Page 32 -
P. 32
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2.10 การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าของประเทศสิงคโปร์
สิงคโปร์มีข้อจ�ากัดด้านพื้นที่การเพาะเลี้ยงสัตว์น�้า เนื่องจากที่ดินมีจ�ากัดและมีราคาสูง ไม่คุ้ม
ที่จะน�ามาใช้เพาะเลี้ยงสัตว์น�้า ผลผลิตทั้งจากการท�าประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าของสิงคโปร์
มีแนวโน้มลดลง แม้สิงคโปร์จะมีความพยายามในการเพิ่มผลผลิตการเพาะเลี้ยงเพื่อลดการพึ่งพา
การน�าเข้า มีการพัฒนาการเพาะเลี้ยงด้วยการเลือกวิธีที่ใช้ที่ดินไม่มากและให้ผลตอบแทนสูง
ตลอดจนการเพาะเลี้ยงในทะเล หากเป็นการเพาะเลี้ยงในน�้าจืดและการเพาะเลี้ยงชายฝั่งจะพัฒนา
ในรูปแบบการเพาะเลี้ยงแบบ Tank system ใช้ระบบน�้าหมุนเวียน หรือ ระบบปิด ซึ่งต้องใช้เทคนิค
ทางวิศวกรรมและการจัดการระบบการเลี้ยง การเลี้ยงในทะเลจึงมักจะเป็นการเลี้ยงในกระชังที่
ต้องลงทุนสูง
การพัฒนาระบบการเพาะเลี้ยงที่ทันสมัยใช้พื้นที่ไม่มาก ขึ้นมาทดแทนผลผลิตที่ลดลงจาก
การท�าประมงส่งผลให้ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าของสิงคโปร์เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในปี 2554
ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงในสิงคโปร์เป็น 0.004 ล้านตัน เกือบครึ่งหนึ่งเป็นการเพาะเลี้ยง
ปลานวลจันทร์ทะเล ผลผลิต 0.002 ล้านตัน หรือ ร้อยละ 46.06 ของผลผลิตจากการเพาะเลี้ยง
ในสิงคโปร์ รองลงไป ได้แก่ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่และปลากะพงขาวในทะเล
การเลี้ยงปลาชะโดในน�้าจืด ปลากะรังในทะเล ปลานิลซึ่งมีทั้งที่เลี้ยงในน�้าจืดและในทะเล นอกจากนั้น
มีผลผลิตไม่ถึงร้อยละหนึ่ง เช่น ปลาสวายและปลาดุกในน�้าจืด หอยนางรมในทะเล ปลาบู่ทราย
ปลาหัวโตและปลาไหลในน�้าจืด (ตารางที่ 2.10)
ประเทศไทยมีโอกาสส่งสัตว์น�้าที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเข้าไปจ�าหน่ายในสิงคโปร์ เนื่องจาก
ที่สิงคโปร์ยังไม่สามารถผลิตได้พอเพียงต่อความต้องการบริโภคในประเทศ แต่จะต้อง เป็นสินค้า
ที่มีคุณภาพ
ตารางที่ 2.10 ผลผลิตจากการเพาะเลี้ยงที่ส�าคัญในประเทศสิงคโปร์ ปี 2554
ชนิดสัตว์น�้า (อันดับที่; ปริมาณ: พันตัน; ส่วนแบ่งผลผลิตเพาะเลี้ยงทั้งหมด: %)
สิงคโปร์ ปริมาณรวม 3.972 พันตัน
น�้าจืด น�้ากร่อย ทะเล
nd
(2 ; 0.48 พันตัน; 12.17%) (3 ; 0.01 พันตัน; 0.18%) (1 ; 3.48 พันตัน; 87.65%)
st
rd
ปลาชะโด (4 ; 0.37; 9.19%) กุ้งทะเล (9 ; 0.01; 0.18%) ปลานวลจันทร์ทะเล
th
th
(1 ; 1.83; 46.06%)
st
ปลานิล (6 ; 0.05; 1.15%) หอยแมลงภู่ (2 ; 0.43; 10.89%)
th
nd
ปลาสวาย (8 ; 0.04; 0.91%) ปลากะพงขาว (3 ; 0.39; 9.88%)
rd
th
ปลาดุก (9 ; 0.01; 0.18%)
th
ปลาบู๋ทราย (10 ;0.005;0.13%)
th
สถานภาพการเพาะเลี้ยงสัตว์น�้าไทยในบริบทของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน >> I 23 I