Page 42 -
P. 42
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
อย่างไรก็ดี จากการประเมินความสำาเร็จของโครงการพบว่าจำานวนผู้เข้าร่วมโครงการค่อนข้าง
น้อย คุณภาพของป่าที่ปลูกค่อนข้างตำ่าและอัตราการอยู่รอดของต้นไม้ที่ปลูกตำ่ามีปัญหาเรื่องการบริหาร
จัดการ เนื่องจากขาดความรู้ ความเข้าใจในการดูแลและรักษาพันธุ์ที่ปลูก (Thatcher et al., 1997)
โครงการ PSA
โครงการ PSA เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 1997 เป็นโครงการตามแนวทางการจ่ายค่าตอบแทนการให้
บริการของระบบนิเวศ (Payment for Ecosystem Services: PES) ของคอสตาริกา เป็นโครงการที่ได้
รับความสนใจจากนักวิชาการและนักวิจัยอย่างมาก มีการศึกษาทั้งประเมินความสำาเร็จของโครงการใน
ระดับภูมิภาคและระดับชาติ
หลักการสำาคัญของโครงการคือ การจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้อนุรักษ์ป่า ด้วยเห็นว่าป่าให้บริการ
ระบบนิเวศถึง 4 ด้านหลักด้วยกัน ได้แก่ 1) การกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon sequestra-
tion) 2) การให้นำ้าสะอาด 3) การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และ 4) ทัศนียภาพที่สวยงาม
ซึ่งค่าตอบแทนจากการเข้าร่วมโครงการ PSA จะสะท้อนต้นทุนค่าเสียโอกาสที่เจ้าของที่ดินต้องเผชิญใน
การพยายามรักษาป่าในพื้นที่ที่ตนครอบครองต่อไป และขนาดของค่าตอบแทนจะแตกต่างกันไปตาม
เป้าหมายของพื้นที่ที่จดทะเบียนในโครงการ ได้แก่ 1) เป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์ (Conservation) 2)
เป้าหมายเพื่อปลูกป่าใหม่ในพื้นที่เคยเป็นป่า (Reforestation) และ 3) เป้าหมายเพื่อการทำาเกษตรผสม
ผสานการอนุรักษ์ป่า (Agroforestry) โดยขนาดของค่าตอบแทนในปี ค.ศ. 2007 อยู่ที่ $22 - $42 ต่อ
ปีต่อเฮกเตอร์โดยประมาณ
การออกแบบโครงการได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดีจากผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลก (World
bank) และ USAID เพื่อที่จะเข้ามาทดแทนระบบการอุดหนุนเดิมของรัฐในลักษณะของการให้เงินอุดหนุน
(Subsidy) ในภาคเกษตรและอุตสาหกรรมพร้อมๆ กันรวมทั้งภาคป่าไม้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ถือเป็น
เงื่อนไขสำาคัญหนึ่งของการกู้เงินจากธนาคารโลก ผู้ออกแบบพยายามเชื่อมผู้ซื้อบริการทางระบบนิเวศสู่
ผู้ขายและให้อัตราค่าตอบแทนที่ถูกกำาหนดโดยตลาด
อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติ PSA ต่างจากความคาดหวังเดิมเมื่อเริ่มต้นมาก (Edelman, 1999)
และกลายเป็นรูปแบบลูกผสมระหว่างกลไกตลาดและการแทรกแซงจากภาครัฐ เนื่องจากในการบริหาร
จัดการจริง บุคลากรส่วนใหญ่ของ PSA มักไม่คำานึงถึงปรัชญาที่มาของเครื่องมือ แต่จะเน้นการหาแนวทาง
แก้ปัญหาความยากจนและปัญหาการตัดไม้ทำาลายป่าที่มีประสิทธิภาพด้านต้นทุนมากที่สุด โดยจะเป็น
แบบกลไกตลาดเป็นพื้นฐานหรือแบบอื่นก็ได้ (Fletcher and Breitling, 2012)
ปัญหาที่สำาคัญประการหนึ่งของโครงการ PSA คือ ค่าตอบแทนของการเข้าร่วม PSA ที่ถือว่า
ยังน้อยกว่าต้นทุนค่าเสียโอกาสของเจ้าของที่ดิน ทำาให้ในที่สุดกลุ่มเป้าหมายเลยกลายเป็นคนที่ไม่จำาเป็น
ต้องพึ่งพาค่าตอบแทนจากโครงการ PSA เพื่อการอยู่รอด และที่ดินที่นำามาเข้าร่วมก็กลายเป็นที่ดินที่ให้
ผลผลิตตำ่า มีต้นทุนค่าเสียโอกาสตำ่า พื้นที่ที่เอามาเข้าโครงการเป็นพื้นที่ที่ทำาอย่างอื่นได้ยากอยู่แล้ว ดัง
นั้นการทำาลายป่าก็อาจจะไม่เกิดขึ้นถึงแม้จะไม่มีโครงการก็ตาม และคนที่เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นคนที่มี
ความต้องการและเห็นค่าของการอนุรักษ์อยู่แล้ว ถึงแม้จะไม่มีเครื่องมือสร้างแรงจูงใจก็จะยังอนุรักษ์ป่า
(Langholz et al., 2000; Bien, 2002)
Highland Maize Farming and Deforestion: Problem and Restorations 31