาลิ่น
            ปลาหัวโต ปลาตะเพียนขาว และปลาไน ตามล�าดับ ในฤดูแล้งขาดแคลนน�้าผลผลิตมีน้อย
            ประเทศไทยมีโอกาสที่จะส่งผลผลิตเข้าไปขายใน สปป.ลาว ซึ่งปัจจุบันก็มีการค้าชายแดน และ
            ส่งปลานิลเข้าไปขายในประเทศนี้ (ตารางที่ 2.8)





            20    >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34