Page 31 -
P. 31
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กัมพูชายังต้องอาศัยผลผลิตจากการท�าประมงเป็นหลัก ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงใน
ปี 2554 มีเพียงร้อยละ 12.81 ของผลผลิตจากภาคการประมงโดยรวม แต่ก็มีความพยายาม
พัฒนาการเพาะเลี้ยงและมีอัตราเพิ่มของผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสูงกว่าอัตราเพิ่มของ
ประเทศไทย ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงของกัมพูชาเป็น 0.072 ล้านตันในปี 2554 ส่วนใหญ่เป็น
การเพาะเลี้ยงในน�้าจืด ที่มีผลผลิตมากที่สุดคือ ปลาสวาย ผลผลิต 0.027 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ
36.67 ของผลผลิตจากการเพาะเลี้ยง ก่อนที่เวียดนามจะประสบความส�าเร็จในการพัฒนาการ
เพาะเลี้ยงปลาสวาย เคยน�าเข้าพันธุ์ปลาสวายจากกัมพูชามาแล้ว และในปีนี้ผลผลิตปลาสวาย
ของกัมพูชายังสูงกว่าปลาสวายที่ประเทศไทยได้จากการเพาะเลี้ยง อันดับรองลงไป ยังเป็นการ
เพาะเลี้ยงปลาชนิดต่างๆ ในน�้าจืด ได้แก่ ปลาตะเพียน ปลาสลิด ปลาช่อน ปลาตะเพียนชนิด
Cyprinids ปลานิล และปลาดุก ตามล�าดับ มีการเลี้ยงหอยแมลงภู่และหอยแครง แต่ผลผลิตที่ได้
เป็นรองการเพาะเลี้ยงในน�้าจืดที่กล่าวมาแล้ว ที่มีผลผลิตไม่ถึงร้อยละหนี่ง ได้แก่ ปลากะพงขาว
และปลากะรังที่เลี้ยงในทะเล กุ้งก้ามกรามในน�้าจืด การเลี้ยงกุ้งในน�้ากร่อยซึ่งมักจะเป็นกุ้งตะกาด
ที่อาศัยลูกพันธุ์จากธรรมชาติ และปูทะเลที่เลี้ยงในน�้ากร่อย (ตารางที่ 2.9)
การพัฒนาการเพาะเลี้ยงในกัมพูชายังมีข้อจ�ากัดในด้านโลจิสติคส์ ทั้งยังขาดแคลนพันธุ์
และอาหารสัตว์น�้า อนึ่งกัมพูชามีผลผลิตจากการท�าประมงน�้าจืดในทะเลสาบอยู่มาก สามารถ
ส่งเข้ามาขายในประเทศไทย อย่างไรก็ตามรัฐส่งเสริมการเพาะพันธุ์และเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า กัมพูชา
จึงไม่น่าจะเป็นตลาดส�าหรับการส่งออกสัตว์น�้าจากประเทศไทย แต่ปัจจุบันมีผู้ประกอบการให้
ข้อมูลว่าสามารถส่งกุ้งขาวจากไทยผ่านเข้าไปในกัมพูชา เพื่อส่งต่อไปเวียดนาม และขายให้แก่จีน
เป็นประเทศปลายทาง
ตารางที่ 2.9 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงที่ส�าคัญในประเทศกัมพูชา ปี 2554
ชนิดสัตว์น�้า (อันดับที่; ปริมาณ: พันตัน; ส่วนแบ่งผลผลิตเพาะเลี้ยงทั้งหมด: %)
กัมพูชา ปริมาณรวม 72.000 พันตัน
น�้าจืด น�้ากร่อย ทะเล
(1 ; 69.38 พันตัน;96.36%) (3 ; 0.12 พันตัน; 0.17%) (2 ; 2.50 พันตัน; 3.47%)
rd
st
nd
ปลาสวาย (1 ; 26.4; 36.67%) กุ้งทะเล (13 ; 0.1; 0.14%) หอยแมลงภู่ (8 ; 1.2; 1.67%)
th
th
st
th
ปลาตะเพียนขาว ปูทะเล (14 ; 0.02; 0.03%) หอยแครง (9 ; 0.8; 1.11%)
th
(2 ; 12.6; 17.50%)
nd
ปลาสลิด (3 ; 7.3; 10.14%) ปลากะพงขาว (10 ; 0.14; 0.19%)
th
rd
th
ปลาช่อน (3 ; 7.3; 10.14%) ปลากะรัง (10 ; 0.14; 0.19%)
rd
ปลาตะเพียน (5 ; 6.8; 9.50%)
th
ปลานิล (6 ; 2.0; 2.78%)
th
ความส�าคัญของสัตว์น�้าอื่นๆ ที่ศึกษา(อันดับที่; ปริมาณ: พันตัน; ส่วนแบ่งผลผลิตเพาะเลี้ยง: %)
ปลาดุก (7 ; 1.95; 2.71%)
th
th
กุ้งก้ามกราม (12 ; 0.14; 0.19%)
ที่มา : ค�านวณจากข้อมูลของ Food and Agriculture Organization (2010)
22 >> สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน