Page 44 -
P. 44

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




               3.4  งำนวิจัยอื่นๆ ในประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง

                     สำาหรับงานที่มุ่งศึกษาการสร้างทางเลือกให้เกษตรกรในพื้นที่ลาดชันในจังหวัดน่านที่เกี่ยวข้อง
               พบอยู่หลายงานด้วยกัน เช่น“การพัฒนาทางเลือกระบบเกษตรที่เหมาะสมเพื่อทดแทนการปลูกข้าวโพด
               บนพื้นที่ลาดชันโดยเกษตรกรมีส่วนร่วมของจังหวัดน่าน” (สาวิตร มีจุ้ย และพิชัย สุรพรไพบูลย์, 2552)
               ซึ่งดำาเนินการสำารวจเชิงพื้นที่ทั้งจากภาพถ่ายดาวเทียมและการสอบถามข้อมูลจากเกษตรกรทั้งหมด 400
               รายในพื้นที่อำาเภอนาน้อย สันติสุข เวียงสา และปัว ผลการวิเคราะห์ทางเลือกเกษตรโดยกระบวนการ
               ลำาดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analysis Hierachy Process, AHP) พบว่า ประเด็นตลาดและการรับซื้อ และ
               ความยั่งยืนของทางเลือกเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจที่ทุกอำาเภอเป้าหมายกำาหนดไว้ตรงกัน ในขณะที่
               แนวทาง “การทำาเกษตรผสมผสานแนวเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นทางเลือกที่ชุมชนในพื้นที่อำาเภอเวียงสา
               สันติสุข และปัว ให้ความสำาคัญอันดับแรก แต่เป็นอันดับสามในพื้นที่อำาเภอนาน้อย
                     โครงการ “การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในระบบเกษตรผสมผสานเพื่อลดความเสี่ยงของการ
               ปลูกข้าวโพดบนพื้นที่ลาดชันของจังหวัดน่านและจังหวัดพะเยา” (บุญเทียม เลิศศุภวิทย์นภา และคณะ,
               2553) คัดเลือกรูปแบบระบบเกษตรผสมผสานที่เหมาะสมและเกษตรกรให้การยอมรับกับพื้นที่ชันใน
               อ.นาน้อย จ. น่าน และ อ.ปง จ. พะเยา พบว่า ลักษณะเกษตรกรผสมผสานเกิดขึ้นอยู่แล้วตามลักษณะ
               พื้นที่ซึ่งถูกกำาหนดด้วยระดับความชันที่แตกต่างกัน เกษตรกรนิยมปลูกยางพาราเป็นพืชหลักในพื้นที่สูง
               และปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ไม้ผล (มะขามหวาน) ในพื้นที่ดอน และทำานาปี และ
               ปลูกพืชหลังนา เช่น ถั่ว ในพื้นที่ลุ่ม จากการใช้วิธีการลำาดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (AHP) พบว่า การที่เกษตรกร
               ส่วนใหญ่ยังยอมรับระบบเกษตรผสมผสานที่มียางพาราเป็นพืชหลัก ปลูกข้าวเพื่อบริโภคในครัวเรือน
               ปลูกข้าวโพดและถั่วเป็นพืชหลังนาเพื่อเป็นรายได้เสริมและเป็นรายได้ในช่วงที่ยังไม่ได้กรีดยาง และ
               เงื่อนไขของกิจกรรมเสริมที่มีผลต่อการยอมรับของเกษตรกรคือ เรื่องของตลาด ราคา ความรู้ เงินทุน

               และแหล่งนำ้า ตามลำาดับ ด้วยความที่เกษตรกรส่วนใหญ่ยากจน ไม่มีทุน ต้องการทราบข้อมูลปริมาณ
               และราคาผลผลิตที่ตลาดจะรับซื้อเพื่อใช้ในการตัดสินใจว่าจะปลูกพืชชนิดใด อย่างไรก็ตาม งานทั้ง 2
               เน้นการถามความเห็นและการยอมรับของเกษตรกรในพื้นที่เป็นหลัก แต่ไม่ได้ศึกษาถึงผลได้ ข้อดี
               ข้อจำากัด และความเป็นไปได้ของแต่ละทางเลือกในทางปฏิบัติ
                     นอกจากนี้ยังมีโครงการความร่วมมือระหว่างไทย เวียดนาม และมหาวิทยาลัย Hohenheim
               ของประเทศเยอรมนี สร้างงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากที่สูง ซึ่งได้ผลิตงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้
               พื้นที่สูงของไทยและในประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก เช่น เวียดนาม ลาว และมีหลายงานที่
               เกี่ยวข้องอย่างมากกับงานศึกษาฉบับนี้ อาทิเช่น Neef (2012), Neef and Thomas (2009), Nakpa-
               jon and Praneetvatakul (2007) และ Neef et al. (2006a, 2006b)

                       งานเหล่านี้อภิปรายและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาของวงจรอุบาทว์ (Vicious cycle) ของ
               ทรัพยากรที่มีจำากัด สิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลง และปัญหาความยากจนในภาคชนบทที่รุนแรงยิ่งขึ้น รวม
               ถึงชี้ประเด็นความขาดประสิทธิภาพของการดำาเนินนโยบายภาครัฐที่เน้นการบังคับใช้กฎหมาย (Com-
               mand and control) แต่ไม่ประสบผลสำาเร็จในการรักษาสภาพป่าได้ดีพอ







                              Highland Maize Farming and Deforestion: Problem and Restorations  33
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49