Page 39 -
P. 39

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




               กลไกและมาตรการที่ใช้ในการอนุรักษ์หรือแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมจะเป็นไปตามแนวทางทั้ง 3 นี้
          ในบางกรณีอาจจะมีการคิดค้นมาตรการที่ใช้การผสมผสานแนวทางเข้าด้วยกัน เช่น มาตรการใบอนุญาต
          ที่ซื้อขายได้ (Tradable Permit) ที่เป็นการผสมผสานระหว่างการควบคุมโดยตรงและกรรมสิทธิ์ เป็นต้น
          โดยเฉพาะการจัดระบบกรรมสิทธิ์ที่มักจะถูกใช้ร่วมกับแนวทางอื่นๆ เนื่องจากเป็นระบบที่มีส่วนสำาคัญ
          ในการช่วยแก้ปัญหาการติดตาม ดูแล ตรวจสอบ และบังคับใช้กฎระเบียบที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ

               ในกรณีของประเทศไทย (และประเทศกำาลังพัฒนาโดยส่วนใหญ่) มักจะเน้นใช้การออกกฎ
          ระเบียบและข้อบังคับในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ในขณะที่การใช้เครื่องมือทาง
          เศรษฐศาสตร์ในการสร้างแรงจูงใจยังมีการใช้ค่อนข้างน้อยและมีในเรื่องเฉพาะบางเรื่องเท่านั้น ในทาง
          ทฤษฎีแล้ว แนวทางการใช้กฎระเบียบมีข้อดีตรงที่สามารถกำาหนดได้อย่างชัดเจนว่าอยากให้ผลการดำาเนิน
          งานเป็นอย่างไร กำาหนดมาตรการได้ง่ายกว่ามาตรการแบบอื่นๆ อย่างไรก็ตาม การใช้กฎระเบียบจะไม่
          ทำาให้กลุ่มเป้าหมายเกิดแรงจูงใจในการเปลี่ยนพฤติกรรมจริงๆ ทำาให้ภาครัฐต้องคอยติดตาม ตรวจสอบ
          บังคับใช้กฎหมายอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งขั้นตอนการติดตาม ตรวจสอบ และบังคับใช้กฎหมายนี้ทำาให้เกิด
          ต้นทุนในการดำาเนินงานสูงมาก และในหลายๆ กรณีภาครัฐมักจะไม่มีทรัพยากร (ทั้งเงินและคน) เพียง
          พอที่จะดำาเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้มาตรการไม่ประสบความสำาเร็จ (ตัวอย่างเช่น การ
          ดูแลป่าสงวน หากไม่มีเจ้าหน้าที่เพียงพอ ก็ไม่สามารถดำาเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่บุกรุกพื้นที่ป่าได้
          อย่างจริงจัง) และในช่วงหลัง รัฐต้องใช้การกำาหนดกรรมสิทธิ์เพื่อให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแล
          รักษา ทำาให้สามารถลดต้นทุนในการติดตาม ตรวจสอบ และบังคับใช้กฎหมายได้ส่วนหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ได้
          เป็นมาตรการที่ถูกใช้อย่างกว้างขวาง
               แม้ในไทยและประเทศกำาลังพัฒนาส่วนใหญ่จะอนุรักษ์ป่าไม้โดยใช้การควบคุมผ่านกฎหมายและ
          ข้อบังคับเป็นหลัก แต่ก็เป็นที่เห็นพ้องต้องกันว่า การอนุรักษ์ป่าให้ได้ผลสำาเร็จจะต้องให้คนมีรายได้เพียง
          พอ จึงได้เห็นตัวอย่างของนโยบายต่างๆ ที่มุ่งไปในการยกระดับรายได้และความเป็นอยู่ของคน ทั้งเพิ่ม
          ผลตอบแทนของพืชที่ปลูก ลดต้นทุน หรือการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านอื่นๆ ด้วยหวังว่า เมื่อเกษตรกร
          มีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น แล้วจะทำาให้มีแรงทั้งกายและใจในการบุกรุกป่าน้อยลง (Shafik and
          Bandhyopadhyay, 1992; Cropper and Griffiths, 2001; Bhattarai and Hammig, 2001) รวม
          ทั้งการส่งเสริมให้คนตระหนักรู้ถึงคุณค่าที่แท้จริงของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการ
          อนุรักษ์เป็นอย่างมาก (Bhattarai and Hammig, 2001)





          3.3  ตัวอย่ำงกำรใช้มำตรกำรอุดหนุนเพื่อเพิ่มรำยได้ให้เกษตรกรและ
               ฟื้นฟูพื้นที่ป่ำไม้

               กรณีตัวอย่�งที่ 1: โครงก�ร Sloping land Conversion Program (SLCP) ของจีน
               โครงการ SLCP เกิดควบคู่กับโครงการ Natural Forest Protection Program (NFPP) ในปี
          ค.ศ. 1998 ทั้งสองโครงการถือเป็นโครงการฟื้นฟูระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุดในโลก ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อ






          28      ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กับการสูญเสียพื้นที่ป่า: ปัญหาและทางออก
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44