Page 40 -
P. 40
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
แก้วิกฤตปัญหาสิ่งแวดล้อม นำ้าท่วมและนำ้าแล้ง การชะล้างพังทลายของหน้าดินทางตอนเหนือของจีน
โดยวัตถุประสงค์ของโครงการ SLCP คือ การปรับเปลี่ยนพื้นที่ชันที่ถูกแผ้วถางนำาไปใช้ทำาการเกษตร
และพื้นที่ทุ่งหญ้าเสื่อมสภาพในพื้นที่ลุ่มนำ้าเหลืองและแยงซีเกียงและอื่นๆ ให้กลับเป็นพื้นที่ป่าและทุ่ง
12
หญ้าที่สมบูรณ์เหมือนเดิม (Ecological / Economic Forests) และต้องการผลักดันให้เกษตรกร
เปลี่ยนพฤติกรรมไปสู่การทำาการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือการเกษตรที่ยั่งยืน เช่น การทำา
ปศุสัตว์ ทำางานนอกภาคเกษตร
โครงการนี้เริ่มต้นดำาเนินการใน 120 อำาเภอของมณฑลเสฉวน และขยายเป็นโครงการระดับ
ประเทศในปี ค.ศ. 2001 โดยรัฐบาลมีเป้าหมายตั้งต้น เพื่อเปลี่ยนพื้นที่ลาดชันในการเพาะปลูกเป็นพื้นที่
ป่าและทุ่งหญ้าทั้งหมด 32 ล้านเฮกเตอร์ ภายใน 10 ปี (2002-2011)
ในการดำาเนินงาน รัฐบาลจะให้ค่าตอบแทนเป็นธัญพืชกับเกษตรกรที่ยอมหยุดใช้พื้นที่เพื่อการ
เพาะปลูกโดยกำาหนดอัตราที่ 2.55 ตัน/ปี/ไร่ สำาหรับพื้นที่ตอนบนของแม่นำ้าแยงซีเกียง และ 1.5 ตัน/
ปี/ไร่ สำาหรับพื้นที่ตอนบนและตอนกลางของแม่นำ้าเหลือง ทำาให้นโยบายนี้เป็นที่รู้จักกันในนามว่า “Grain
for green” ซึ่งหากคิดราคาธัญพืชที่ 1,400 หยวน/ตัน จะเท่ากับว่ารัฐบาลอุดหนุนโครงการ SLCP ด้วย
งบประมาณ 337 ล้านหยวน หรือ 40 ล้านเหรียญภายในปี ค.ศ. 2011
ช่วงแรกของการให้ค่าตอบแทนเป็นธัญพืชทำาได้ไม่ลำาบากนักเพราะจีนมีอุปทานส่วนเกินของ
ธัญพืชอยู่และการอุดหนุนในลักษณะนี้ช่วยแก้ปัญหาความยากจนในพื้นที่ด้วย (Xu et al., 2006) โดย
เกษตรกรและรัฐบาลท้องถิ่นตอบรับโครงการ SLCP เป็นอย่างดี มีอย่างน้อย 60 ล้านครัวเรือนที่เข้าร่วม
โครงการ และคิดเป็นพื้นที่มากกว่า 7 ล้านเฮกเตอร์ การที่มีจำานวนครัวเรือนเข้าร่วมโครงการเป็นจำานวน
มากก็เพราะค่าตอบแทนทั้งรูปเงินและธัญพืชมีมูลค่าสูงมากกว่ารายได้เฉลี่ยของแต่ละครัวเรือนก่อนเข้า
โครงการและธัญพืช/อาหารที่ได้รับตอบแทนก็สูงกว่าปริมาณทั่วไปที่เกษตรกรเหล่านี้ผลิตได้ นอกจาก
นี้ รายได้ที่เพิ่มขึ้นของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการโดยมากมาจากการที่เกษตรกรมีโอกาสทำางานอื่นนอก
เหนือไปจากการเพาะปลูกบนที่ชันมากขึ้น ซึ่งรายได้จากการทำาปศุสัตว์และรายได้จากงานนอกภาค
เกษตรสูงขึ้นหลังจากเข้าร่วมโครงการได้ 3 ปี
อย่างไรก็ดี จากงานศึกษาลักษณะการดำาเนินโครงการ (Uchida et al., 2005; Zhigang et
al., 2004; Xu et al., 2006) พบว่าปัญหาที่โครงการประสบในช่วงกลางของโครงการและอาจกลาย
เป็นปัญหาใหญ่ในช่วงปลายคือ การที่โครงการไม่ให้ความสำาคัญกับการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน
และองค์กรท้องถิ่นในการวางแผนและออกแบบเครื่องมือ รวมถึงรัฐบาลกลางยึดติดการงานบริหารทั่วไป
มากเกินไป เกษตรกรส่วนมากระบุว่าตนไม่ได้รับการติดต่อก่อนการดำาเนินโครงการ เกษตรกรไม่มีสิทธิ์
เลือกแปลงหรือจำานวนแปลงที่จะเอาเข้าร่วมโครงการ โดยมักเจอแรงกดดันจากเจ้าหน้าที่ในการเลือก
พื้นที่เข้าโครงการและไม่มีสิทธิ์เลือกพันธุ์พืชหรือชนิดต้นไม้ที่จะนำามาปลูก เมื่อไม่ได้รับการให้คำาปรึกษา
หรือการมีส่วนร่วมที่เพียงพอทำาให้เกษตรกรส่วนใหญ่ดูแลพืชและต้นไม้ไม่ถูกต้องอัตราการเติบโตและ
การอยู่รอดของพืชตำ่า
12 ดู Xu et al. (2006)
Highland Maize Farming and Deforestion: Problem and Restorations 29